ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ
ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 4 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2535–2544) ไทยรักไทย (2544–2547) ชาติไทย (2547–2549) เพื่อแผ่นดิน (2550–2554) ชาติพัฒนา (2554–2556) เพื่อไทย (2556–2561, 2564–ปัจจุบัน) พลังประชารัฐ (2561–2564) |
นายแพทย์ ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ (เกิด 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] เขต 4 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวม 4 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายแพทย์ภูมินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา[2] ปัจจุบันพำนักที่ตำบลหนองหญ้าลาด อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีการศึกษา 2529 (ร่วมรุ่นกับ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว และ นายแพทย์บัญญัติ เจตนจันทร์)
การทำงาน
[แก้]นายแพทย์ภูมินทร์ เข้าสู่การเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 จึงย้ายมาลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย[3]
นายแพทย์ภูมินทร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2538[4] และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552 [5] และ ได้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึงเป็นเป็นการทำงานครบ 1 ปี ของ นายแพทย์ภูมินทร์[6]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขตเลือกตั้งที่ 3 (อำเภอกันทรลักษ์ ยกเว้นตำบลภูเงิน) ในสังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ จากพรรคภูมิใจไทย เพียง 500 คะแนน และในปี 2562 เขาลงสมัครในเขตเลือกตั้งเดิม ในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาในปี 2564 จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[7] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดศรีสะเกษ เขต4 พรรคเพื่อไทยอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2566 เอาชนะนางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์อดีตสส.พรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓๕/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ภูมินทร์" ไขก๊อกเก้าอี้รองโฆษกฯ ประชด "มาร์ค" ป้องภูมิใจห้อย ในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
- ↑ “หมอภูมินทร์” ทิ้ง พปชร. เตรียมกลับซบเพื่อไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบัวใหญ่
- บุคคลจากอำเภอกันทรลักษ์
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.