เกรียง กัลป์ตินันท์
เกรียง กัลป์ตินันท์ | |
---|---|
เกรียง ใน พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ก่อนหน้า | นริศ ขำนุรักษ์ |
ถัดไป | ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (10 ปี 237 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ |
ถัดไป | วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ |
เขตเลือกตั้ง | เขต 1 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2555–2561,2561–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ประชาธิปัตย์ (2538–2539) ความหวังใหม่ (2539–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ไทยรักษาชาติ (2561) |
คู่สมรส | รจนา กัลป์ตินันท์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |
ชื่อเล่น | เบี้ยว |
เกรียง กัลป์ตินันท์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น เบี้ยว เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ
ประวัติ
[แก้]เกรียง เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านศิลปศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
เกรียง สมรสกับรจนา กัลป์ตินันท์ มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน (เสียชีวิต) และมีบุตรชาย 2 คน คือ วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และอภิสิทธ์ กัลป์ตินันท์
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เกรียง ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก[1]
การทำงาน
[แก้]เข้าสู่การเมือง
[แก้]เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยสามารถเอาชนะ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เจ้าพ่ออีสานใต้ในยุคนั้น นับเป็นการโชว์ฝีไม้ลายมือในสนามการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรสมัยแรก[2]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 แต่ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนั้น
หวนคืนสู่สนาม
[แก้]จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 เกรียง กลับหวนสู่ถนนสายการเมืองอีกครั้ง โดยการนั่งตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 42
ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เรียก นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รักษาการรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งนายวรสิทธิ์ และนางพิทยา กัลป์ตินันท์ (ภรรยานายวรสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี) เข้าพบเพื่อพูดคุยถึงนโยบายเรื่องผู้มีอิทธิพล เขาลาออกจากพรรคไทยรักษาชาติในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเข้าสมัครเป็นสมัครพรรคเพื่อไทยในวันถัดมา[3]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 10 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 6 และได้รับการเลือกตั้ง[4] และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน[5] โดยได้รับมอบหมายจากอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้สั่งการและปฏิบัติราชการในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรุงเทพมหานคร รวมถึงกำกับดูแลองค์การตลาดและองค์การจัดการน้ำเสีย[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เกรียง กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันอีก 4 ครั้ง และครั้งล่าสุด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ดังนี้
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นกรณีพิเศษแก่ “อนุทิน-เกรียง-ชาดา”
- ↑ 'เกรียง กัลป์ตินันท์' แลนด์สไลด์ 'อุบลฯ' คน 'ชินวัตร' หลอมรวม 'เพื่อไทย', สืบค้นเมื่อ 2023-08-26
- ↑ ""เกรียง" คือใคร ทำไมใกล้ชิด "ทักษิณ"". bangkokbiznews. 2022-03-11.
- ↑ "เกรียง กัลป์ตินันท์ เบอร์พรรค 29". candidate.ptp.or.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ "อนุทิน แบ่งงาน มหาดไทย ยก กทม.ให้ เกรียง-เพื่อไทย คุม กทม". ประชาชาติธุรกิจ. 13 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
ก่อนหน้า | เกรียง กัลป์ตินันท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ทรงศักดิ์ ทองศรี นริศ ขำนุรักษ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)