ไสว พัฒโน
ไสว พัฒโน | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (2 ปี 204 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ธนา เมตตาริกานนท์ | |
ก่อนหน้า | ใหม่ ศิรินวกุล |
ถัดไป | เชาวน์วัศ สุดลาภา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2536 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สุวิทย์ คุณกิตติ |
ถัดไป | ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | มนตรี พงษ์พานิช |
ถัดไป | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2536 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู |
ถัดไป | พินิจ จารุสมบัติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2477 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
เสียชีวิต | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (84 ปี) โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2512–2561) |
คู่สมรส | ละเอียด พัฒโน |
ไสว พัฒโน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2477 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 8 สมัย
ประวัติ
[แก้]ไสว พัฒโน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2477[1] ณ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 4 ของปลื้ม กับกนกวรรรณ พัฒโน (สกุลเดิม สุดสุข) มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา,โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนราชินี แล้วจบจากปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสกับละเอียด พัฒโน (สกุลเดิม ทองเลิศ) มีบุตรชาย คือ ไพร พัฒโน อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่
งานการเมือง
[แก้]อดีตประกอบอาชีพทนายความ และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย ก่อนที่จะได้รับการชักชวนโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ให้มาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2519) ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ [2]
ไสว พัฒโน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[3] ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลชวน หลีกภัย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2535[4] และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 เขาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[5] แทนสุวิทย์ คุณกิตติ ซึ่งถูกปรับออกจากตำแหน่ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ไสว พัฒโน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ไสว พัฒโน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สิริอายุรวม 84 ปี [6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ณ วัดโคกนาว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายไสว พัฒโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
- ↑ 'ไสว พัฒโน'อดีต รมว.ยุติธรรม-อดีตสส.สงขลา 8 สมัยเสียชีวิตแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2477
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2561
- บุคคลจากอำเภอหาดใหญ่
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดสงขลา
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.