ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
ถัดไป | โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
หัวหน้าพรรคพลังธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | ทักษิณ ชินวัตร |
ถัดไป | ภมร นวรัตนากร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2531–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชาชน (2550) ประชาธิปัตย์ (2550–2552) การเมืองใหม่ (2552–2561) พลังธรรมใหม่ (2561–ปัจจุบัน) |
ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2492) ชื่อเล่น อ้วน เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นเลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ประวัติ
[แก้]เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ จบการศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2514[1]
การทำงาน
[แก้]ไชยวัฒน์เข้าสู่การเมืองครั้งแรกด้วยการเป็นสมาชิกกลุ่มรวมพลัง เพื่อสนับสนุนพลตรี จำลอง ศรีเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2528 ต่อมาได้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรมกับพลตรี จำลอง และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคและเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมาหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ไชยวัฒน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และทิ้งพรรคไปหลังพรรคไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
ในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 ไชยวัฒน์ได้ลงเลือกตั้งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2549 และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนพื่อประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2551 ไชยวัฒน์เข้าร่วมด้วย มีบทบาทเป็นผู้นำมวลชนปิดถนนที่จังหวัดนครราชสีมาจนถูกแจ้งจับในข้อหากบฏต่อแผ่นดินจนกระทั่งในวันที่ 3 ตุลาคม ไชยวัฒน์ถูกตำรวจจับกุมขณะอยู่บนทางด่วน ขณะออกจากที่ชุมนุมไปผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้านของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
ชีวิตส่วนตัว ไชยวัฒน์รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นอาหาร จนได้รับฉายาว่า "มหาไชยวัฒน์" แบบเดียวกับที่ พล.ต. จำลอง ที่ได้รับว่า "มหาจำลอง"
ไชยวัฒน์เคยให้ความคิดเห็นเรื่องบ้านเมืองพร้อมกับไพศาล พืชมงคล ทาง เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00–17.00 น. แต่ยุติไปในกลางปี พ.ศ. 2552[2]
ไชยวัฒน์ได้ร่วมกันก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง ๑๓ สยามไท กับกลุ่มที่มีความเห็นทางการเมืองในทางเดียวกัน เช่น พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน, สมบูรณ์ ทองบุราณ, น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ, อธิวัฒน์ บุญชาติ, การุณ ใสงาม
ในส่วนของการตั้งพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ไชยวัฒน์ไม่เห็นด้วย[3] และได้วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ ทำให้สนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรฯ และหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ คนที่ 2 กล่าวหาว่าไชยวัฒน์กำลังจะไปตั้งพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งร่วมกับ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และมีการกล่าวหาอีกว่า ไชยวัฒน์เป็นพันธมิตรฯตัวปลอมซึ่งเรื่องนี้ไชยวัฒน์ได้ปฏิเสธ และยืนยันว่าสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยจะไม่แปรสภาพเป็นพรรคการเมืองเด็ดขาด[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2008-10-03.
- ↑ “ไชยวัฒน์” ถอนตัวจากการจัดรายการช่องสุวรรณภูมิ อ้างถูกการเมืองแทรกแซง
- ↑ "ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ วิพากษ์ พรรคพันธมิตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
- ↑ เขาหาว่าผมเป็นพันธมิตรเทียม
- ↑ “พันธมิตรฯ”ในสถานะ น้ำแยกสาย - ไผ่แยกกอ….[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ฐานข้อมูลการเมืองไทย เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- บุคคลจากจังหวัดบุรีรัมย์
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- การเมืองภาคประชาชน
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย