อนันต์ ฉายแสง
อนันต์ ฉายแสง | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 8 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มกราคม พ.ศ. 2471 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
เสียชีวิต | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (95 ปี) อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
คู่สมรส | นางเฉลียว ฉายแสง |
อนันต์ ฉายแสง (20 มกราคม พ.ศ. 2471 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 4 สมัย
ประวัติ
[แก้]อนันต์ ฉายแสง เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2471 (นับแบบใหม่) เป็นบุตรของนายสุข กับนางแฟ้ง ฉายแสง [1] สมรสกับนางเฉลียว ฉายแสง มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายกลยุทธ ฉายแสง นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง และ นางฐิติมา ฉายแสง
อนันต์ ฉายแสง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สิริอายุรวม 95 ปี[2]วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพนิมิตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา มีผู้เข้าร่วมพิธีอาทิ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี อุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา
งานการเมือง
[แก้]ดาบตำรวจ อนันต์ เคยเป็นข้าราชการตำรวจมาก่อน โดยเป็นตำรวจชั้นประทวนก่อนที่จะเข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. 2501 และเป็นเทศมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2510 [3]
ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2544 รวม 4 สมัย [4] เขาเคยเป็นรองเลขาธิการพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2517[5] และเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาชน ในปี พ.ศ. 2531[6]
อนันต์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36)[7] ต่อมาถูกปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[8] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. 2528 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.43) [9]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อนันต์ ฉายแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคอิสระ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคสันติชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ สิ้น ‘อนันต์ ฉายแสง’ บิดาจาตุรนต์ อดีตรัฐมนตรี-นักการเมืองดังแปดริ้ว
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรุดา สมพอง สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และรัฐมนตรีลาออก (๑. นายทวิช กลิ่นประทุม ๒. นายบุญส่ง สมใจ ๓. นายอนันต์ ฉายแสง)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (นายอบ วสุรัตน์ นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ ลาออก นายจิรายุ อิศรางกูร ฯ พ้นจากตำแหน่งและตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งนายอนันต์ ฉายแสง นายมีชัย วีระไวทยะ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- บุคคลจากอำเภอบางปะกง
- สกุลฉายแสง
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
- พรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)
- พรรคสันติชน
- พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.