ข้ามไปเนื้อหา

ตรี ด่านไพบูลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตรี ด่านไพบูลย์
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าบุญชู ตรีทอง
ถัดไปฉัตรชัย เอียสกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าฉัตรชัย เอียสกุล
ถัดไปไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มนตรี ด่านไพบูลย์

24 ธันวาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
พรรคการเมืองสยามประชาธิปไตย (2522—2526)
ชาติไทย (2526—2529)
กิจสังคม (2529—2535)
ความหวังใหม่ (2535—2545)
ไทยรักไทย (2545—2550)

ตรี ด่านไพบูลย์[1][2][3] (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูน[4] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11

การศึกษา

[แก้]

ตรี ด่านไพบูลย์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกษตรศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2517 ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2543 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ (มนุษยศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2540 และในปี พ.ศ. 2553 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ (วิศวกรรมศาสตร์ การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทบาททางการเมือง

[แก้]

ตรี ด่านไพบูลย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย สมัยแรกในปี พ.ศ. 2522และมีนายสุพร อัตถาวงศ์ เป็นผู้ช่วย[5][6] ต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม และ พรรคความหวังใหม่ ตามลำดับ และเคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ(สมัยพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย[7] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539 เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย[8] พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2540[9]

ภายหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ที่ตรี ด่านไพบูลย์ ต้องแพ้การเลือกตั้งให้กับนางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย หลานสาวของ รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน จึงได้หันหลังให้กับการเมืองระดับชาติ และมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยการสนับสนุนของพรรคไทยรักไทย แต่ก็แพ้การเลือกตั้งให้กับนายสมาน ชมภูเทพ อดีต ส.ส. หลายสมัยจากพรรคประชาธิปัตย์

ในปี พ.ศ. 2555 เขาสนับสนุน ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ผู้เป็นน้องชายได้รับเลือกตั้ง เป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน

ต่อมา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ตรี ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน

รางวัลดีเด่น

[แก้]

ตรี ด่านไพบูลย์ ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์กับวงการเกษตร ซึ่งมอบรางวัลโดย อำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2540 พร้อมกับนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รำลึก...เจ้าแม่จามเทวี ด้วยเจดีย์ชัยฯดอยกินบ่เซี่ยง
  2. เจ๊แดงคนเดิม ปั้น 'อบจ.ลำพูน
  3. “ตรี” ปัด “นช.แม้ว” ทุ่ม 7 พันล้าน ซื้อ ส.ว.สกัดตั้งนายกฯเฉพาะกาล
  4. 'ตรี' ยัน ส.ว.สายกลางไม่เห็นด้วยปมนายกฯ เฉพาะกิจ
  5. รู้จัก "แรมโบ้อีสาน" หลังโซเชียลแชร์คลิปว่อน กลุ่มเสื้อแดงตบหัว
  6. รู้จัก "แรมโบ้อิสาน- สุพร อัตถาวงค์"[ลิงก์เสีย]
  7. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1นายมนตรี ด่านไพบูลย์ 2 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 3 นายธำรงค์ ไทยมงคล)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔,๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
ก่อนหน้า ตรี ด่านไพบูลย์ ถัดไป
บุญชู ตรีทอง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
(29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540)
ฉัตรชัย เอียสกุล