ผู้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่ง (อังกฤษ: Incumbent) คือ ผู้ที่ดำรงอยู่ในฐานะหัวหน้าสำนักงานหรือดำรงอยู่ในตำแหน่งเป็นคนปัจจุบัน ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยในการเลือกตั้งจะให้ผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งหรือรักษาการในตำแหน่งที่ตนลงเลือกตั้ง ไม่ว่าผู้ดำรงตำแหน่งจะลงเลือกตั้งใหม่หรือไม่ก็ตาม ในบางสถานการณ์ อาจไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะที่มีการเลือกตั้งตำแหน่งนั้นหลังจากที่ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันเสียชีวิต เกษียณอายุ ลาออก ไม่ลงเลือกตั้งใหม่ ถูกห้ามไม่ให้ลงเลือกตั้งใหม่เนื่องจากการจำกัดวาระ หรือมีการก่อตั้งตำแหน่งใหม่แทนตำแหน่งนั้นที่ว่างลง ในสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้งโดยไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันมักเรียกว่าที่นั่งแบบเปิดหรือการแข่งขันแบบเปิด
นิรุกติศาสตร์
[แก้]คำว่า "Incumbent" มีรากศัพท์มาจากคำกริยาภาษาละตินว่า "incumbere" ซึ่งแปลตรงตัวว่า "พิงหรือนอนทับ"[1]
ข้อได้เปรียบของผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้]โดยทั่วไป ผู้ดำรงตำแหน่งจะมีข้อได้เปรียบทางการเมืองเหนือผู้ท้าชิงในการเลือกตั้ง ยกเว้นเวลาการเลือกตั้งจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ผู้ดำรงตำแหน่งในบางประเทศอาจมีสิทธิ์ในการกำหนดวันเลือกตั้งได้
สำหรับตำแหน่งทางการเมืองส่วนใหญ่ ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะได้รับการยอมรับมากกว่าเนื่องจากเคยทำงานในสำนักงานมาก่อน ทั้งยังสามารถเข้าถึงการเงินสำหรับการหาเสียงได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกับรัฐบาล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งใหม่ของผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้
ในสหรัฐอเมริกา การเลือกตั้ง (โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีเพียงตำแหน่งเดียวในสภานิติบัญญัติ) ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งไม่ลงเลือกตั้งใหม่ มักเรียกว่าที่นั่งแบบเปิด เนื่องจากขาดความได้เปรียบในตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้มักนำมาโต้เถียงในการเลือกตั้งใด ๆ[2] นอกจากนี้ การแข่งขันแบบเปิดจะเกิดขึ้นเมื่อมีการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ในกรณีที่วาระของประธานาธิบดีสหรัฐถูกจำกัดไว้เพียง 2 วาระ วาระละ 4 ปี และผู้ดำรงตำแหน่งจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเลือกตั้งใหม่ แม้ว่าข้อได้เปรียบที่คาดหวังของการดำรงตำแหน่งจะเพิ่มขึ้นจาก 2 เปอร์เซ็นต์ในช่วงทศวรรษที่ 1950 เป็น 10 เปอร์เซ็นต์ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 และกลับมาเป็นประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2010 และ 2020[3]
เมื่อผู้ท้าชิงจะดำรงตำแหน่งที่ว่างลง ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมักจะเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้สมัคร ตำแหน่ง ประเด็นทางการเมือง และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้วยวิธีที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา กาย โมลีนิวซ์ กล่าวไว้ว่า "โดยพื้นฐานแล้วเป็นการลงประชามติของผู้ดำรงตำแหน่ง"[4] ในทางกลับกัน ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะพิจารณาการกระทำของผู้ดำรงตำแหน่งก่อน เฉพาะในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตัดสินใจ "ขับ" ผู้ดำรงตำแหน่งออกเท่านั้น ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจึงเริ่มประเมินว่าผู้ท้าชิงแต่ละคนเป็นบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งหรือไม่
การศึกษาของวารสารรัฐศาสตร์อังกฤษในปี 2017 ระบุว่าความได้เปรียบในการดำรงตำแหน่งเกิดจากการที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประเมินอุดมการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งเป็นรายบุคคล ในขณะที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งถือว่าผู้ท้าชิงคนใดก็ตามที่อยู่พรรคเดียวกัน[5] จะมีความได้เปรียบในการดำรงตำแหน่งมากขึ้นเมื่อการแบ่งขั้วทางการเมือง[5] และการศึกษาของวารสารการเมืองในปี 2017 พบว่าผู้ดำรงตำแหน่งมี "ข้อได้เปรียบที่ใหญ่กว่ามาก" ในการเลือกตั้งในรอบมากกว่าการเลือกตั้งนอกรอบ[6]
ในทางธุรกิจ
[แก้]ในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน ผู้ดำรงตำแหน่งมักจะเป็นซัพพลายเออร์ที่จัดหาความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน และเป็นตำแหน่งที่ได้เปรียบในการรักษาบทบาทหรือสัญญาฉบับใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ต้องแข่งขันกัน[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ OED (2532), หน้า 834
- ↑ Gelman, Andrew; King, Gary (1990). "Estimating Incumbency Advantage without Bias". American Journal of Political Science. 34 (4): 1142–1164. doi:10.2307/2111475. ISSN 0092-5853. JSTOR 2111475. S2CID 3752645.
- ↑ Ebanks, Danny; Katz, Jonathan N.; King, Gary (2023). "If a Statistical Model Predicts That Common Events Should Occur Only Once in 10,000 Elections, Maybe it's the Wrong Model". gking.harvard.edu. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- ↑ Guy Molyneux, The Big Five-Oh, The American Prospect, 1 October 2004.
- ↑ 5.0 5.1 Peskowitz, Zachary (2017-05-01). "Ideological Signaling and Incumbency Advantage". British Journal of Political Science. 49 (2): 467–490. doi:10.1017/S0007123416000557. ISSN 0007-1234. S2CID 157292602.
- ↑ de Benedictis-Kessner, Justin (2017-12-07). "Off-Cycle and Out of Office: Election Timing and the Incumbency Advantage". The Journal of Politics. 80: 119–132. doi:10.1086/694396. ISSN 0022-3816. S2CID 222440248.
- ↑ Chen, J., Incumbent, Investopedia, updated 27 January 2021, Retrieved 20 March 2021.
แหล่งที่มา
[แก้]- พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด. ฉบับที่ 2. 2532. พิมพ์.