เลียง ไชยกาล
เลียง ไชยกาล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2494 | |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 (83 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาชน |
คู่สมรส | อรพินท์ ไชยกาล |
บุตร | 5 คน |
เลียง ไชยกาล นักการเมืองไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทยและอดีตหัวหน้าพรรคประชาชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี[1][2][3][4] 8 สมัย
ประวัติ
[แก้]นายเลียง เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายสาย มารดาชื่อ นางสำเนียง (นามสกุลเดิม: ณ อุบล) โดยมารดามีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าเมืองอุบลราชธานี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัดอุบลราชธานี แล้วได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อวิชาครูยังกรุงเทพมหานคร ได้รับประกาศนียบัตร ประโยคประถม ที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ จังหวัดพระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2464 และจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อนจะเข้าสู่วงการการเมือง[5]
นายเลียง ไชยกาล สมรสกับ อรพินท์ ไชยกาล มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน
การทำงาน
[แก้]นายเลียงเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงลือลั่นจากการเป็นผู้อภิปราย เรื่องการฉวยโอกาสซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ของพรรคคณะราษฎร์ เมื่อปี พ.ศ. 2480 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกรณีร้อนทำให้ผู้มีอำนาจหลายคนต้องลาออกรวมไปถึงการยุบสภาของคณะรัฐบาลด้วย ซึ่งเป็นการยุบสภาครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในส่วนตัวนายเลียงเองก็ถูกจดหมายข่มขู่เอาชีวิต และถูกผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ที่ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลจับตัวโยนลงสระน้ำหลังอาคารรัฐสภา (พระที่นั่งอนันตสมาคม[6]) ต่อมาได้เข้าสังกัดกับพรรคก้าวหน้า ที่มี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค
ในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช นายเลียงได้มีชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาในการสมคบคิดในการสังหารจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ที่มีการยุบพรรคก้าวหน้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ นายเลียงก็ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
นายเลียง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์[7] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อีก 3 วาระ คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม.21-ครม.22) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม.22) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม.22)[8]และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม.26)[9]
หลังคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีผู้ตะโกนในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงว่า ปรีดีฆ่าในหลวง ในเวลาต่อมาผู้ตะโกนถูกจับได้ และซัดทอดนายเลียง ไชยกาล รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ปราศรัยในกรณีนี้ตามที่ต่าง ๆ อย่างรุนแรง ที่สุดนายเลียงได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมไปคุมขังไว้ในเรือนจำลหุโทษเป็นเวลา 37 วัน[10]
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2491 ที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคนได้แยกจากพรรคไป นายเลียง ไชยกาล ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และได้ก่อตั้งพรรคของตนเองชื่อ พรรคประชาชน มี นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรองหัวหน้าพรรค และ นายประสิทธิ์ ชูพินิจ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งต่อมา นางอรพินท์ ไชยกาล ภรรยาของนายเลียงก็ได้ลงสมัคร ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2492 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทยด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 นายเลียง ได้จัดตั้งพรรคประชาชนขึ้นและรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกรอบ[11]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]นายเลียง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529[10] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[13]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การเมืองจังหวัดอุบลราชธานี- นักการเมืองดี ศรีอุบล
- ↑ อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, เลียง ไชยกาล: เจ้าของกระทู้ล้มรัฐบาล. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,228: วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
- ↑ พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554), ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช. ISBN 978-6167146-22-5
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายปฐม โพธิแแก้ว นายเขมชาติ บุณยรัตนพันธุ์ นายเลียง ไชยกาล หลวงอรรถพรพิศาล นายเสมอ กัณฑาธัญ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ 10.0 10.1 หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, เลียง ไชยกาล: เจ้าของกระทู้ล้มรัฐบาล (2). "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,235: วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาชน)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 119ง วันที่ 24 ธันวาคม 2511
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๒๕๐๙, ๑๓ มิถุนายน ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๕๕๐๖, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๖, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. การเมืองสองฝั่งโขง : งานค้นคว้าวิจัยระดับปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๙๔ . กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2546. 558 หน้า. ISBN 974-322-844-6
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2445
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2529
- บุคคลจากอำเภอวารินชำราบ
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2490)
- นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย