สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 – 18 มกราคม พ.ศ. 2487) พระองค์มีบทบาทสำคัญในวงการทหารและการเมืองของประเทศไทย พระองค์ดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหารหลายตำแหน่ง เช่น ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ และเสนาธิการทหารบก นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และเป็นองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424[1] ในพระบรมมหาราชวัง มีพระโสทรเชษฐภคินีพระองค์เดียว คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2434 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงษ์ มหามกุฏวงษ์นราธิราช จุฬาลงกรณ์นารถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงษพิสุทธิ นรุตมรัตน ขัตติยราชกุมาร กรมขุนมไหสูริยสงขลา[2] และมีพระราชพิธีมงคลการโสกันต์ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม ถึงวันที่ 2 มกราคม ร.ศ. 113[3]
การศึกษา
[แก้]ทรงศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเสนาธิการ ประเทศเยอรมนี เมื่อเสด็จกลับมารับราชการ สมเด็จพระบรมชนกนารถทรงพระราชดำริว่าพระนามกรมเดิมไม่สมพระเกียรติยศ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามกรมเป็น กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444[4] พระองค์ประทับที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่มีความใหญ่โตโอ่อ่าที่สุด ประกอบกับทรงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย จึงได้รับการกล่าวขานอีกฉายาหนึ่งจากคนทั่วไปว่า "จอมพลบางขุนพรหม" หรือ "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม" ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร [5]
รับราชการ
[แก้]วันที่ 16 พฤศจิกายน ร.ศ. 122 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ[6] ต่อมาในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ ศกนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ[7] และวันที่ 19 มีนาคม ศกเดียวกัน ได้ทรงสาบานตนและรับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี[8]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ[9] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10] ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคม ศกเดียวกัน อันตรงกับวันเททองหล่อพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานยศ พลเรือเอก แด่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต[11] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงษ์ มหามกุฎวงษ์นราธิราช จุฬาลงกรณนารถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงษ์พิสุทธิ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต[12] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ ดิลกจันทรนิภาพงศ มหามกุฎวงศนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศพิศุทธ นรุตมรัตนขัติยราชกุมาร กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สชีวะเชษฐสาธิษฐสุขุมาลกษัตริย์ อภิรัฎฐมหาเสนานหุษเนาอุฑฑิน จุฬินทรปริยมหาราชวรางกูร สรรพพันธุธูรราชประยูรประดิษฐาประชาธิปกปัฐพินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรปการ ปรีชาไวยัตโยฬารสุรพลประภาพ ปราบต์ไตรรัชยยุคยุกติธรรมอรรถศาสตร อุดมอาช์วีวีรยาธยาศรัย เมตตามันตภาณีศีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนศรณธาดา มหันตเดชานุภาพบพิตร ทรงศักดินา 50000 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2468[13] (นับแบบปัจจุบันตรงกับปี พ.ศ. 2469)
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
[แก้]ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ ซึ่งในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน นั้น พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นผู้นำในการบุกวังบางขุนพรหม เพื่อควบคุมพระองค์ ซึ่งทรงกำลังจะหนีทางท่าน้ำหลังวัง พร้อมกับครอบครัวและข้าราชบริพาร แต่ทว่ามีเรือตอร์ปิโดหาญทะเลของทางทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรที่ควบคุมโดย เรือโท จิบ ศิริไพบูลย์ คอยดักอยู่ จึงยังทรงลังเล จนในที่สุดพระองค์จึงทรงยินยอมให้ทางคณะราษฎรควบคุมองค์ และเสด็จไปประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคม พร้อมกับเจ้านายพระองค์อื่น ๆ และบุคคลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งก่อนเสด็จมา ได้ทรงต่อรองขอเปลี่ยนเครื่องทรงจากชุดกุยเฮง ซึ่งเป็นชุดบรรทม ก็ได้รับการปฏิเสธ[14] หลังจากนั้นในวันต่อมา ต้องเสด็จออกจากประเทศไทยอย่างกะทันหัน โดยเสด็จไปด้วยรถไฟขบวนพิเศษ ซึ่งวิ่งตลอดไม่มีหยุดพักจนถึงปีนังวันที่ 10 กรกฎาคม และย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ตราบจนสิ้นพระชนม์
ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงไม่กี่วันนั้น พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) อธิบดีกรมตำรวจได้ถวายรายงานต่อพระองค์ถึงรายชื่อของบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎรว่ามีท่าทีจะกระทำการกระด้างกระเดื่องประการใดประการหนึ่งต่อบ้านเมือง แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ด้วยทรงเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ไม่น่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะกระทำการใด ๆ ได้ เนื่องจากทรงคุ้นเคยกับบุคคลเหล่านี้ดี ซ้ำบางคนยังทรงชุบเลี้ยงและรู้จักมาตั้งแต่ยังเด็กด้วยซ้ำ[14] กระทั่งวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพ้นจากประจำการเป็นนายทหารนอกราชการ [15]
สิ้นพระชนม์
[แก้]จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไตและพระหทัย เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2487 ที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ขณะพระชันษา 63 ปี อัญเชิญพระศพกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2491[16] และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2493[17]
ครอบครัว
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ราชสกุลเดิม ไชยันต์; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2429 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) พระโอรส-ธิดาที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[18] ภายหลังหม่อมเจ้าประสงค์สมประชวร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงรับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) มาเป็นหม่อมอีกคน ซึ่งพระโอรส-ธิดา ที่ประสูติแต่หม่อมสมพันธุ์ แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[19]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตมีพระโอรส-ธิดารวม 11 พระองค์[20] ดังรายพระนาม ดังนี้
ลำดับ | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ สิ้นชีพิตักษัย |
มารดา | เสกสมรส | พระนัดดา |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 | 15 กันยายน พ.ศ. 2502 | หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ราชสกุลเดิม ไชยันต์) |
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (ราชสกุลเดิม เทวกุล) |
หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร |
2. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง | 4 มกราคม พ.ศ. 2449 | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 | หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล | ||
3. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร | 16 มีนาคม พ.ศ. 2450 | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | มิได้เสกสมรส | ||
4. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย | 21 กันยายน พ.ศ. 2451 | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 | หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร | หม่อมราชวงศ์พิลาศลักษณ์ บุณยะปานะ | |
5. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2452 | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล | หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล หม่อมราชวงศ์สุมาลยมงคล โสณกุล หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล | |
6. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี | 24 กันยายน พ.ศ. 2455 | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2520 | หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ | หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น กิติยากร หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ | |
7. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อง | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2462 | มิได้เสกสมรส | ||
8. | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 | มิได้เสกสมรส | ||
9. | อินทุรัตนา บริพัตร | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 | หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) |
สมหวัง สารสาส | ธรณินทร์ สารสาส สินนภา สารสาส สันติ สารสาส | |
10. | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 | 10 เมษายน พ.ศ. 2546 | หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ถลาง) |
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร | |
11. | หม่อมเจ้าชายไม่มีพระนาม | ก่อน พ.ศ. 2468[21] | มิได้เสกสมรส |
การรับราชการ
[แก้]พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล ด้วยทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการที่ทรงรับภาระเป็นอย่างดียิ่งทั้งทางด้านการทหาร การปกครอง การสาธารณสุข การศึกษา ทรงวางรากฐานความเจริญของกองทัพเรือไทย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย ทรงดำรงพระยศ จอมพล จอมพลเรือ นายกองเอก[22] และนายนาวาเอก ร.น.ส.[23]
ตำแหน่งสำคัญ
[แก้]- เสนาธิการทหารบก (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2446[24] – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447)
- ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447[25] – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
- องคมนตรี (24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[26][27] – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[28])
- เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2453[29] – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- เสนาธิการทหารบก (19 มิถุนายน พ.ศ. 2463[30] – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2469)
- อุปนายกสภากาชาดสยาม (12 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[31] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- อภิรัฐมนตรีสภา (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475)[32]
- เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 31 มกราคม พ.ศ. 2471)
- เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (1 เมษายน พ.ศ. 2471[33] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- อุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร (7 เมษายน พ.ศ. 2471[34] – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- ประธานอภิรัฐมนตรีสภาและเสนาบดีสภา (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
- ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 11 ตุลาคม พ.ศ. 2472), (9 เมษายน พ.ศ. 2473 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473), (19 มีนาคม พ.ศ. 2473 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474)
ผลงานดนตรี
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราว
พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง
วงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอกซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์ จากอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น
- ทรัพย์ เซ็นพานิช - ระนาดเอก
- จ่าเอกกมล มาลัยมาลย์ - ระนาดเอก
- สาลี่ มาลัยมาลย์ - ระนาดเอก, ฆ้องวง
- จ่าโทฉัตร สุนทรวาทิน - ระนาดทุ้ม
- ศิริ ชิดท้วม - ระนาดทุ้ม
- ช่อ สุนทรวาทิน - ฆ้องวงใหญ่
- ร้อยเอกนพ ศรีเพชรดี - ฆ้องวงใหญ่
- จ่าสิบเอกพังพอน แตงสืบพันธุ์ - ฆ้องวงเล็ก
- ละม้าย พาทยโกศล - เครื่องหนัง
- จ่าสิบเอกยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ - เครื่องหนัง
- เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล - ปี่ใน, ซอสามสาย
- เจริญ พาทยโกศล - นักร้อง
- จ่าเอกอิน อ๊อกกังวาล - นักร้อง
- สอาด อ๊อกกังวาล - นักร้อง
- เทียม เซ็นพานิช - นักร้อง
- คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ - นักร้อง
- สว่าง คงลายทอง - นักร้อง
ส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระธิดา พระญาติ และผู้ใกล้ชิด มีสังวาลย์ กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอนนักดนตรีและนักร้อง เช่น
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต - ซอสามสาย
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง - ซอด้วง
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี - ซอด้วง
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร - ซออู้
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน - ซออู้
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย - จะเข้
- ร่ำ บุนนาค - จะเข้
- หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา - ซออู้
- บุญวิจิตร อมาตยกุล - ซออู้
- สุดา จาตุรงคกุล - ขลุ่ย
- คุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ์ - โทน, รำมะนา
- คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ - นักร้อง
- หอม สุนทรวาทิน - นักร้อง
- เทียม กรานต์เลิศ - นักร้อง
- สว่าง คงลายทอง - นักร้อง
ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อปี พ.ศ. 2466 ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียงและการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลงและทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า “…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ 5) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…”
พระองค์ทรงเริ่มแต่งเพลงไทยสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรก ๆ มีเพลงวอลทซ์โนรีและเพลงจังหวะโพลกา เช่น เพลงมณฑาทอง เป็นต้น
พระองค์ทรงพระนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบดนตรีสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาทิต ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา
เพลงที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาทิตและวงศ์ปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ. 2453) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ. 2471) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา
พระองค์ทรงพระนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ. 2471) เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ. 2473) และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงพระนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ. 2480) เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ. 2480) และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ. 2484)
ในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดี เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน
พระนิพนธ์
[แก้]เพลงฝรั่ง
[แก้]- เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์
- เพลงวอลทซ์ประชุมพล
- เพลงสุดเสนาะ
- เพลงมณฑาทอง
- เพลงวอลทซ์เมฆลา
- เพลงมหาฤกษ์
- เพลงสรรเสริญเสือป่า
- เพลงวอลทซ์โนรี
- เพลงสาครลั่น
- เพลงโศรก
- เพลงนางครวญ 3 ชั้น
เพลงไทยเดิม
[แก้]- เพลงแขกมอญบางขุนพรหม
- เพลงสุดสงวน 2 ชั้น
- เพลงเขมรพวง 3 ชั้น
- เพลงเขมรชมจันทร์
- เพลงสารถี 3 ชั้น
- เพลงสบัดสบิ้ง
- เพลงทยอยนอก
- เพลงทยอยเขมร
- เพลงทยอยใน เถา
- เพลงแขกเห่
- เพลงถอนสมอ
- เพลงแขกมัทรี
- เพลงครอบจักรวาล เถา
- เพลงบุหลันชกมวย 3 ชั้น
- เพลงเขมรใหญ่ เถา
- เพลงพม่า เถา
- เพลงแขกสี่เกลอ เถา
- เพลงแขกสาย เถา
- เพลงบาทสกุณี
- เพลงขับไม้
- เพลงเขมรโพธิสัตว์ เถา
เพลงไทยเดิมสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง
[แก้]- เพลงแขกสาย เถา
- เพลงอาถรรพ์ เถา
- เพลงแขกสาหร่าย 3 ชั้น
- เพลงสมิงทองมอญ เถา
- เพลงอาเฮีย
- เพลงสารถี 3 ชั้น
เพลงไทยเดิมซึ่งทรงพระนิพนธ์ที่เมืองบันดุง
[แก้]- เพลงต้นแขกไทร 2 ชั้น
- เพลงครวญหา เถา
- เพลงกำสรวญสุรางค์
- เพลงอักษรสำอางค์ และเพลงสุรางค์จำเรียง
- เพลงจีนลั่นถัน
- เพลงจีนเข้าห้อง
- เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา
- เพลงขยะแขยง 3 ชั้น
- เพลงจีนเก็บบุปผา เถา
- เพลงดอกไม้ร่วง
- เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา
- เพลงวิลันดาโอด
- เพลงจิ้งจกทอง เถา
- เพลงตะนาว เถา
- เพลงพวงร้อย เถา
- เพลงถอนสมอ เถา
- เพลงพระจันทรครึ่งซีก
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการสร้างแอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยมีตัวละคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พากย์เสียงโดย จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร
พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะยะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 – 24 มกราคม พ.ศ. 2435 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
- 24 มกราคม พ.ศ. 2435 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหยสุริยสงขลา[35]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต[36]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
- 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2469 : สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
- 21 มีนาคม พ.ศ. 2469 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 : สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[37]
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 18 มกราคม พ.ศ. 2487 : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[38]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2434 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[39]
- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[40]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[41] (ดาราประดับเพ็ชร์)[42]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[43]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[44]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[45]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[46]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[47]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[48]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[49]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[50]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[51]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[52]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[53]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[54]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ซัคเซิน :
- พ.ศ. 2440 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎรือ[55]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[56]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา[57]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2450 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1[56]
- บาเดิน :
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 1[58]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2450 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[56]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญกรัวเดอแกร์[59]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นสูงสุดประดับดอกคิริ[60]
- เบราน์ชไวค์ :
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2448 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซารัส ชั้นที่ 1[61]
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอพ็อลท์ ชั้นที่ 1[62]
- สเปน :
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์โลสที่ 3 ชั้นสูงสุด[63]
พระยศ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองทัพเรือสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | จอมพล จอมพลเรือ นายกองเอก |
พระยศทหาร
[แก้]พระยศเสือป่า
[แก้]พงศาวลี
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ "ประกาศการรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (43): 390–391. 24 มกราคม พ.ศ. 2434. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีมงคลการโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 (41): 325–328. 6 มกราคม พ.ศ. 2437. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เปลี่ยนพระนามกรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (35): 683–685. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ""จอมพลบางขุนพรหม" หรือ "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
- ↑ "แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้นายพลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และนายพลตรี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เป็นราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (35): 595. 29 พฤศจิกายน 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (48): 813. 28 กุมภาพันธ์ 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลและตั้งองคมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (52): 879–880. 27 มีนาคม 2446. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนแลตั้งกรมแลตั้งเจ้าพระยา
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยศเฉลิมพระอภิไธยและเลื่อนกรมพระราชวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 378–380. 21 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 ชะตาชาติ, "2475" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากประจำการ
- ↑ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 89-90. ISBN 978-974-417-594-6
- ↑ "กำหนดการ ที่ ๗/๒๔๙๓ พระราชทานเพลิงศพจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระศพพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พุทธศักราช ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67(21 ง): 1525, 1540–1550. 11 เมษายน 2493. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ยกพระวรวงษ์เธอ เป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอ, เล่ม 27, ตอน ก, 8 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 99
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า, เล่ม 44, ตอน 0ก, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า253
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม, พ.ศ. 2517. 43 หน้า.
- ↑ ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล
- ↑ พระราชทานยศนายนาวาเอก ร.น.ส.
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
- ↑ บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว
- ↑ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
- ↑ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- ↑ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งเสนาธิการทหารบก
- ↑ ประกาศตั้งอุปนายกสภากาชาดสยาม
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและตั้งผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งอุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร
- ↑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหยสุริยสงขลา
- ↑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- ↑ "จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การรับพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๘๗, ๒๔ มกราคม ๑๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมงคลการโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๓๓๘, ๑๓ มกราคม ๑๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๓, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๔๘, ๑๖ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๘๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแห่งเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๐๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๔ ตุลาคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๒๘, ๑๖ มกราคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวเสด็จพระราชดำเนินมาโดยทางโทรเลข, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๒ หน้า ๒๙๒, ๒๙ สิงหาคม ๑๑๖
- ↑ 56.0 56.1 56.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๗, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๕, ๒๘ กันยายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๖, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๗, ๓ ธันวาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๐๐, ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ได้รับพระราชทานยศเสือป่านายกองตรี
- ↑ ได้รับพระราชทานยศเสือป่านายกองเอก
- จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา
- ชีวิตในวังบางขุนพรหม, กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- 100 ปี แห่งวันประสูติ เสด็จในกรมฯ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต
- จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชมรมดนตรีไทย เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เก็บถาวร 2008-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 18 มิถุนายน พ.ศ. 2463) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ||
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (24 สิงหาคม พ.ศ. 2469 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2471) |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ | เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (1 เมษายน พ.ศ. 2471 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) |
พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) | ||
เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) | ผู้บัญชาการทหารบก (25 ตุลาคม พ.ศ. 2471 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2474) |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช | ||
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (9 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2475) |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2424
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2487
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- อภิรัฐมนตรี
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 7
- ราชสกุลบริพัตร
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
- จอมพลชาวไทย
- จอมพลเรือชาวไทย
- พลเรือเอกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- นักแต่งเพลงชาวไทย
- นักดนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกกองเสือป่า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศอินโดนีเซีย
- เสียชีวิตจากโรคไต
- เสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือด
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- เครื่องบินบริพัตร
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 5