ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง9 เมษายน พ.ศ. 2454[1] - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462
ประสูติ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427
สิ้นพระชนม์2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 (34 ปี)
หม่อม
  • หม่อมชื้น สุริยง ณ อยุธยา
  • หม่อมจง สุริยง ณ อยุธยา
  • หม่อมเรณี สุริยง ณ อยุธยา
  • หม่อมสวง สุริยง ณ อยุธยา
  • หม่อมเรณิ สุริยง ณ อยุธยา
พระบุตร
  • หม่อมเจ้าไตรภูมิประยุรพันธุ์ สุริยง
  • หม่อมเจ้าแฝด
  • หม่อมเจ้าแฝด
  • หม่อมเจ้ารัศมีสุริยัน สุริยง
  • สุริยนันทนา สุจริตกุล
  • กิรณานฤมล ดูรยะชีวิน
  • หม่อมเจ้าโกศลสุริยาทิตย์ สุริยง
  • หม่อมเจ้ากิติสุริโยภาส สุริยง
  • หม่อมเจ้าทินชาติธำรง สุริยง
  • หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง
  • หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง
  • หม่อมเจ้าสุวรรณกุมารี สุริยง
ราชสกุลสุริยง
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.

มหาอำมาตย์ตรี มหาเสวกตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นต้นราชสกุลสุริยง และเป็นพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พระประวัติ

[แก้]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 7 คํ่า ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 51 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ. มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี 2 พระองค์ คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา

การศึกษา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสเสด็จไปศึกษาต่อที่ทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2440 ทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ผนวช

[แก้]

จบการศึกษาแล้วกลับมาผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]

รับราชการ

[แก้]

หลังจากลาผนวช ทรงรับราชการจนได้เป็นมหาอำมาตย์ตรี ตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[3]อธิบกรมสำรวจ[4]และอธิบดีโรงกษาปณ์[5][6]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457[7] พระองค์ทรงรับราชการตำแหน่ง มหาเสวกตรี ผู้ตรวจการกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยโอนกิจการของกรมช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ

นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[8]

สิ้นพระชนม์

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส สิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรค เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 34 ปี 277 วัน[9]

พระโอรส-ธิดา

[แก้]
ตราราชสกุลสุริยง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสเป็นต้นราชสกุล สุริยง มีหม่อม 5 ท่าน โดยหม่อมท่านแรกคือ หม่อมชื้น ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค)[10] ซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระชนนี และได้รับการยอมรับให้เป็นสะใภ้หลวง[11] นอกนั้นก็มีนางห้ามท่านอื่น ได้แก่ หม่อมจง หม่อมเรณี (สกุลเดิม ฟุสโก – ธิดาร้อยโท ไมเคิล ฟุสโก) หม่อมสวง (น้องสาวหม่อมจง) และหม่อมเรณิ (น้องสาวหม่อมเรณี) โดยมีพระโอรสและพระธิดา 12 องค์ ดังนี้[12][13]

ลำดับ พระนาม ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย มารดา เสกสมรส พระนัดดา
1. หม่อมเจ้าไตรภูมิประยุรพันธุ์ สุริยง 24 กันยายน พ.ศ. 2450 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 หม่อมชื้น สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม บุนนาค)
มิได้สมรส
2. หม่อมเจ้าแฝด (ไม่มีพระนาม) 6 มิถุนายน พ.ศ. 2454 7 มิถุนายน พ.ศ. 2454 มิได้สมรส
3. หม่อมเจ้าแฝด (ไม่มีพระนาม) 6 มิถุนายน พ.ศ. 2454 7 มิถุนายน พ.ศ. 2454 มิได้สมรส
4. หม่อมเจ้ารัศมีสุริยัน สุริยง 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 19 มิถุนายน พ.ศ. 2531 หม่อมจง สุริยง อยุธยา หม่อมมาร์แซลล์ สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม ดูมาส์)
หม่อมราชวงศ์สุรินทร์ สุริยง
5. ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 หม่อมเรณี สุริยง อยุธยา
(สกุลเดิม ฟุสโก)
จิตติ สุจริตกุล ไกรจิตต์ สุจริตกุล
6. กิรณานฤมล ดูรยะชีวิน 9 มิถุนายน พ.ศ. 2458 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 หม่อมสวง สุริยง ณ อยุธยา หม่อมเจ้าเจตนาธร จักรพันธุ์
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)
ผกากน ทองคำ
พิมลชัย ดูรยะชีวิน
พิไลวรรณ ม่วงศิริธรรม
จันทราภรณ์ พลดี
สุริยพันธุ์ ดูรยะชีวิน
7. หม่อมเจ้าโกศลสุริยาทิตย์ สุริยง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2458 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 หม่อมเรณิ สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม ฟุสโก)
หม่อมธีระ สุริยง ณ อยุธยา
(นามเดิม เทรุโกะ อีชิมัทสึ)
หม่อมอรพินท์ สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม เบอร์เดน)
หม่อมราชวงศ์ทัศนัย สุริยง
หม่อมราชวงศ์เชื้อชัย สุริยง
หม่อมราชวงศ์เดือนเต็ม ปานแสง
8. หม่อมเจ้ากิติสุริโยภาส สุริยง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2459 14 มิถุนายน พ.ศ. 2481 มิได้สมรส
9. หม่อมเจ้าทินชาติธำรง สุริยง 14 กันยายน พ.ศ. 2459 16 กันยายน พ.ศ. 2540 หม่อมจง สุริยง อยุธยา หม่อมราชวงศ์ศุภกันต์ สุริยง
(ราชสกุลเดิม เทวกุล)
หม่อมราชวงศ์ทินเทวัญ สุริยง
หม่อมราชวงศ์วโรทัย สุริยง
10. หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หม่อมเรณิ สุริยง อยุธยา
(สกุลเดิม ฟุสโก)
หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม สุวรรณทัต)
หม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง
หม่อมราชวงศ์ประยูรพันธุ์ สุริยง
หม่อมราชวงศ์นันทนา สุริยง
หม่อมราชวงศ์อำพล สุริยง
หม่อมราชวงศ์อัจจิมา สุริยง
11. หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง 18 กันยายน พ.ศ. 2460 1 เมษายน พ.ศ. 2514 หม่อมเรณี สุริยง อยุธยา
(สกุลเดิม ฟุสโก)
หม่อมสดับ สุริยง ณ อยุธยา
(สกุลเดิม สันธินาค)
12. หม่อมเจ้าสุวรรณกุมารี สุริยง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หม่อมเรณิ สุริยง อยุธยา
(สกุลเดิม ฟุสโก)
มิได้สมรส

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยศ

[แก้]

พระยศพลเรือน

[แก้]
  • มหาอำมาตย์ตรี
  • มหาเสวกตรี

พระยศเสือป่า

[แก้]
  • 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458: นายหมวดตรี[20]

ราชตระกูล

[แก้]
พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงกลิ่น
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท่านผู้หญิงอิ่ม
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/51.PDF
  2. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชแลบวชนาคหลวง, เล่ม 26, ตอน ๐ง, ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๙๑๙-๙๒๔
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/025/627_1.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/033/836.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/048/1292_1.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/001/19_2.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ง, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๑๘๓๕
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/51.PDF
  9. ข่าวสิ้นพระชนม์
  10. "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 5 สายเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วน บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "'สะใภ้เจ้า' กับภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคม". มติชนออนไลน์. 14 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  13. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  14. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 26 (ตอน 0 ง): หน้า 2626. 6 มีนาคม ร.ศ. 128. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23 (ตอน 27): หน้า 679. 30 กันยายน ร.ศ. 125. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1783. 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1802. 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  20. พระราชทานยศเสือป่า