ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ6 มีนาคม พ.ศ. 2366
สิ้นพระชนม์19 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 (44 ปี)
หม่อมหม่อมช้อย
หม่อมราชวงศ์เสาวรส
หม่อมสวน
หม่อมกลัด
หม่อมหุ่น
หม่อมเนือง
พระบุตร26 องค์
ราชสกุลนพวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (6 มีนาคม พ.ศ. 2366 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2410) เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ในรัชกาลที่ 4 (ธิดาของพระอินทร์อภัย (พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. 1184 ตรงกับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2366 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์เป็นพระราชโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูตินอกเศวตฉัตร (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร) แรกประสูติมีพระยศที่ หม่อมเจ้านพวงศ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อพระบิดาเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ วรงค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ ขึ้นเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส” กำกับดูแลกรมล้อมพระราชวัง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้กำกับราชการกรมพระคลังมหาสมบัติเพิ่มอีกตำแหน่ง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน 8 แรม 8 ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 สิริพระชันษา 44 ปี[1] เป็นต้นราชสกุลนพวงศ์

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส มีหม่อม 6 คน ได้แก่

  • หม่อมช้อย
  • หม่อมราชวงศ์หญิงเสาวรส (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์)
  • หม่อมสวน (สกุลเดิม ศรีเพ็ญ)
  • หม่อมกลัด (ราชสกุลเดิม จาตุรงคกุล)
  • หม่อมหุ่น
  • หม่อมเนือง (ราชสกุลเดิม ณ นคร)

มีพระโอรส 2 พระองค์ กับ 14 องค์ และมีพระธิดา 10 องค์ รวม 26 พระองค์/องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย พระชันษา คู่สมรส
1
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2382 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 20 ปี 204 วัน ถึง 21 ปี 203 วัน หม่อมนกแก้ว
2
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2384 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 71 ปี 309 วัน ถึง 72 ปี 308 วัน หม่อมเจ้าหญิงจันทร (สุประดิษฐ์)
3
หม่อมเจ้าถนอม
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2463 ไม่มีข้อมูล หม่อมเอม (คชเสนี)
หม่อมสาย (คชเสนี)
หม่อมแย้ม
หม่อมสิน
4
หม่อมเจ้าสำเนียง
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2441 ไม่มีข้อมูล หม่อมเปลี่ยน
5
หม่อมเจ้าเดช
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2394 พ.ศ. 2456 60 ปี 355 วัน ถึง 62 ปี 352 วัน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแก้วกัลยาณี
6
หม่อมเจ้าหญิงจันทรประไพ
ญ. ไม่มีข้อมูล 18 ธันวาคม พ.ศ. 2395[2] 6 เมษายน พ.ศ. 2474 78 ปี 109 วัน
7
หม่อมเจ้าศรีสังข์ หรือเจ๊ก
ช. ไม่มีข้อมูล 26 ธันวาคม พ.ศ. 2397 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 58 ปี 191 วัน หม่อมเจ้าหญิงพวงผกา นพวงศ์
หม่อมอื่น ๆ (ไม่ปรากฏนาม)
8
หม่อมเจ้าหญิงปุก
ญ. ไม่มีข้อมูล 19 ธันวาคม พ.ศ. 2400[2] หลัง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] มากกว่า 67 ปี 320 วัน
9
หม่อมเจ้าขุนช้าง
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2400 1 สิงหาคม พ.ศ. 2428 27 ปี 111 วัน ถึง 28 ปี 110 วัน นักองค์เจ้าศรีสวัสดิ์ผิวแห่งกัมพูชา
10
หม่อมเจ้าหญิงเกสร หรือเผือก
ญ. ไม่มีข้อมูล 19 เมษายน พ.ศ. 2401 พ.ศ. 2454 52 ปี 347 วัน ถึง 53 ปี 346 วัน
11
หม่อมเจ้าหญิงสุหร่าย
ญ. หม่อมกลัด พ.ศ. 2402 9 สิงหาคม พ.ศ. 2468 65 ปี 119 วัน ถึง 66 ปี 118 วัน
12
หม่อมเจ้าอร่าม
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2403 16 กันยายน พ.ศ. 2421 17 ปี 157 วัน ถึง 18 ปี 156 วัน
13
หม่อมเจ้าหญิงอุบลศิริ
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2404 ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่เกิน 64 ปี 203 วัน
14
หม่อมเจ้าหญิงใหม่
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2404 8 มีนาคม พ.ศ. 2422 16 ปี 330 วัน ถึง 17 ปี 329 วัน
15
หม่อมเจ้ากรรเจียก
ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2405 6 มีนาคม พ.ศ. 2446 39 ปี 328 วัน ถึง 40 ปี 327 วัน หม่อมสาย
16
หม่อมเจ้าดำ
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2405 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 32 ปี 313 วัน ถึง 33 ปี 312 วัน
17
หม่อมเจ้าอบเชย
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2405 สิงหาคม พ.ศ. 2437 31 ปี 111 วัน ถึง 32 ปี 140 วัน หม่อมราชวงศ์หญิงสวัสดิทรวง (ดวงจักร)
18
หม่อมเจ้าหญิงพวงผกา
ญ. ไม่มีข้อมูล 12 มีนาคม พ.ศ. 2406[2] พ.ศ. 2482 76 ปี 20 วัน ถึง 77 ปี 19 วัน หม่อมเจ้าศรีสังข์ นพวงศ์
19
หม่อมเจ้าเล็ก
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 22 มิถุนายน พ.ศ. 2447 ไม่มีข้อมูล หม่อมราชวงศ์หญิงสง่า
20
หม่อมเจ้าขาว
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2406 ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่เกิน 62 ปี 203 วัน
21
หม่อมเจ้าหญิงมณฑา
ญ. ไม่มีข้อมูล 22 มิถุนายน พ.ศ. 2410[2] ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่เกิน 58 ปี 133 วัน
22
หม่อมเจ้าหญิงเล็ก
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2410 ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่เกิน 58 ปี 203 วัน
23
หม่อมเจ้าหญิงโสภา หรือโสนา
ญ. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2426 ไม่มีข้อมูล
24
หม่อมเจ้าจำรัส
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2447 ไม่มีข้อมูล
25
หม่อมเจ้าถมยา
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่มีข้อมูล
26
หม่อมเจ้าเณรเล็ก
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[2] ไม่มีข้อมูล

พระนัดดา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส มีพระนัดดารวม 35 องค์/คน ดังนี้

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ มีพระโอรสธิดา 3 องค์ ได้แก่
    • หม่อมเจ้า(ไม่มีพระนาม) นพวงศ์
    • หม่อมเจ้าหญิงแจ่มแจ้ง ศิริวงศ์ เสกสมรสกับจมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์เล็ก ศิริวงศ์)
    • หม่อมเจ้า(ไม่มีพระนาม) นพวงศ์
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช มีพระโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอุบล นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงกลาง นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจงกล พรหมปิณฑะ สมรสกับจ่าใจแกว่น (สวัสดิ์ พรหมปิณฑะ)
    • หลวงศิวพันธ์นิภาธร (หม่อมราชวงศ์ส่อศรี นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์ประภาส นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์ไพฑูรย์ นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงรวย นพวงศ์
  • หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ มีโอรสธิดา 13 คน ได้แก่
    • พระยานครภักดีศรีนครานุรักษ์ (หม่อมราชวงศ์ชุบ นพวงศ์)
    • สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    • พระยารัตนโกษา (หม่อมราชวงศ์ใหม่ นพวงศ์)
    • หลวงบวรวาที (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ นพวงศ์)
    • พระยารามราชเดช (หม่อมราชวงศ์ปาน นพวงศ์)
    • พระยาวิเศษภักดี (หม่อมราชวงศ์กมล นพวงศ์)
    • หลวงประสานคดี (หม่อมราชวงศ์ถกล นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงโต๊ะ นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงฉัตร นพวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสั้น นพวงศ์
    • หลวงพาหิรวาทกิจ (หม่อมราชวงศ์เปา นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงประอร หงสไกร สมรสกับพระกล้ากลางสมร (มงคล หงสไกร)
    • หม่อมราชวงศ์จำลอง นพวงศ์
  • หม่อมเจ้าสำเนียง นพวงศ์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม นพวงศ์
    • พระยามหานามราช (หม่อมราชวงศ์จำนง นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลมุน ปิยะรัตน์ สมรสกับหลวงบรรโณวาทวิจิตร (หรุ่น ปิยะรัตน์)
  • หม่อมเจ้าศรีสังข์ นพวงศ์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • พระประมาณธนสิทธิ์ (หม่อมราชวงศ์เจิม นพวงศ์)
    • พระยาพิบูลย์ไอศวรรย์ (หม่อมราชวงศ์เล็ก นพวงศ์)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุภา เสวิกุล สมรสกับพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (หม่อมหลวงวราห์ กุญชร) ต่อมาสมรสกับพระราชมัณฑาดุลประคุณเสรี (โชติ เสวิกุล)
    • หม่อมราชวงศ์ชาติเฉลิม นพวงศ์
  • หม่อมเจ้าอบเชย นพวงศ์ มีโอรส 1 คน ได้แก่
    • พระยาเสนาสงคราม (หม่อมราชวงศ์อี๋ นพวงศ์)
  • หม่อมเจ้าเล็ก นพวงศ์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเกยูร จูตะเสน สมรสกับร้อยโทปาล จูตะเสน
    • หม่อมราชวงศ์อโณทัย นพวงศ์

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2366 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394 : หม่อมเจ้านพวงศ์
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2396 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ วรงค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส
  • พ.ศ. 2396 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 : พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%94/%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%93-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%8C
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  3. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468.
  • Jeffary Finestone. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ : บริษัทกู๊ดวิว เพรส จำกัด, พ.ศ. 2543. 394 หน้า. ISBN 974-87148-8-8