พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค | |
---|---|
กรมขุนอรรควรราชกัลยา | |
พระอรรคชายา | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2416 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444 |
ประสูติ | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 |
สิ้นพระชนม์ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444 (54 ปี) |
พระสวามี | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระบุตร | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจีน |
ศาสนา | พุทธ |
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444) พระนามเดิม หม่อมเจ้าบัว เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน และเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยาเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389[1][2] เมื่อทรงพระเยาว์ประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร พระปิตุจฉา (เป็นพระเชษฐภคินีต่างมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงเป็นผู้อภิบาล หม่อมเจ้าบัวมีเจ้าน้องร่วมพระมารดาเดียวกันอีก 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าปิ๋ว และหม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์
ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระนามใหม่ให้หม่อมเจ้าบัว ว่า "หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค" พร้อมกับพระราชทานพระนามใหม่ให้หม่อมเจ้าปิ๋วว่า "หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์"[2] ชาววังออกพระนามว่า ท่านองค์ใหญ่
หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาคและขนิษฐาทั้งสองได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าชั้น "หลานหลวง" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย
- หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ มีพระอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2430
- หม่อมเจ้าสาย มีพระอิสริยยศเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
ภายหลังการประสูติพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล พระองค์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศตั้งอยู่ในตำแหน่งพระอรรคชายาเธอ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2431 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้า พร้อมกันนี้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา[3]
พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) สมัยหนึ่ง[4] พระองค์ประชวรด้วยพระโรคจุกแน่นและกระตุกลง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444 สิริพระชันษา 55 ปี[5]
สถานที่ในพระนาม
[แก้]- สะพานอุบลรัตน์ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เพื่อเชื่อมถนนอัษฎางค์และถนนราชินี สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่ออุทิศพระราชกุศล[6]
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ กรมขุนอรรควรราชกัลยา | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- หม่อมเจ้าบัว ( 28 พฤศจิกายน 2390 – พ.ศ. 2416)
- พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค (พ.ศ. 2416 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431)
- พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2468)[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2431 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[8]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm
- ↑ 2.0 2.1 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-322-964-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค, เล่ม ๑๘, ตอน ๒๙, ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๕๒๑
- ↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ลายคำ, 2552, หน้า 470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔