พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะเสนาบดี) |
ถัดไป | นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 สิงหาคม – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | นายพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะรัฐมนตรี) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2429 |
เสียชีวิต | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (52 ปี) |
คู่สมรส | นาง ถนอมศรี ประดิยัตินาวายุทธ คุณหญิง ระจิตร ราชวังสัน |
บุตร | พลเรือตรี กมล กมลนาวิน ดร. โกมล กมลนาวิน นาย กมุท กมลนาวิน พลเรือตรี กุมุท กมลนาวิน พลเรือเอก โกมุท กมลนาวิน ด.ช. กสุม กมลนาวิน นาย กุสุม กมลนาวิน คุณหญิง กมลนารี สิงหะ พลเรือเอก โกสุม กมลนาวิน นาง กมลเทวี ฉันทานุมัติ |
บุพการี |
|
นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) (9 มิถุนายน พ.ศ. 2429 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท พระยาราชวังสัน มีนามเดิมว่า ศรี กมลนาวิน เกิดที่ตำบลบ้านท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรนายเล็ก-นางจู กมลนาวิน เป็นพี่ชายของหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)[2] สมรสกับ นางสาวถนอมศรี วีระศิริ (นางถนอมศรี ประดิยัตินาวายุทธ) เมื่อ พ.ศ. 2456 ต่อมาเมื่อนางถนอมศรีถึงแก่กรรม จึงสมรสกับ นางสาว ระจิตร วีระศิริ (คุณหญิงระจิตร ราชวังสัน) น้องสาวภรรยา
ศรี กมลนาวิน จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ[3] เข้าเรียนเป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ. 2446[4] ได้ถวายตัวต่อพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อเข้าเป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ. 2449 และรับราชการทหารเรือ เคยเป็นผู้บังคับการเรือหลวงคำรณสินธุ์ซึ่งเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2455[5] ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น นาวาตรี หลวงประดิยัตินาวายุทธ (ศรี) ร.น. เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งมหาจักรี[6] เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายเรือ เสนาธิการทหารเรือ[7] ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวังสันเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6[8]และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2470–2476 เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2475–2476) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือโท เมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี พ.ศ. 2475[9]
พลเรือโท พระยาราชวังสัน เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ระหว่าง พ.ศ. 2478–2482[10] ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมถึงเยอรมนี จึงถึอว่าเป็นอัครราชทูตไทยประจำเยอรมนีอีกตำแหน่งด้วย[11]
พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) มีหลานชายคือ กษิติ กมลนาวิน อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ฝรั่งเศส ปี 2005 และสุดยอดแฟนพันธุ์แท้กีฬาโอลิมปิก ปี 2008
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2480 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[15]
- พ.ศ. 2466 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[17]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นที่ 3 (ฝ่ายทหาร) (CBE)[19]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2476 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[20]
- ไรช์เยอรมัน :
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- ↑ นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๖ เล่มที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สำเนาจาก กูเกิลแคช
- ↑ เพชรพระมหามงกุฎ ตอน กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
- ↑ "เรือรบในรัชสมัย รัชกาลที่ 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ "รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ รายชื่ออดีตอัครราชทูตและเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเยอรมนี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๙๗, ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑๖, ๑ มีนาคม ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๐, ๓ มกราคม ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๒, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๕, ๒๒ ธันวาคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙๐, ๒๓ มีนาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๖๔, ๑ ตุลาคม ๒๔๗๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒, ๑๘ เมษายน ๒๔๘๑
- ↑ "Hitler Honours Siamese". The Straits Times. 3 April 1938. p. 3.