ข้ามไปเนื้อหา

เพลงเถา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลงเถาเป็นเพลงไทยประเภทหนึ่ง โดยลักษณะการบรรเลงนั้นจะเริ่มจากอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น จนถึงชั้นเดียวตามลำดับ

เพลงเถากำเนิดในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีวิวัฒนาการจากการเล่นเสภาและการเล่นสักวา

ประเภทของเพลงเถา

[แก้]

เพลงเถาสามารถแบ่งได้ตามที่มาดังนี้

  1. เพลงเถาที่มาจากเพลงสองชั้นเดิม นำมาขยายเป็นสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว เพลงประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด เช่น เพลงแขกมอญ เถา เพลงเขมรพวง เถา ฯลฯ
  2. เพลงเถาที่มาจากเพลงสามชั้นเดิม ภายหลังได้นำมาตัดลงเป็นสองชั้นและชั้นเดียวจนครบเถา เช่น เพลงนางครวญ เถา เพลงสุดสงวน เถา เพลงแขกบรเทศ เถา ฯลฯ
  3. เพลงเถาที่มาจากเพลงชั้นเดียวเดิม และได้นำมาขยายเป็นสองชั้นและสามชั้น เช่น เพลงไส้พระจันทร์ เถา ฯลฯ
  4. เพลงเถาที่แต่งใหม่ทั้งเถา เพลงประเภทนี้มีจำนวนน้อยมาก เช่น เพลงสุดาสวรรค์ ฯลฯ[1]

อัตราจังหวะในเพลงไทย

[แก้]

อัตราจังหวะในเพลงไทยเดิมแบ่งได้สามอัตราดังนี้[2]

  • อัตราจังหวะสองชั้น เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินไปในลักษณะกลางๆ ไม่ช้าและไม่เร็ว ครูเพลงส่วนใหญ่นิยมนำเพลงสองชั้นใช้ในการบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร
  • อัตราจังหวะชั้นเดียว เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินรวดเร็วและสั้น เพลงเกร็ดบางเพลงรวมทั้งเพลงหางเครื่องก็ใช้อัตราจังหวะนี้ๅ

นอกจากนี้ยังมีอัตราจังหวะสี่ชั้นและครึ่งชั้น ปัจจุบันไม่นิยมเล่นแล้ว เนื่องจากอัตราจังหวะสี่ชั้นนั้นจะยาวเกินไป ส่วนอัตราจังหวะครึ่งชั้นนั้นสั้นเกินไป และมีเพียงบางเพลงเท่านั้นที่มีการประพันธ์ขึ้นเป็นอัตราจังหวะสี่ชั้น และครึ่งชั้น ในบางครั้งจะบรรเลงในอัตราจังหวะทั้งสองนี้เพื่ออวดทางเพลงหรืออวดฝีมือกันเป็นส่วนใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  1. เพลงเถา@ปฎากรณ์ดุริยางค์ๅ เว็บไซต์ดนตรีไทย ปฎากรณ์ดอตคอม
  2. "โรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.