ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
ประสูติ3 มีนาคม พ.ศ. 2368
สิ้นพระชนม์21 มิถุนายน พ.ศ. 2392
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ ในรัชกาลที่ 3

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 42 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่

พระประวัติ

[แก้]

พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 3 แรม 10 ค่ำ ปีระกา สัปตศก จ.ศ. 1187 ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2368[1] สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อเดือน 8 ปีระกา พ.ศ. 2392 พระชันษา 25 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศ พ.ศ. 2393[2]

พระอัฐิใส่ไว้ในโกศทองคำแปดเหลี่ยมลงยา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไปไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช เหตุที่ทรงพระราชทานไปนั้น ได้ทราบเกล้าด้วยท่านผู้ใหญ่เล่าว่า เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงพระประชวรอยู่นั้น ได้ขอพระบรมราชานุญาตต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ส่งพระอัฐิของพระองค์ไปไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า "พระอัฐล้นเกล้าล้นกระหม่อมกรมพระราชวังบวรฯ นั้นได้ออกไปอยู่ที่เมืองนครแล้ว พระอัฐิเสด็จเฉลิมวงศ์ควรพระราชทานให้ไปอยู่ด้วยกัน"[3]

คราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 3-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำพระอัฐิของพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ รวมทั้งพระอัฐิเจ้านายในสกุล ณ นคร อาทิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช มาตั้งบำเพ็ญกุศล

ปัจจุบันพระอัฐิของพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ ถูกเก็บไว้ที่วิหารสามจอม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับพระอัฐิและอัฐิของสกุลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเจ้านายสกุล ณ นคร เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เป็นต้น[4]

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างวังเหนือป้อมมหาฤกษ์ขึ้น เพื่อพระราชทานให้แก่ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ แต่พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน และไม่ปรากฏว่ามีเชื้อสายสืบราชสกุล เมื่อพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานวังแห่งนี้ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย[5]

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ (พ.ศ. 2368 - พ.ศ. 2392)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ (พระนามภายหลังการสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 4)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ (พระนามภายหลังการสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 6)

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์ครั้งที่ 4; กรุงเทพฯ, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์: 2554
  2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน เล่ม 1, (พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, 2471) หน้า 18.
  3. ๒-พระอัฐิ-และอัฐิบรรพชนสกุล-ณ-นคร-โกมารกุล-ณ-นคร-และจาตุรงคกุล- เก็บถาวร 2018-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิสกุล ณ นคร
  4. สิ่งสำคัญในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดย สำนักงานนิตยสารเทียนชัย
  5. โรงสกูลสุนันทาลัย โรงเรียนฝึกมารยาทของนักเรียนราชวิทยาลัย