กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | |
---|---|
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือฝรั่งเศส ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) | |
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล | |
ดำรงพระยศ | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 (16 ปี 331 วัน) |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
อุปราชาภิเษก | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 |
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า ทรงสถาปนาตำแหน่ง สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมาแทน |
ประสูติ | 6 กันยายน พ.ศ. 2381[1] |
ทิวงคต | 28 กันยายน พ.ศ. 2428 (47 พรรษา) พระราชวังบวรสถานมงคล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระราชมารดา | เจ้าคุณจอมมารดาเอม |
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นกรมพระราชวังบวรพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากพระองค์ทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและทรงสถาปนาตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นมาแทน
ประสูติ
[แก้]กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 คำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2381[2] เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่หม่อมเจ้า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า ยอร์ชวอชิงตัน ตามชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2404 และได้เฉลิมพระราชมนเทียรเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]
การแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
[แก้]เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังพระชนมพรรษาเพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งถูกสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระชนม์ว่าคิดจะชิงราชสมบัติจึงได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2410 แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต 1 วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมอันมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม เพราะกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า "ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ" กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม" จึงเป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์[4]
วิกฤตการณ์วังหน้า
[แก้]เนื่องจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สนับสนุนให้ได้เป็นแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงเกรงใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอันมาก
ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัยโดยโยงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (Auditing Office ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า[5][6]
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น จักรวรรดิบริติชคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสามส่วนคือ ทางเหนือถึงนครเชียงใหม่ (หรืออาจจะเป็นพื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกของประเทศ) ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง พื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่กลองไปจนถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง ทางใต้ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไป ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น
เหตุการณ์บาดหมางเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรี เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้ว ด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง[7]
ทิวงคต
[แก้]กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ณ พระที่นั่งบวรบริวัติ เมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1247 (28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เวลา 23:30 น. พระชนมายุ 47 พรรษา วันต่อมาเวลาบ่าย 3 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพมายังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ประกอบพระโกศทองน้อย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 50 รูปสดับปกรณ์ และพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน[8] แล้วพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2429 นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงหายไป จนถึงปีจอ พ.ศ. 2429 จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร และยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ตั้งแต่นั้นมา
พระราชโอรส-พระราชธิดา
[แก้]ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก
[แก้]- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายแฝด (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. 2400) ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมหลวงปริก
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย (พ.ศ. 2405-2421) ประสูติแต่จอมมารดากรุด
ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว
[แก้]- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส (พ.ศ. 2411 - 2471) ประสูติแต่จอมมารดาเข็ม ทรงเป็นต้นราชสกุล วิไลยวงศ์
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (พ.ศ. 2412-2463) ประสูติแต่จอมมารดาปริกเล็ก ทรงเป็นต้นราชสกุล กาญจนะวิชัย
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. 2413) ประสูติแต่จอมมารดาเวก
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. 2413) ประสูติแต่จอมมารดาละม้าย
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. 2414-2442) ประสูติแต่จอมมารดาเลี่ยมเล็ก
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (พ.ศ. 2414-2470) ประสูติแต่จอมมารดาเลี่ยมใหญ่ ทรงเป็นต้นราชสกุล กัลยาณะวงศ์
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธิดาจำรัสแสงศรี (พ.ศ. 2414-2440) ประสูติแต่จอมมารดาเขียวใหญ่
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (พ.ศ. 2414-2471) ประสูติแต่จอมมารดาปุ้ย
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. 2415) ประสูติแต่จอมมารดาเวก
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลิ่นแก่นจันทนารัตน์ (พ.ศ. 2415-2418) ประสูติแต่จอมมารดาจั่น
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร (พ.ศ. 2415-2461) ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมหลวงนวม ทรงเป็นต้นราชสกุล สุทัศนีย์
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ (พ.ศ. 2416-2485) ประสูติแต่จอมมารดาป้อม ทรงเป็นต้นราชสกุล วรวุฒิ
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโอภาสไพศาลรัศมี (พ.ศ. 2416-2440) ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมราชวงศ์กลีบ
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (ไม่มีพระนาม) (พ.ศ. 2416) ประสูติแต่จอมมารดาอิน
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอับสรศรีราชกานดา (พ.ศ. 2416-2460) ประสูติแต่จอมมารดาต่วน
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี (พ.ศ. 2417-2478) ประสูติแต่จอมมารดาสมบุญ ทรงเป็นต้นราชสกุล รุจจวิชัย
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ (พ.ศ. 2418-2485) ประสูติแต่จอมมารดาสุ่นใหญ่
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี (พ.ศ. 2419-2451) ประสูติแต่จอมมารดาเขียวเล็ก ทรงเป็นต้นราชสกุล วิบูลยพรรณ
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (พ.ศ. 2419-2489) ประสูติแต่จอมมารดาเลี่ยมเล็ก ทรงเป็นต้นราชสกุล รัชนี
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส (พ.ศ. 2419-2440) ประสูติแต่จอมมารดาปริกใหญ่
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลมาศมาลี (พ.ศ. 2419-2464) ประสูติแต่จอมมารดาจั่น
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ (พ.ศ. 2423-2513) ประสูติแต่จอมมารดาสุ่นเล็ก
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสาทสมร (พ.ศ. 2426-2456) ประสูติแต่จอมมารดายิ้ม
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ (พ.ศ. 2426-2453) ประสูติแต่จอมมารดาสอาด ทรงเป็นต้นราชสกุล วิสุทธิ
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมุทมาลี (พ.ศ. 2427-2454) ประสูติแต่จอมมารดาหม่อมราชวงศ์เชื้อ
- พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ (พ.ศ. 2427-2489) ประสูติแต่จอมมารดาแข
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- หม่อมเจ้ายอร์ชวอชิงตัน
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระนามหลังทิวงคต)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผัง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- ↑ กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 127. ISBN 978-974-417-594-6
- ↑ หอสมุดพระวชิรญาณ, ราชสกุลวงศ์พระนามเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์, โรงพิมพ์ไท, พ.ศ. 2463
- ↑ ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เล่ม 2. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2504.
- ↑ การแก้ไขวิกฤตชาติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าหัวเก็บถาวร 2007-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ รัชกาลที่ 5 กับการเสด็จอินเดีย พ.ศ. 2414 และความเข้าใจต่อการปฏิรูปแห่งรัชสมัยเก็บถาวร 2007-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง
- ↑ "กรมพระราชวังบวร ฯ ทิวงคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (37): 332–333. 22 กันยายน จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
ก่อนหน้า | กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ราชวงศ์จักรี) (พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2428) |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร (สยามมกุฎราชกุมาร) | ||
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว | ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า (พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2428) |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (ผู้บัญชาการทหารเรือ) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2381
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2428
- กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
- พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม
- บุคคลจากเขตบางกอกใหญ่