พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ | |
---|---|
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4 | |
ประสูติ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2388 |
สิ้นพระชนม์ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2429 (พระชันษา 52 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | หัสดินทร |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาหนู |
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหัสดินทร์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 19 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาหนู
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 12 ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. 1207 ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2388[1] ต่อมาถึงรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์[2] เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 9 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จ.ศ. 1243 ตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2424
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ เดือน 9 แรม 7 ค่ำ ปีจอ อัฐศก จ.ศ. 1248 ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2429 พระชันษา 42 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2430[3]
พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลหัสดินทร ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ ดังนี้
- หม่อมเจ้าชนะไชย หัสดินทร (ประสูติ พ.ศ. 2407 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2438)
- นายพลตรี หม่อมเจ้าศรีใสเฉลิมศักดิ์ หัสดินทร ท.ม.,ต.จ. อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครไชยศรี (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2464) เสกสมรสกับหม่อมลืม หัสดินทร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: จุลกะ) มีโอรสธิดา 7 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงแลวิไลลักษณ์ หัสดินทร
- พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ.ว.
- พันเอก หม่อมราชวงศ์ล้ำเลิศ หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์หญิงล้วนฉวี หัสดินทร
- ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์ลมเพย หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์รัชสกล หัสดินทร
และนอกจากนี้หม่อมเจ้าศรีไสยยังทรงมีหม่อมอีกหนึ่งคนไม่ปรากฏนาม มีโอรสและธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมศักดิ์ หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิศิษฐ์ศรี หัสดินทร
และทรงโอรสและธิดากับหม่อมคนสุดท้ายชื่อ หม่อมเทียบ มีโอรสและธิดาดังนี้
- หม่อมราชวงศ์เบญจรัตนสดศรี หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์ทวีพันธ์วัฒนา หัสดินทร
- หม่อมราชวงศ์สร้อนสนธ์สังวาล หัสดินทร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2423 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Somdetch Phra Paramindr MahaMongkut, “The Family of the late Second King of Siam,” op.cit, p. 52
- ↑ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์ครั้งที่ 4; กรุงเทพฯ, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์: 2554
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 4 จ.ศ. 1249, หน้า 55.