พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ | |
---|---|
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2384 |
สิ้นพระชนม์ | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2449 (65 ปี) |
พระบุตร | 25 องค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | วรรัตน์ |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเกต |
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2384 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2449) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกต ขณะประสูติ พระบิดายังไม่ได้บวรราชาภิเษก ในราชสำนักนิยมออกพระนามว่า พระองค์โตใหญ่ ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ 2424
พระองค์เป็นต้นราชสกุล “วรรัตน์” มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้
- หม่อมเจ้าสุวรรณ วรรัตน์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้ากันแสง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดเสด็จ พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าขจรประวัติวงศ์ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 39 มกราคม พ.ศ. 2471)
- หม่อมเจ้าหญิงเจิม วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2411 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
- หม่อมเจ้าเปลื้อง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าฟุ้ง วรรัตน์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2470)
- หม่อมเจ้าเนื่อง วรรัตน์ (ประสูติเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2472 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2474)
- หม่อมเจ้าเฟื่อง วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419)
- หม่อมเจ้าหญิงวิไลยลักษณ์ วรรัตน์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงโฉมวิไลลักษณ์ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2455 พระราชทานเพลิง ณ วัดสังเวชวิศยาราม)
- หม่อมเจ้าขาว วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2419)
- หม่อมเจ้าหญิงสร้อย วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงพวงสร้อยเพชร (ประสูติ พ.ศ. 2421 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2456)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2423)
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2423)
- หม่อมเจ้าจันทร์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าแสงจันทร์ (ประสูติ พ.ศ. 2429)
- หม่อมเจ้าอำไพพรรณ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2430)
- หม่อมเจ้าหญิงรัษฐา วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2430)
- หม่อมเจ้าหญิงวรพันธุ์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงวรพันธุ์ศรีรัตนา (ประสูติ พ.ศ. 2432)
- หม่อมเจ้าหญิงฉัตรมณี วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2434 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2470 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
- หม่อมเจ้าหญิงขำ วรรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2435)
- หม่อมเจ้าหญิงบัวพันธ์ วรรัตน์
- หม่อมเจ้าหญิงเริ่ม วรรัตน์
- หม่อมเจ้าวร วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าศักดิ์บวร บางแห่งก็ว่าชื่อหม่อมเจ้าบวรศักดิ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2440)
- หม่อมเจ้าสุบิน วรรัตน์
- หม่อมเจ้าอัมพร วรรัตน์
- หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ วรรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงรัตนวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย 28 มี.ค. 2444 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการจัดสร้างตำหนักพระราชทานแก่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ ซึ่งเป็นพระบรมวงษานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพระราชวังบวร ที่วังเดิม ณ ตำบลหลัง ถนนราชดำเนินกลาง เข้ามาทางริมคลองวัดบุญศิริ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2445 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีเสด็จขึ้นตำหนักใหม่ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 เป็นศุภฤกษ์ และในเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปปรับทับ ณ ตำหนักใหม่ พระราชทานน้ำสังข์ และทรงเจิมพระราชทานพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์[1]
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2449 สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุด ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานนำหลวงสรงพระศพ ทรงสวมพระชฎาพระราชทานตามพระเกียรติยศแล้ว เจ้าพนักงานได้เชิญพระลองขึ้นประดิษฐานบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศไม้สิบสอง มีเครื่องสูง 3 ชั้น แวดล้อมตามพระเกียรติยศ[2] และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 พร้อมกับพระศพพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2443 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[6]
- พ.ศ. 2443 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การขึ้นตำหนักใหม่ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/037/725_1.PDF
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/014/270.PDF
- ↑ การพระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พระศพกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ กับ พระศพกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/047/1274.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์
- ↑ "บัญชีพระราชทานเครื่องราชอิศริยยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-15.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-10-06.