เจริญชัย หินเธาว์
เจริญชัย หินเธาว์ | |
---|---|
เจริญชัย ในปี พ.ศ. 2567 | |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – 30 กันยายน พ.ศ. 2567[a] | |
ก่อนหน้า | พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ |
ถัดไป | พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[b] | |
ก่อนหน้า | พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2507 อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | โสมทิพย์ เกริกมธุกร (สมรส 2540) |
บุตร | 2 คน |
ศิษย์เก่า |
|
ทรัพย์สินสุทธิ | 19 ล้านบาท (พ.ศ. 2567)[1] |
ชื่อเล่น | ต่อ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2567 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | |
พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2507) เป็นทหารบกชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ตุลาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก, แม่ทัพภาคที่ 1 และสมาชิกวุฒิสภา
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. เจริญชัย มีชื่อเล่นว่า "ต่อ" เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี บิดาเป็นทหารปืนใหญ่อยู่ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
การศึกษา
[แก้]พล.อ. เจริญชัย จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 23, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 34, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่น 74 และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา[2]
รับราชการ
[แก้]พล.อ. เจริญชัย เคยรับราชการเป็นผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ก่อนจะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ได้ขึ้นเป็น
- ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์[3]
- รองแม่ทัพภาคที่ 1
- แม่ทัพน้อยที่ 1[4]
- แม่ทัพภาคที่ 1[5]
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- รองผู้บัญชาการทหารบก
ก่อนที่ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566 พล.อ. เจริญชัย จะได้รับเลือกจากสภากลาโหมให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่สืบต่อจาก พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้[6] กระทั่งวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ. เจริญชัยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกอย่างเป็นทางการ[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2559 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, ยลโฉมทรัพย์สิน 49 ล้าน! ‘พล.อ.เจริญชัย’ พ้นผบ.ทบ. ‘ภริยา’ สะสมทองแท่ง 2.4 ล้าน, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568
- ↑ ประวัติ "เจริญชัย หินเธาว์" ผบ.ทบ. คนล่าสุด
- ↑ ‘บูรพาพยัคฆ์’ เปลี่ยนมือ – พิธีส่งมอบตำแหน่ง ผบ.พล.ร.2 รอ.
- ↑ ฟ้าผ่า ทบ. โยก “ทรงวิทย์” พ้นคุมกำลัง สะเทือน เส้นทางสู่ ผบ.ทบ. จับตา “เจริญชัย” ทายาท “บิ๊กตู่” “ชาติชาย-แอร์บูล” ลุ้น
- ↑ ‘พล.ท.เจริญชัย’รับไม้ต่อแม่ทัพภาคที่ 1 ลั่นเทิดทูนพระมหากษัตริย์ด้วยชีวิต
- ↑ นายกฯ เคาะโผทหาร "เจริญชัย"ผงาด ผบ.ทบ. "ทรงวิทย์" ผบ.ทสส. ทร.ยังไม่ลงตัว
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๗, ๕ มกราคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๓๕, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๘, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
- ↑ Royal Thai Army Chief Receives Prestigious Military Award