ข้ามไปเนื้อหา

จิราพร สินธุไพร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิราพร สินธุไพร
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567
(11 เดือน 2 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
พิชิต ชื่นบาน (2567)
จักรพงษ์ แสงมณี (2567)
ชูศักดิ์ ศิรินิล (2567-ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าพวงเพ็ชร ชุนละเอียด
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 5 เดือน 2 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(6 ปี 5 วัน)
ก่อนหน้าเอมอร สินธุไพร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กันยายน พ.ศ. 2530 (37 ปี)
อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2561–ปัจจุบัน)
บุพการี
ญาติชญาภา สินธุไพร
(น้องสาว)
ชื่อเล่นน้ำ

จิราพร สินธุไพร (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2530) ชื่อเล่น นํ้า ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาการในตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด กรรมการในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล อดีตกรรมการในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

ประวัติ

[แก้]

จิราพรเกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2530 ที่ตำบลหนองทัพไทย อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด[1] เป็นบุตรสาวคนโตของนิสิต สินธุไพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน และอดีตแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ กับเอมอร สินธุไพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย มีน้องสาวหนึ่งคน ชญาภา สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 8 จังหวัดร้อยเอ็ด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย

การศึกษา

[แก้]

จิราพรสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จากนั้นสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์บัณฑิต ที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนบินไปจบการศึกษาในระดับปริญญาโทเป็นใบที่สอง Master of Science (International Business) University of Reading เกียรตินิยมอันดับ 2 ที่ประเทศอังกฤษ เเละปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กิจกรรมทางสังคม

[แก้]

ประวัติการทำงาน

[แก้]

การเมือง

[แก้]

ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกโดยมีคะแนนสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยคะแนน 58,842 คะแนน

ต่อมาวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เซ็นแต่งตั้ง นางสาวจิราพร สินธุไพร เป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมกับ นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร, รท.หญิง สุณิสา ทิวากรดำรง, นายชุมสาย ศรียาภัย และ นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ [2] นอกจากนี้ นางสาวจิราพร ยังรั้งตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาความคุ้มค่าและประสิทธิผลการส่งเสริมการลงทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องข้าว เลขานุการกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยคิวบา กรรมการกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยเอสโตเนีย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จิราพรลงสมัครและชนะการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเสียง 61,288 คะแนน คิดเป็นสัดส่วน 69.35% เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ที่ได้สัดส่วนคะแนนในเขตเลือกตั้งสูงที่สุดในประเทศ ต่อมาเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 โดยเป็นรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในคณะรัฐมนตรีนี้เมื่อแรกดำรงตำแหน่ง[3] ทั้งนี้ เธอได้รับมอบหมายให้ดูแลกรมประชาสัมพันธ์, บมจ.อสมท, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ[4] และเธอยังคงดำรงตำแหน่งเดิมในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร โดยได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล 4 หน่วยงานเดิม และเพิ่มอีก 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.)[5] โดยในรัฐบาลนี้จิราพรมีบทบาทสำคัญในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการดำเนินคดีดิไอคอนกรุ๊ป[6] ทำให้ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "จิราพอ(ล)"[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

จิราพร สินธุไพร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ฐานข้อมูล ผู้แทนราษฎร
  2. เพื่อไทย ตั้ง 5 รองโฆษกพรรค “น้ำ ดาวสภา-ฟิล์ม รัฐภูมิ-หมวดเจี๊ยบ” นั่งแท่น
  3. รวมทรัพย์สิน รัฐมนตรีใหม่ จิราพร สินธุไพร โสดอายุน้อยที่สุด
  4. "'นายกฯ' ตั้ง 6 รองนายกฯ รักษาการแทนพร้อมแบ่งงาน 3 รมว.สร". กรุงเทพธุรกิจ. 7 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เปิดคำสั่งทางการแบ่งงาน 6 รองนายกรัฐมนตรี รัฐบาลแพทองธาร". โพสต์ทูเดย์. 17 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "จิราพรเตรียมหารือ DSI-ปปง.-ตร. ตรวจสอบดิไอคอนกรุ๊ป กำชับ สคบ. รับเรื่องร้องเรียนประชาชน หากพบมีความผิดยึดโล่รางวัลที่เคยมอบ". เดอะสแตนดาร์ด. 10 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2024.
  7. "เปิดฉายารัฐบาล ปี67 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' นายกฯ 'แพทองโพย'". กรุงเทพธุรกิจ. 23 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จิราพร สินธุไพร ถัดไป
จักรพงษ์ แสงมณี
ตนเอง

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1
(27 เมษายน พ.ศ. 2567 — 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
ชูศักดิ์ ศิรินิล
ตนเอง