เทพ โชตินุชิต
เทพ โชตินุชิต | |
---|---|
![]() เทพ ก่อน พ.ศ. 2500 | |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 11 กันยายน พ.ศ. 2481 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | ขุนพิเคราะห์คดี (อินทร์ อินตะนัย) |
ถัดไป | เตียง ศิริขันธ์ |
เขตเลือกตั้ง | ศรีษะเกษ |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | ประเทือง ธรรมสาลี |
ถัดไป | เทพ โชตินุชิต |
เขตเลือกตั้ง | ศรีษะเกษ |
ดำรงตำแหน่ง 26 กุมภาพันธ์ – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | เทพ โชตินุชิต |
ถัดไป | เทพ โชตินุชิต |
เขตเลือกตั้ง | ศรีษะเกษ |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | เทพ โชตินุชิต |
ถัดไป | นิสิต เวทย์ศิริยานันท์ |
เขตเลือกตั้ง | ศรีษะเกษ |
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2491 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 (9 เดือน 8 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ถัดไป | ชวลิต อภัยวงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เทพ โชตินุชิต 27 มกราคม พ.ศ. 2450 ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 เมษายน พ.ศ. 2517 (67 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เวลา 2.30 นาที |
สาเหตุการเสียชีวิต | โรคตับแข็ง |
สัญชาติ | ไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2491–2498) เศรษฐกร (2498–2501) แนวร่วม-เศรษฐกร (2511–2514) |
คู่สมรส | สนอง โชตินุชิต |
บุตร | 1.เผ่าเทพ โชตินุชิต 2.สุทิน โชตินุชิต 3.พันธุ์เทพ โชตินุชิต 4.พงษ์เทพ โชตินุชิต 5.เทพี โชตินุชิต 6.เทวี โชตินุชิต 7.สหเทพ โชตินุชิต 8.อรเทพ โชตินุชิต 9.อนุเทพ โชตินุชิต 10.สุเทพ โชตินุชิต |
บุพการี |
|
การศึกษา | คณะนิติศาสตร์ |
ศิษย์เก่า | 1.โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | ผู้พิพากษา ทนายความ |
วิชาชีพ | นิติศาสตร์ |
เป็นที่รู้จักจาก | 1.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 3 สมัย 2.นักคิดสังคมนิยม |
ผลงานเด่น | การอพยพชาวนครพนมในกรณีพิพาทอินโดจีน |
ชื่อเล่น | เทพ |
เทพ โชตินุชิต เป็นอดีตนักการเมือง นักกฎหมาย และทนายความชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2501) และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514)
ประวัติ
[แก้]เทพ โชตินุชิต เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2450 ที่ ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม คุณพ่อคือขุนสุภมาตรา (เทียบ โชตินุชิต) มีคุณแม่คือ นางศุภมาตรา (แว่นแก้ว) เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 8 คน
การศึกษา
[แก้]เมื่อเริ่มโตขึ้นนาย เทพได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่ออายุ 15 ปี จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ ธรรมศาสตรบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)
อาชีพก่อนทำงานการเมือง
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2475 ประกอบอาชีพทนายความและผู้พิพากษาก่อนที่จะได้สมรสกับสนอง โชตินุชิต ที่จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนที่จะไปเป็นผู้พิพากษาฝึกหัดที่จังหวัดขุขันธ์
อาชีพส.ส.
[แก้]และได้ลาออกมาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และได้รับการเลือกตั้งต่อมาอีก 3 สมัย[2][3] เมื่อเกิดการยุบสภาได้กลับไปเป็นผู้พิพากษาอีกครั้งที่จังหวัดนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ได้สมันคร ส.ส. ศรีษะเกษ ในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่แพ้เพียงแค่ 2 คะแนนใน พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีลอย[4] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2493[5] เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2492 นับเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 2 ต่อจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นอกจากแล้วยังเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491[6] เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคเศรษฐกร[7] และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ต่อมาได้รับคำเชิญไปเยือนประเทศจีน หลังจากที่กลับมาได้ถูกจบในข้อหาคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. 2500 ได้มีการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม จึงสามารถออกจากคุกได้ เมื่อเกิดการเลือกตั้ง ใน เดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2500 จนได้รับชัยชนะ และครังที่ 2 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 อีกด้วย
เทพ โชตินุชิต ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้แก่สังคมมาโดยตลอด เคยถูกจับและเคยช่วยเหลือหลายบุคคลมาแล้ว อาทิ ทองใบ ทองเปาด์ ซึ่งก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2516 ไม่นาน เทพ โชตินุชิต ได้ร่วมกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 3 คน คือ พิชัย รัตตกุล ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และชวลิต อภัยวงศ์ ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้มาลงชื่อทั้งหมด 100 คนด้วย
อนิจกรรม
[แก้]เทพ โชตินุชิต ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 67 ปี[8] จากโรคตับแข็ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2492 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
- พ.ศ. 2484 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[10]
- พ.ศ. 2485 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
- ↑ ประกาศประธานวุฒิสภา เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ ประวัติ จากชมรมวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2450
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2517
- บุคคลจากอำเภอกำแพงแสน
- นักกฎหมายชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- วิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- นักการเมืองจากจังหวัดนครปฐม
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเศรษฐกร
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516