ข้ามไปเนื้อหา

จำนงค์ โพธิสาโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนงค์ โพธิสาโร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467
อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 เมษายน พ.ศ. 2558 (91 ปี)
เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[1]

จำนงค์ โพธิสาโร เป็นอดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์สมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[2] ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ของไทย และเป็น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[3] กับ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ รวม 7 สมัย และได้รับโปรดเกล้าให้ก่อนเข้าสู่อาชีพนักการเมือง นายจำนงค์ โพธิสาโร เป็นอธิบดีกรมป่าไม้[4] ที่สามารถอยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ซึ่งมีอธิบดีกรมป่าไม้น้อยคนที่จะได้เกษียณในตำแหน่งนี้ และเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[5]

ประวัติ

[แก้]

นายจำนงค์ โพธิสาโร เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467[6] ที่ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายบำรุงและนางชิบ โพธิสาโร

จำนงค์ สมรสกับนางนวลนารถ โพธิสาโร มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ รศ.ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, นางนงนารถ โพธิสาโร, นางนงน้อย โพธิสาโร, นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร (ถึงแก่อนิจกรรม) และนายธนโรจน์ โพธิสาโร และ

จำนงค์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 สิริอายุรวม 91 ปี[7] และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

การศึกษา

[แก้]

จากพื้นเพที่เป็นคนจังหวัดสงขลา บ้านควนหิน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวัยเยาว์ นายจำนงค์ โพธิสาโร จึงได้ศึกษาที่โรงเรียนใกล้บ้านจนสำเร็จประโยคประถมศึกษา ต่อจากนั้นจึงไปศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จนสำเร็จประโยคมัธยมศึกษาโดยมารดา นางชิบ โพธิสาโร ได้นำไปฝากไว้กับพระเดชพระคุณ พระราชรัตนโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดสงขลา และอดีตเจ้าอาวาสวัดแหลมทราย ต่อมาได้ไปศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์แม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์

เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวนศาสตร์ แพร่ หรือโรงเรียนการป่าไม้แพร่ เมื่อได้ระดับอนุปริญญาบัตรวนศาสตร์ ได้แต่งงานมีครอบครัว มีโอกาสเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบ และศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโท ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำหรับระดับปริญญาเอกนั้น ได้รับปริญญาเทคโนโลยีการเกษตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพืชศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

การรับราชการ

[แก้]

เมื่อจบการศึกษาในระดับอนุปริญญาวนศาสตร์ ได้เป็นลูกจ้างของกรมป่าไม้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้สอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ชั้นตรี ดำรงตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี ประจำป่าไม้เขตสุราษฎร์ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2494

ข้าราชการชั้นตรี-โท

[แก้]

ในช่วงเป็นข้าราชการชั้นตรี ได้รับมอบหมายให้ไปประจำปฏิบัติงานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และรักษาการในตำแหน่งป่าไม้จังหวัดสุราษฎร์ธานีในเวลาต่อมา

ข้าราชการชั้นเอก

[แก้]

ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นเอก ตำแหน่งหน้าที่เป็นป่าไม้จังหวัดเอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และย้ายไปเป็นป่าไม้จังหวัดเอก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดหนองคายในเวลาต่อมา

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ได้ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขตเอก สำนักงานป่าไม้แพร่ และในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบชั้น (ตรี โท เอก) มาเป็นระดับ (ซี) จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นป่าไม้เขต พนักงานป่าไม้ 6 เขตแพร่

ข้าราชการระดับ7-8

[แก้]

จำนงค์ โพธิสาโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นป่าไม้เขต (พนักงานป่าไม้ 7) สำนักงานป่าไม้เขตแพร่ ระดับ 7 ในปี พ.ศ. 2519 เป็นผู้อำนวยการกอง กองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ (พนักงานป่าไม้ 7) และเป็นผู้อำนวยการกองจัดการที่ดิน (เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7) และเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2522 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองจัดการที่ดิน (เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8)

ข้าราชการระดับ9-10

[แก้]

จำนงค์ โพธิสาโร ได้รับการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2524 เป็นรองอธิบดี (นักบริหาร 9)กรมป่าไม้ และเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2526 จนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2528

งานการเมือง

[แก้]

เมื่อเกษียณจากอายุราชการ นายจำนงค์ โพธิสาโร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดศรีสะเกษ และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 7 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 3 (อำเภอกันทรลักษ์ ขุนหาญ และกิ่งอำเภอศรีรัตนะ) สังกัดพรรครวมไทย (ต่อมาพรรครวมไทยได้รวมเข้าเป็นพรรคเอกภาพ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]

ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และสมัยสุดท้ายเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย[9]

ตำแหน่งทางการเมือง

[แก้]
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2533-วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปองพล อดิเรกสาร) พ.ศ. 2541
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประภัตร โพธสุธน) พ.ศ. 2543
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล) พ.ศ. 2545

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

[แก้]

นายจำนงค์ โพธิสาโร เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ ชอบช่วยเหลือสังคม และทำงานบุญงานกุศลเป็นประจำ ดังจะเห็นได้จากการได้รับความไว้วางใจในการทำหน้าที่สำคัญในสังคมในอดีต อาทิเช่น

  • เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิจำนงค์ โพธิสาโร[10] จังหวัดศรีสะเกษ
  • เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เป็นประธานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ กรุงเทพมหานคร
  • เป็นประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่ง นายกสโมสรไลออนส์ จังหวัดแพร่2521-2522 ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าปฏิบัติการทางจิตวิทยา จังหวัดหนองคาย2514-2518 หรือแม้แต่ในตำแหน่งนายสถานีวิทยุของ กอปค. จังหวัดหนองคาย

ประกาศเกียรติคุณ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-04.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-27.
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-27.
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 6ก วันที่ 24 มกราคม 2535
  6. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-04.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  10. http://www.thailand-culture.org/index.php?option=com_comprofiler&task=userProfile&user=18116&Itemid=10[ลิงก์เสีย]
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๙๖ ง ฉยับพิเศษ หน้า ๓๔๑, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๔๖, ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสตรจารย์ ดร.บรรเจิด คติการ เก็บถาวร 2012-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน