พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล | |
---|---|
พรทิวา ในปี พ.ศ. 2552 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 232 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ไชยา สะสมทรัพย์ |
ถัดไป | กิตติรัตน์ ณ ระนอง |
เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (3 ปี 223 วัน) | |
ก่อนหน้า | มงคล ศรีอ่อน |
ถัดไป | ศักดิ์สยาม ชิดชอบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2504 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2556) เพื่อไทย (2556–2561) |
คู่สมรส | อนุชา นาคาศัย (2531–2557) |
พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล หรือ พรทิวา นาคาศัย[1][2]หรือ พรทิวา นิพาริน[3] (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2504) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[4] และ อดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ[5]
ประวัติ
[แก้]พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เป็นบุตรสาวของนายสุรินทร์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เจ้าของสถานบริการอาบอบนวด "โพไซดอน" ย่านรัชดาฯ และนางบุญเรือน ศักดิ์ศิริเวทย์กุล นางพรทิวามีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คนดังนี้
- นางพรทิพย์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
- นายสมชาย ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
- นายขจรศักดิ์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
- นายสุชัย ศักดิ์ศิริเวทย์กุล
พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล สมรสแล้วกับ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท พรรคไทยรักไทย ปัจจุบันได้หย่ากับอนุชา นาคาศัย แล้ว[1]
การศึกษา
[แก้]พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล สำเร็จการศึกษาม.ปลายจาก โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปริญญาตรี 2 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ร่วมรุ่นกับ สาทิตย์ วงศ์หนองเตย) เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2525 และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จบการศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
การทำงาน
[แก้]พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล เคยทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก่อนจะเข้ามาทำงานการเมืองติดตามมากับนายอนุชา นาคาศัย เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชัยนาท[6] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท เป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นช่วงที่กระทรวงพาณิชย์ ต้องมีภารกิจในการแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มราคาแพง และปัญหาสินค้าอื่นๆ ขึ้นราคา รวมถึงการถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน และนายวัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
- ↑ ประวัติ พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ "รายนามคณะกรรมการสมาคมฯ วาระปี 2562 - 2564 สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-10-22.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "มาร์ค"สั่ง"สุเทพ"ให้คุมปาก"วัชระ เพชรทอง" หลัง"พรทิวา"โวยใน ครม.อย่าพูดจาให้เสียหาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๙, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
ก่อนหน้า | พรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายไชยา สะสมทรัพย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยนาท
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.