ข้ามไปเนื้อหา

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกนัฏ พร้อมพันธุ์
เอกนัฏ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(5 เดือน 20 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 9 เดือน 9 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 5 เดือน 5 วัน)
ถัดไปสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา
เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 6 เดือน 20 วัน)
ก่อนหน้าธนดี หงษ์รัตนอุทัย
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2529 (39 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2554–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
กปปส. (2556-2557)
ทรัพย์สินสุทธิ1,192 ล้านบาท (พ.ศ. 2566)

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น ขิง เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2529 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ พรเทพ เตชะไพบูลย์ สามีคนปัจจุบันของปภัสรา เตชะไพบูลย์ กับ ศรีสกุล พร้อมพันธุ์[1] ภริยาคนปัจจุบันของ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีพี่ชาย สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ (โขง) และน้องสาว ธีราภา พร้อมพันธุ์ (เข็ม) และยังมีน้องสาวต่างมารดา ดิสรยา เตชะไพบูลย์ (เหนือ)[2]

การศึกษา

[แก้]

การเมือง

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เข้าสู่แวดวงการเมืองด้วยการเป็นเลขานุการส่วนตัวของสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นบิดาบุญธรรม โดยในเหตุการณ์การก่อความไม่สงบของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เอกนัฏได้อยู่ในเหตุการณ์และเคียงข้างสุเทพตลอด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช ที่พัทยา[3]

ในการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เอกนัฏได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร เขต 29 (เขตทวีวัฒนา เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองค้างพลู)) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเขตเดียวกันกับ วัชระ เพชรทอง ส.ส. เดิมของพรรค ที่ต้องเปลี่ยนไปลงแบบระบบบัญชีรายชื่อแทน[4] และได้รับเลือกตั้งไปด้วยคะแนน 37,932 คะแนน [5] โดยถือเป็น ส.ส.ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเลือกตั้งมาในครั้งนี้ด้วยอายุเพียง 25 ปี[6]และยังเป็น ส.ส. ชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดหลังฉลองกรุงฯ 200 ปี

ในช่วงเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงพื้นที่ดูเรื่องน้ำท่วมในเขตหนองแขม และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็น ส.ส. พื้นที่ อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่อย่างแข็งขัน จนได้รับคำชื่นชมอย่างมาก [7]

กระทั่งวันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เอกนัฏได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์โดยให้มีผลทันที โดยมีกระแสข่าวว่า เอกนัฏเตรียมย้ายไปสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ[8]

ในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ของพรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เอกนัฏได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยมีพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นหัวหน้าพรรค

ต่อมาวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 เอกนัฏได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายเอกนัฏเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ถือว่าเป็นแกนนำที่มีอายุน้อยที่สุด โดยมีบทบาทเป็นโฆษกของการชุมนุมชี้แจงข่าวสารและทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ต่อสื่อมวลชนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[9]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยเอกนัฏเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 9[10] [11]

หลังเหตุการณ์ครั้งนี้ นายเอกนัฏได้เข้าอุปสมบทที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และเข้าจำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี เช่นเดียวกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ด้วย [12]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นบุคคลที่ชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลและฟุตซอล และเป็นบุคคลที่สะสมแว่นตาต่าง ๆ หลายชิ้น จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว [13][14]

และในช่วงการชุมนุม พ.ศ. 2556–2557 ได้เกิดกระแสจับคู่กับ น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร อีกหนึ่งในแนวร่วมคนสำคัญ ที่เป็นสีสันและเรื่องเล่าขานในเชิงสบาย ๆ กันในหมู่ผู้ชุมนุม[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอกนัฏ พร้อมพันะ[ลิงก์เสีย]
  2. "สวยเก่ง! "เหนือ ดิสรยา" ลูกสาว "กบ ปภัสรา" คว้าปริญญาตรี นิเทศจุฬาฯ พร้อมลุยงานในวงการ". pptvhd36.com. 2023-10-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ คนรุ่นใหม่ใกล้ตัว สุเทพ เทือกสุบรรณเก็บถาวร 2009-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
  4. ปชป.ปัดกทม.แตกเละยันลูกคนมีเงินต้องดี จากเดลินิวส์
  5. เปิดผลการเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพ ปชป. 23 เพื่อไทย 10 ที่นั่ง จากมติชนเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. ส.ส.ใหม่ทยอยรับหนังสือรับรอง รายงานตัวต่อสภาฯ[ลิงก์เสีย] จากครอบครัวข่าว 3[ลิงก์เสีย]
  7. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 2". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ขิง เอกนัฏ" อดีตแกนนำกปปส. โพสต์อำลาปชป.จับตาร่วม"รวมไทยสร้างชาติ"
  9. หน้า 054-057, 'ขิง-เอกนัฏ'ทายาทการเมือง'ลุงกำนัน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine 97: มกราคม 2557
  10. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ""เอกณัฏ" บวชวัดชลประทานฯ แกนนำ กปปส.- อดีต ส.ส.แห่ร่วม". ผู้จัดการออนไลน์. 21 มิถุนายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 1". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "บ้านนี้สีฟ้า 13 05 56 เบรก 3". ยูทิวบ์. 13 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "เขาเป็น? คำตอบจาก จม.หวาน เปิดใจที่แรก 'จิตภัสร์' แฟน ' เอกนัฏ' คู่จิ้นการเมือง". Thairath. 22 มิ.ย. 2558.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]