ข้ามไปเนื้อหา

พิชัย นริพทะพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิชัย นริพทะพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 63 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยนภินทร ศรีสรรพางค์
สุชาติ ชมกลิ่น
ก่อนหน้าภูมิธรรม เวชยชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555
(0 ปี 162 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ถัดไปอารักษ์ ชลธาร์นนท์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
(0 ปี 38 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
รัฐมนตรีว่าการสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ก่อนหน้าระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
ถัดไปประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
เพื่อไทย (2554–2561, 2562–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสธันยธรณ์ นริพทะพันธุ์
ลายมือชื่อ

พิชัย นริพทะพันธุ์ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น แดง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน)[1] รองประธานยุทธศาสตร์และการเมืองของพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และเป็นหัวหน้าคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

[แก้]

พิชัย เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของนายรณชัย กับนางสุวรรณี นริพทะพันธุ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ และระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ (MBA) จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางธัญยธรณ์ นริพทะพันธุ์ เป็นทันตแพทย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ พชร นริพทะพันธุ์, สาริศฐ์ นริพทะพันธุ์ และนนท์นริฐ นริพทะพันธุ์

การทำงาน

[แก้]

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอัญมณีและการส่งออก เจ้าของบริษัท เจมส์ควอลิตี้ จิวเวอร์รี่ จำกัด ต่อมาได้เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเป็นผู้สนับสนุนการเงินให้กับกลุ่มขอนแก่น พรรคเพื่อแผ่นดิน ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ต่อมาจึงได้หันมาสนับสนุนพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยแทน[2]

ในปี พ.ศ. 2551 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช[3] แทนร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี แกนนำกลุ่มโคราช ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โดยถูกจัดลำดับในบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. เป็นลำดับที่ 124[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง นายพิชัยได้เป็นทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย โดยได้ทำการดีเบตระหว่างโครงการรับจำนาข้าวตันละ 15,000บาท กับโครงการรับประกันราคาช้าวกับนายวรงค์ เดชกิจวิกลม ผ่านรายการ"เจาะข่าวเด่น"ว่าการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทยนั้นอาจจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงและเป็นไปได้ว่าจะขึ้นมากกว่าราคาจำนำ ด้วยวิธีการเข้าไปควบคุมการตลาด ช่วงหนึ่งของการดีเบตนายพิชัยได้กล่าวไว้ว่า หลักการของเพื่อไทยคือความเป็นไปได้ที่จะทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น และเสนอให้ใช้ระบบไอทีในการควบคุมการจำนำข้าว เพื่อป้องกันการทุจริต โดยใช้เครดิตการ์ดเกษตรกรเป็นสมาร์ทการ์ด[5] แต่การดำเนินการดังกล่าวต้องแจกบัตรเครดิตเกษตรให้กับชาวนาหลายล้านคน ซึ่งต้องใช้เวลา [6]

ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[7] ปลายปี พ.ศ. 2554 ระหว่างดำรงตำแหน่งได้ดำเนินการวางนโยบายและแผนพลังงานให้กับประเทศในทุกด้าน และในช่วงน้ำท่วมใหญ่ในปลายปี 2554 ได้ให้รัฐบาลใช้กระทรวงพลังงานที่ตั้งบนตึกเอนโก้เป็นศูนย์ป้องกันและช่วยเหลือน้ำท่วมหลังจากที่ที่ตั้งเดิมในสนามบินดอนเมืองถูกน้ำท่วมจนกระทั่งน้ำลด ผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาลได้ร่วมกันตั้งฉายาให้นายพิชัยว่า "ไอเดียกระฉอก" เพราะตัวนายพิชัยเองมักจะมีไอเดียใหม่ๆ มานำเสนอต่อสังคมเสมอ แต่ไอเดียเหล่านั้นมักจะไม่ค่อยได้รับการตอบสนองหรือไม่ก็ไม่ค่อยจะเป็นไปตามที่นายพิชัยคาดการณ์ในขณะนั้น ต่อมานายพิชัย ถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[8] ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นคณะทำงานเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 9 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[9]

ในปี 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  2. เสี่ยจิวเวอร์รี่ "พิชัย" บริจาค"เพื่อไทย"5 ล้าน "
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. เครดิตการ์ดเกษตรกรเป็นสมาร์ทการ์ด
  6. "ตัวเลขพิศวง 'ขาดทุนยับ' จำนำข้าว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-19. สืบค้นเมื่อ 2014-02-09.
  7. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  9. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า พิชัย นริพทะพันธุ์ ถัดไป
ภูมิธรรม เวชยชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 255418 มกราคม พ.ศ. 2555)
อารักษ์ ชลธาร์นนท์
สมหมาย ภาษี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.57)
(2 สิงหาคม พ.ศ. 25519 กันยายน พ.ศ. 2551)
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี