ข้ามไปเนื้อหา

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะรัฐมนตรีแพทองธาร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 64 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
วันแต่งตั้ง3 กันยายน 2567 (2567-09-03)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร (พท.)
สมัยของนายกรัฐมนตรี1
รองนายกรัฐมนตรี
จำนวนรัฐมนตรี35
พรรคร่วมรัฐบาล
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
323 / 495 (65%)
พรรคฝ่ายค้าน
ผู้นำฝ่ายค้านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
ประวัติ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 (3 กันยายน พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน) เป็นคณะรัฐมนตรีไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 สิ้นสุดลงทั้งคณะ จึงต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนเศรษฐา และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ทั้งหมด

พรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสมและรวบรวมเสียงพรรคการเมือง 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ในรอบที่ 2 และเสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค บุตรสาวของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน

แต่หลังจากนั้น ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกลุ่มของตน แยกตัวออกจากพรรคพลังประชารัฐมาเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นพรรคเพื่อไทยได้ขับพรรคพลังประชารัฐเดิมซึ่งเป็นกลุ่มของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ออกจากคณะรัฐมนตรี และเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล รวมถึงยังมีการถอนตัวของพรรคเสรีรวมไทยอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 เมื่อวันที่ 3 กันยายน โดยแพทองธารได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 6 กันยายน และได้เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจเมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน

ประวัติ

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567[1] ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เชิญแกนนำของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาหารือเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ ณ บ้านจันทร์ส่องหล้า ในเวลา 17:00 น. ของวันเดียวกัน[2] ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อ ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[3]

อย่างไรก็ตาม วันรุ่งขึ้น (15 สิงหาคม) ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องปัญหาสุขภาพของชัยเกษม จึงมีมติให้การสนับสนุน แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรค ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[4] ซึ่งครอบครัวชินวัตรรับฟังความต้องการของ สส. และยินยอมให้พรรคเสนอชื่อแพทองธาร[5] โดยที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยออกเป็นมติในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[6]

ต่อมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่ประชุมรักษาการคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ที่มีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบคำสั่งเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่[7] และในการแถลงข่าวการประชุมตอนท้ายได้ระบุว่า หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่าจะมีการแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ที่อาคารชินวัตร 3[8]

เวลา 17:15 น. ของวันเดียวกัน แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้นำแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ในรอบที่ 2 มาร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารชินวัตร 3 โดยสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรค ได้แถลงว่า พรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคมีจุดยืนตรงกับมติของกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยว่าจะเสนอชื่อแพทองธารให้สภาผู้แทนราษฎรให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น[9] ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาชน และ พรรคประชาธิปัตย์ มีมติในวันเดียวกันเป็นเอกฉันท์ว่าจะไม่ลงมติในเชิงสนับสนุนการเสนอชื่อของพรรคร่วมรัฐบาลเดิมในครั้งนี้[10] โดยพรรคประชาธิปัตย์มีมติงดออกเสียง[11][12][13] ขณะที่พรรคประชาชนมีข้อสรุปในวันรุ่งขึ้น (16 สิงหาคม) ว่าจะลงมติไม่เห็นชอบ[14]

ต่อมาในวันที่ 16 สิงหาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[15] ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แพทองธาร ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และไม่มาประชุม 2 คน คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[16]

จากผลการลงมติดังกล่าว ทำให้แพทองธารกลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วยวัยเพียง 37 ปี 11 เดือน และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก[17] ต่อมาในวันเดียวกันช่วงเวลา 17.00 น. วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เปิดเผยว่าได้ลงนามส่งมอบรายชื่อให้กับเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเรียบร้อยแล้ว[18] โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม[19] และมีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการในวันดังกล่าว ณ อาคารวอยซ์ สเปซ (วอยซ์ทีวีเดิม) ที่ทำการพรรคเพื่อไทยแห่งใหม่[20]

ก่อนการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

คุณสมบัติของรัฐมนตรี

สืบเนื่องจากการแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ เศรษฐา ทวีสิน ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[1] จึงทำให้การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในครั้งนี้มีความเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากต้องเป็นบุคคลที่ไร้มลทิน ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ดังนั้นจึงพบว่า มีผู้ประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจำนวน 4 ราย ที่อาจไม่ผ่านเรื่องคุณสมบัติ มีดังนี้[21]

ความขัดแย้งระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มธรรมนัส

ความขัดแย้งระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับกลุ่มของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการส่งรายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีแพทองธาร ปรากฎว่าไม่มีชื่อของร้อยเอกธรรมนัส และตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมของธรรมนัสถูกแทนที่ด้วยชื่อของสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในคณะรัฐมนตรีเศรษฐา โดยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 เอชดี[23]

ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม ธรรมนัสได้แถลงต่อสื่อมวลชน ประกาศแยกทางกับพลเอกประวิตร[24] จากนั้นมีการรวบรวม สส.พรรคพลังประชารัฐที่เข้าร่วมกับร้อยเอกธรรมนัส 29 คน และ สส.จากพรรคเล็กอีก 5 คน เพื่อยื่นชื่อรัฐมนตรีในสัดส่วนของตนในวันถัดไป[25] แต่ในวันถัดมา (21 สิงหาคม) พรรคพลังประชารัฐได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า พลเอกประวิตร ในฐานะหัวหน้าพรรค ได้ส่งรายชื่อบุคคลที่พรรคเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของพรรคจำนวน 4 คนให้ตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว ซึ่งเป็น 4 คนที่เคยดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีเศรษฐาเดิมทั้งหมด[26]

ความเคลื่อนไหวจากพรรคประชาธิปัตย์

หลังจากที่แพทองธารได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว มีกระแสข่าวว่าในช่วงกลางดึกวันที่ 20 สิงหาคม ร้อยเอกธรรมนัส พร้อมด้วย ไผ่ ลิกค์ สส. กำแพงเพชร และ อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. ฉะเชิงเทรา ได้เดินทางไปยังบ้านพักส่วนตัวของเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเดินดีลเจรจาทาบทามให้มาเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย โดยก่อนหน้านั้นมีรายงานว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เจรจาดีลกับแกนนำพรรคเพื่อไทยขอตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของพลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ของสันติ พร้อมพัฒน์[27]

ปรากฏว่ามีผู้สนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์และกูรูทางการเมืองบางส่วนไม่เห็นด้วยกับดีลนี้ รวมถึงยังมีเสียงคัดค้านจาก สส. อีก 4 คน ซึ่งในจำนวนนี้ เป็น สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคถึง 3 คน คือ ชวน หลีกภัย, บัญญัติ บรรทัดฐาน และ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส่วนอีก 1 คนที่คัดค้านคือ สรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 1 และบุตรของนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[28] แต่หลังจากนั้นมีรายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งชื่อของ เฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค และ เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค ให้พรรคเพื่อไทยได้ดำเนินการคัดกรองคุณสมบัติ[29]

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เดชอิศม์ระบุว่าเฉลิมชัยเข้าไปเจรจากับพรรคเพื่อไทย และได้ข้อสรุปว่า พรรคเพื่อไทยเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลแล้ว รอเพียงหนังสือเทียบเชิญอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ตนยังหารือนอกรอบกับ สส. และกรรมการบริการพรรคแล้ว พบว่า 90% เห็นควรเข้าร่วมรัฐบาล[30] แต่เฉลิมชัยปฏิเสธในวันเดียวกัน โดยระบุว่าเดชอิศม์เข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากในการประชุมกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ตนได้ขอให้พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ รองหัวหน้าพรรคถอนมติในการมอบหมายให้ตนเจรจาเข้าร่วมรัฐบาลออกไปแล้ว จึงไม่เคยคุยกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย[31]

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อส่งหนังสือเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ โดยให้เหตุผลว่ามีอุดมการณ์ร่วมกัน[32] จากนั้น เดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นตัวแทนรับมอบหนังสือเทียบเชิญดังกล่าว ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความรักความเข้าใจ และการให้อภัยกับพรรคเพื่อไทย ส่วนการพูดคุยกับผู้สนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ต้องเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีที่แล้วกับวันนี้ สถานการณ์ทางการเมืองไม่เหมือนกัน ปัญหาของประเทศก็ไม่เหมือนกัน รวมถึงแนวคิดในการพัฒนาประเทศก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ทั้งสองพรรคเข้ากันได้และเดินหน้าไปด้วยกันถือเป็นสิ่งที่ดีงาม[33]

ในที่สุด ในวันถัดมา (29 สิงหาคม) ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีมติให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ด้วยมติเห็นชอบ 43 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง พร้อมทั้งเสนอชื่อเฉลิมชัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเดชอิศม์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามกระแสข่าวก่อนหน้า[34]

ขับออก และถอนตัว

วันที่ 27 สิงหาคม คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากคณะรัฐมนตรี โดยมีความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่สามารถที่จะร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐได้ สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า สมาชิกพรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่งมีความไม่สบายใจถึงพฤติกรรมของพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ก็ไม่ได้มาร่วมลงมติ และเป็นที่ทราบกันดีว่าบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นใคร ซึ่งเป็นสิ่งที่ สส.พรรคเพื่อไทยสะท้อนในที่ประชุม[35]

และในวันเดียวกันนั้น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ประกาศขอถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล กล่าวว่าพรรคเพื่อไทยไม่ให้ความสำคัญกับพรรคเล็ก และจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 สิงหาคม[36]

การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและการปฏิบัติหน้าที่

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 จำนวน 35 คน โดยมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันถัดมา (4 กันยายน)[37]

ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ พรรคเพื่อไทยได้สัดส่วนผู้ดำรงตำแหน่งมากที่สุด จำนวน 16 คน 21 ตำแหน่ง, รองลงมาเป็นพรรคภูมิใจไทย 8 คน 9 ตำแหน่ง, พรรครวมไทยสร้างชาติ 4 คน 5 ตำแหน่ง, กลุ่มธรรมนัส 3 คน 3 ตำแหน่ง ซึ่งดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมด แบ่งสัดส่วนเป็นพรรคเพื่อไทย 1 คน 1 ตำแหน่ง และพรรคกล้าธรรมอีก 2 คน 2 ตำแหน่ง, พรรคประชาธิปัตย์ 2 คน 2 ตำแหน่ง, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคประชาชาติ พรรคละ 1 คน 1 ตำแหน่ง โดยทั้งหมดนี้รวมโควตาบุคคลภายนอกแล้ว ในจำนวนนี้มีผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมต่อเนื่องจากคณะรัฐมนตรีชุดก่อนหน้า จำนวน 24 คน

รัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดและมากที่สุดในคณะรัฐมนตรีชุดนี้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งคู่ คือ จิราพร สินธุไพร เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุด (37 ปี) และ ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรัฐมนตรีที่อายุมากที่สุด (76 ปี)[38] และมีผู้ดำรงตำแหน่งในวาระแรกเริ่มคณะรัฐมนตรีที่เป็นสตรีจำนวน 8 คน ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[39]

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 18:24 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 64 เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่[40] ทั้งนี้ แม้ว่าทรงศักดิ์ ทองศรี และซาบีดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย จะตรวจพบว่ามีอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[41] แต่นัทรียา ทวีวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ได้ระบุว่า คณะรัฐมนตรีจะได้เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณพร้อมกันทุกคน[42] และในเวลาต่อมา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดของทั้งทรงศักดิ์และซาบีดา ได้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งสองถวายสัตย์ปฏิญาณตนพร้อมคณะรัฐมนตรีได้ แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้นระหว่างเข้าเฝ้าฯ[43]

หลังถวายสัตย์ปฏิญาณและเข้ารับหน้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ในวันถัดมา (7 กันยายน) คณะรัฐมนตรีได้ถ่ายรูปหมู่หน้าทำเนียบรัฐบาล และจัดการประชุมวาระพิเศษ[44] จากนั้นได้เข้าแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อเริ่มต้นการบริหารรัฐกิจเมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน[45] และเริ่มประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน[46]

รายชื่อรัฐมนตรี

รายชื่อคณะรัฐมนตรี มีดังต่อไปนี้[47]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง แต่งตั้งเพิ่ม เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
รัฐมนตรีลอย ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น ออกจากตำแหน่ง
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * แพทองธาร ชินวัตร 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
รองนายกรัฐมนตรี 1 ภูมิธรรม เวชยชัย 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
2 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
3 อนุทิน ชาญวีรกูล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
4 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน รวมไทยสร้างชาติ
5 พิชัย ชุณหวชิร 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
6 ประเสริฐ จันทรรวงทอง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี 7 ชูศักดิ์ ศิรินิล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
8 จิราพร สินธุไพร 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
กลาโหม * ภูมิธรรม เวชยชัย 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
9 พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน อิสระ[b]
การคลัง * พิชัย ชุณหวชิร 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
10 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
11 เผ่าภูมิ โรจนสกุล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
การต่างประเทศ 12 มาริษ เสงี่ยมพงษ์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
การท่องเที่ยวและกีฬา 13 สรวงศ์ เทียนทอง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 14 วราวุธ ศิลปอาชา 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ชาติไทยพัฒนา
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 15 ศุภมาส อิศรภักดี 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
เกษตรและสหกรณ์ 16 นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน กล้าธรรม[c]
17 อิทธิ ศิริลัทธยากร 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน กล้าธรรม[48][c]
18 อัครา พรหมเผ่า 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย[c]
คมนาคม * สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
19 มนพร เจริญศรี 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
20 สุรพงษ์ ปิยะโชติ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม * ประเสริฐ จันทรรวงทอง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 21 เฉลิมชัย ศรีอ่อน 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ประชาธิปัตย์
พลังงาน * พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน รวมไทยสร้างชาติ
พาณิชย์ 22 พิชัย นริพทะพันธุ์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
23 นภินทร ศรีสรรพางค์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
24 สุชาติ ชมกลิ่น 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน รวมไทยสร้างชาติ
มหาดไทย * อนุทิน ชาญวีรกูล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
25 ทรงศักดิ์ ทองศรี 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
26 ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย[d]
27 ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
ยุติธรรม 28 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ประชาชาติ
แรงงาน 29 พิพัฒน์ รัชกิจประการ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
วัฒนธรรม 30 สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
ศึกษาธิการ 31 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
32 สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ภูมิใจไทย
สาธารณสุข 33 สมศักดิ์ เทพสุทิน 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน เพื่อไทย
34 เดชอิศม์ ขาวทอง 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน ประชาธิปัตย์
อุตสาหกรรม 35 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน รวมไทยสร้างชาติ

หมายเหตุ:

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 สส.ถูกขับออกจากพรรค
  2. ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรครวมไทยสร้างชาติ
  3. 3.0 3.1 3.2 ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาของกลุ่มธรรมนัส
  4. ถูกทาบทามเข้ามาในโควตาบุคคลภายนอกของพรรคภูมิใจไทย

คณะรัฐมนตรีแพทองธาร 1/1

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี

นโยบาย

ตามคำแถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา รัฐบาลแพทองธารมีนโยบายเร่งด่วนจำนวน 10 ข้อ ดังนี้[49]

  1. ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
  2. ดูแลและส่งเสริมพร้อมกับปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี
  3. ออกมาตรการเพื่อลดราคาค่าพลังงานและสาธารณูปโภค
  4. สร้างรายได้ใหม่ของรัฐด้วยการนำเศรษฐกิจนอกระบบภาษีและเศรษฐกิจใต้ดินเข้าสู่ระบบภาษี
  5. เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรกพร้อมผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
  6. ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย
  7. ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยปรับโครงสร้างการตรวจลงตราทั้งหมดของประเทศ รวมถึงเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งรวมถึงสถานบันเทิงครบวงจร
  8. แก้ปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาดและครบวงจร
  9. แก้ปัญหาอาชญากรรม, อาชญากรรมออนไลน์, มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ
  10. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ข้อเท็จจริง

ข้อวิจารณ์

"ครม.สืบสันดาน"

คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับฉายาจากนักการเมืองคนหนึ่งว่าเป็น "ครม.สืบสันดาน" โดยใช้ชื่อล้อมาจากซีรีส์ "สืบสันดาน" จาก เน็ตฟลิกซ์ เนื่องจากรัฐมนตรีจำนวนหนึ่งนั้น เป็นบุคคลในครอบครัวของนักการเมืองที่ส่งไม้ต่อให้รับตำแหน่งแทนตนเอง โดย แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวว่า ใช้คำรุนแรงเกินไป ต่อมา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้แสดงความคิดเห็นในทางเดียวกัน โดยมองว่าเป็นวาทกรรมทางการเมือง และหากมองเป็นศัพท์ทางกฎหมาย ถือว่า เป็นคำที่มีการระบุในกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งวาทกรรมเหล่านี้ควรจะหมดไปได้แล้ว[50]

แต่ก็มีคอลัมนิสต์แย้งว่า คำว่าสืบสันดานนั้นไม่ได้มีความหยาบคายใดๆ เลย ในภาษากฎหมายถูกมองว่าเป็นคำทั่วไป โดยอ้างอิงถึงมาตรา 1629 วรรค 2 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยลำดับสิทธิในการรับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้สืบสันดาน
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ย่าตายาย
  6. ลุงป้าน้าอา

โดยผู้สืบสันดาน จึงหมายถึง ผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกเป็นลำดับที่หนึ่ง[51]

คดีตากใบ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "'เศรษฐา' ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ชะตาเศรษฐาพ้นเก้าอี้นายกฯ ทันที". เดอะ แมทเทอร์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ""ทักษิณ" เรียกแกนนำพรรคร่วม เข้าหารือด่วนบ้านจันทร์ส่องหล้า". พีพีทีวี. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "'เพื่อไทย' เคาะชื่อ 'ชัยเกษม' ชิงเก้าอี้นายกฯ วงคุยบ้านจันทร์ส่องหล้าพรรคร่วมมาครบ". ผู้จัดการออนไลน์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "มติสส.เพื่อไทย ดัน แพทองธาร โหวตชิงนายกรัฐมนตรี 16 ส.ค." โพสต์ทูเดย์. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "สะพัด จ่อชงชื่อ "อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร" ชิงนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "วงสส.เพื่อไทยชงชื่อ"อุ๊งอิ๊ง"ให้สภาโหวตเป็นนายกฯคนใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "ครม.รับทราบ นัดประชุมสภาฯ โหวตนายกฯคนใหม่ 16 ส.ค." มติชน. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร เย็นนี้รู้เรื่อง". ข่าวช่อง 7HD. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "มติเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Thailand, BECi Corporation Ltd. "ฝ่ายค้านแสดงจุดยืน ไม่เห็นด้วย-งดออกเสียง เลือกนายกฯ 16 ส.ค.นี้". CH3Plus.com.
  11. "มติเป็นเอกฉันท์ ปชป. "งดออกเสียง" โหวตนายกฯ". Thai PBS.
  12. "มติเอกฉันท์! พรรคประชาธิปัตย์ "งดออกเสียง" เลือกนายกฯ". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-15.
  13. สุวรรณทิชากร, พรทิพย์. "สส. 'ประชาธิปัตย์'มติเอกฉันท์ 'งดออกเสียง'โหวตนายกฯ". เดลินิวส์.
  14. ""ณัฐพงษ์" ย้ำ พรรคประชาชน ลงมติ ไม่เห็นชอบ "แพทองธาร" นั่งนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "เริ่มแล้ว! สภาโหวต นายกฯ คนที่ 31 สรวงศ์ ชงชื่อ 'อิ๊งค์ แพทองธาร' แบบไร้คู่แข่ง". ข่าวสด. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "มติสภา 319:145 โหวตหนุน แพทองธาร ชินวัตร นั่งนายกฯ คนที่ 31". บีบีซีไทย. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" ว่าที่นายกฯ หญิงอายุน้อยเป็นอันดับ 3 ของโลก". พีพีทีวี. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. ""วันนอร์" เผย นำชื่อ "แพทองธาร" ขึ้นทูลเกล้าฯ แล้ว รอการโปรดเกล้าฯ". ไทยรัฐ. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "แพทองธาร ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". คมชัดลึก. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ""แพทองธาร" รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". ไทยรัฐ. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "กางชื่อ 4 แคนดิเดต รมต. ลุ้นฝ่าด่านคุณสมบัติ-จริยธรรม". pptvhd36.com. 2024-08-20.
  22. treesukee, natthakan. "พลิกประวัติ 'ชาดา' เจ้าพ่อลุ่มน้ำสะแกกรัง ผู้เปิดวาทะเด็ด 'ยิงคนหมิ่นสถาบันแล้วไม่ติดคุก'". เดลินิวส์.
  23. ""ธรรมนัส" หลุด ครม.ใหม่ "สันติ" นั่ง รมว.เกษตรฯ แทน". Thai PBS.
  24. ""ธรรมนัส" เปิดใจแยกทาง "ประวิตร" นำ 29 สส.พลังประชารัฐถอย". Thai PBS.
  25. เปิดชื่อ ส.ส.ก๊วนธรรมนัส หลังแถลงโว 34 เสียงแน่นปึ้ก มีภรรยา ‘สันติ’ อยู่ด้วย
  26. ""พปชร." ออกแถลงการณ์ แจง "ประวิตร" ส่งชื่อ 4 รมต. ให้ นายกฯแล้ว". ไทยพีบีเอส. 21 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "สะพัด!ธรรมนัส ยกก๊วนย่องพบ "เฉลิมชัย" ดีลปชป.ร่วมเพื่อไทย". ไทยพีบีเอส. 21 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
  28. ""ประชาธิปัตย์" หากเข้าร่วมรัฐบาล ใครได้ใครเสีย". ไทยพีบีเอส. 22 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
  29. "ประชาธิปัตย์ ตอบรับร่วมรัฐบาล ส่ง 2 ชื่อ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี". ข่าวสด. 24 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.
  30. "'เดชอิศม์'เผย'ปชป.'รับร่วมรัฐบาล'เพื่อไทย' อ้างก้าวข้ามความขัดแย้ง". เดลินิวส์. 26 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. "'เฉลิมชัย' ยันยังไม่ได้เทียบเชิญจาก พท. แจง 'เดชอิศม์' เข้าใจผิดปมที่ประชุมพรรคมอบหารือร่วมรัฐบาล". มติชน. 27 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. "เปิดเทียบเชิญ'เพื่อไทย'ชวน'ประชาธิปัตย์'ร่วมรัฐบาล ยกมีอุดมการณ์ร่วมกัน". แนวหน้า. 28 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2024.
  33. "เพื่อไทยส่งเทียบเชิญ ปชป. ร่วมรัฐบาล สรวงศ์ขอปล่อยผ่านอดีต ทิ้งความขัดแย้ง". THE STANDARD. 2024-08-28.
  34. "ตามคาด! ประชาธิปัตย์ มีมติ 43 ต่อ 4 เข้าร่วมรัฐบาลเพื่อไทย". ข่าวสด. 29 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. ด่วน มติ สส.เพื่อไทย ชง กก.บห. ขับพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
  36. ""เสรีพิศุทธ์" ยันถอนตัวจากเพื่อไทยจริง อุบตอบเหตุผลบอกรอศุกร์นี้". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2024-08-27.
  37. "โปรดเกล้าฯ ครม.แพทองธาร แล้ว "ภูมิธรรม" รองนายกฯ ควบ กห. , "เฉลิมชัย" รมว.ทส". ไทยพีบีเอส. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  38. "เทียบอายุ "ครม.แพทองธาร" 36 คน ส่วนผสมพลัง อาวุโส – คนรุ่นใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 5 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  39. "ส่องพัฒนาการ รัฐมนตรีหญิง ในการเมืองไทย ก่อนถึงวันสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ร่วมรัฐบาล 8 คน". มติชน. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำ คณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่". หน่วยราชการในพระองค์. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  41. "ด่วน! 2 รัฐมนตรีภูมิใจไทย ทรงศักดิ์-ซาบีดา ติดโควิด ไม่ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ". มติชน. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  42. "รองเลขาธิการนายกฯ เผย 6 ก.ย. ครม.แพทองธาร เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ พร้อมกันทุกคน". โพสต์ทูเดย์. 6 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  43. ในหลวงพระราชทานกำลังใจ ครม.แพทองธาร ให้ทำงานอย่างเต็มที่
  44. "แพทองธาร เรียกประชุม ครม. นัดพิเศษ 7 ก.ย. อนุมัติร่างแถลงนโยบาย". ประชาชาติธุรกิจ. 4 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2024.
  45. ""มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี" คำแถลงนโยบายของ แพทองธาร ที่ถูก สส.-สว. ย้อนตั้งคำถามกับรัฐบาล". บีบีซีไทย. 12 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  46. "เปิดแฟ้ม ครม.นัดแรก 'แพทองธาร' เคาะแจกเงินหมื่น 14.5 ล้านคน - ต่ออายุ VAT 7%". กรุงเทพธุรกิจ. 17 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนพิเศษ 240 ง วันที่ 4 กันยายน 2567
  48. ""ธรรมนัส" เผยถอยจากการเมืองมีความสุข ไร้ชื่อใน ครม."อิ๊งค์ 1" แจง "นฤมล-อิทธิ" ส่งชื่อตัวเองในนามพรรคกล้าธรรม". mgronline.com. 2024-09-03.
  49. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗
  50. "นายกฯ ชี้ใช้คำแรงไป "ครม.สืบสันดาน" ย้ำตั้งใจทำงาน". Thai PBS.
  51. "ความรู้เรื่อง "สืบสันดาน" จาก "ม.1629" ถึง "Netflix"". www.thairath.co.th. 2024-09-09.

แหล่งข้อมูลอื่น