ข้ามไปเนื้อหา

วิรุฬ เตชะไพบูลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิรุฬ เตชะไพบูลย์
ผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน 2555 – 22 พฤษภาคม 2557
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม 2554 – 28 ตุลาคม 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 5 สิงหาคม 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าอรนุช โอสถานนท์
ถัดไปบรรยิน ตั้งภากรณ์
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสกัญญา เตชะไพบูลย์

วิรุฬ เตชะไพบูลย์ อดีตผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย

ประวัติ

[แก้]

นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายอุเทน เตชะไพบูลย์ กับนางจำเรียง เตชะไพบูลย์ ด้านครอบครัวสมรสกับนางกัญญา เตชะไพบูลย์ (พงศ์ไพโรจน์) มีบุตร 5 คน (เสียชีวิตแล้ว 2 คน)

การศึกษา

[แก้]

นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์สตีเว่น ฮ่องกง จากนั้นเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัย HAWTHONE รัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา และเข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตร "ป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 2" วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และหลักสูตร "CORPORATE FINANCE" สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนั้นยังได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการตลาด) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย

งานการเมือง

[แก้]

นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ (15 มี.ค. 2534 - 21 มี.ค. 2535) และสมาชิกวุฒิสภา (22 มี.ค. 2535 - 21 มี.ค. 2539) หลังจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค จนกระทั่งได้รับตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (กระแส ชนะวงศ์) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (วราเทพ รัตนากร) และกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 วิรุฬ เตชะไพบูลย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 5 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย พร้อมกับสมาชิกคนอื่นๆ ของพรรคพลังประชาชน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] ต่อมาถูกปรับออกจาตำแหน่งรัฐมนตรีในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 29[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ประสบการณ์ด้านงานสังคมและการกุศล

[แก้]
  • อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ากรุงเทพคริสเตียน
  • อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัญชัญ ศรีราชา
  • กรรมการฝ่ายบริหาร มูลนิธิสมเด็จพระมหิตราธิเบศ อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกพระบรมราชชนก
  • กรรมการฝ่ายหาทุน มูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กรรมการฝ่ายหาทุน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
  • ประธานหารายได้ มูลนิธิสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุช
  • กรรมการ มูลนิธิสวนหลวง ร.9
  • กรรมการบริหาร มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • ประธานกรรมการทุนธนชาต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
  2. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗