ข้ามไปเนื้อหา

เผ่าภูมิ โรจนสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
เผ่าภูมิ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 192 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการพิชัย ชุณหวชิร
ก่อนหน้าสันติ พร้อมพัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 (41 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ บอสตัน
มหาวิทยาลัยอิลลินอย ชิคาโก
ชื่อเล่นอ๊อฟ

เผ่าภูมิ โรจนสกุล (เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ผลักดันโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ประวัติ

[แก้]

เผ่าภูมิ โรจนสกุล เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทใบที่ 1 จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ บอสตัน, ปริญญาโทใบที่ 2 และปริญญาเอก ด้านจากคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอย ชิคาโก[1]

การทำงานในพรรค

[แก้]

หลังจบการศึกษาจากต่างประเทศ เผ่าภูมิได้เข้ารับราชการที่สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ[2] แต่พบปัญหาในการผลักดันนโยบายภายในองค์กรจึงลาออกในเวลาต่อมา ก่อนจะมีบุคคลชักชวนให้เข้ามาทำงานการเมืองในพรรคเพื่อไทย โดยเข้ามาเป็นทีมงานของภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรค ตั้งแต่สมัยเป็นเลขาธิการพรรค และในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 ได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรค[4] และดำรงตำแหน่งนี้ติดต่อกัน 4 สมัย (พ.ศ. 2561[4], พ.ศ. 2562[5], พ.ศ. 2563[6] และ พ.ศ. 2564[7]) ก่อนจะขยับขึ้นมาดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคในปี พ.ศ. 2566[8]

ตำแหน่งในพรรค

[แก้]
  • รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
  • รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (4 สมัย)
  • ผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พรรคเพื่อไทย
  • กรรมการและเลขานุการกรรมการนโยบายและวิชาการพรรคเพื่อไทย
  • ประธานกรรมการนโยบายด้านแรงงานพรรคเพื่อไทย
  • เลขาธิการคณะกรรมการพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน (ฝ่ายค้านเพื่อประชาชน)
  • กรรมการ เลขานุการ และโฆษกคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย

การทำงานทางการเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เผ่าภูมิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 33[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เผ่าภูมิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีกครั้ง โดยขยับไปอยู่ในลำดับที่ 89[10] ซึ่งก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งเผ่าภูมิดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เศรษฐา ทวีสิน)[11]

เผ่าภูมิเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ผลักดัน สื่อสาร และประชาสัมพันธ์นโยบายต่าง ๆ ของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน รวมถึงเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เผ่าภูมิเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประวัติ "เผ่าภูมิ โรจนสกุล" มือปั้น "เงินดิจิทัล 10,000" พรรคเพื่อไทย". ฐานเศรษฐกิจ. 26 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เผ่าภูมิ โรจนสกุล โฆษกคณะกรรมการเศรษฐกิจ พท". มติชน. 13 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""เผ่าภูมิ" ลูกหม้อ "ภูมิธรรม" "เพื่อไทย" ผนึกกำลัง…ฝ่ามรสุมขาลง". ประชาชาติธุรกิจ. 27 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "ไม่พลิก "เพื่อไทย" เลือก "วิโรจน์" นั่งหัวหน้าพรรค". พีพีทีวี. 28 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023. ส่วนรองเลขาธิการพรรค นายดนุพร ปุณณกันต์, น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์, นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล และ นาย ธวัชชัย สุทธิบงกช{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "'สมพงษ์' หัวหน้า-'อนุดิษฐ์'มือขวาเจ๊หน่อย นั่งเลขาฯพท". โพสต์ทูเดย์. 12 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023. ขณะที่ รองเลขาธิการพรรค 7 คน 1. น.ส.ละออง ติยะไพรัช 2. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ 3. นายสุรชาติ เทียนทอง 4. น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล 5. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล 6. นายจตุพร เจริญเชื้อ 7. นายศราวุธ เพชรพนมพร{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "พรรคเพื่อไทย : สมพงษ์ ยังรั้งเก้าอี้หัวหน้าพรรค ชูภารกิจเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ". บีบีซีไทย. 1 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023. รองเลขาธิการพรรค ทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม, นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์, ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล, นายคุณากร ปรีชาชนะชัย, นายนพ ชีวานันท์{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "พรรคเพื่อไทย เมื่อหัวหน้าใหม่ชื่อชลน่าน ศรีแก้ว และลูกสาวทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษา". บีบีซีไทย. 28 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023. 13. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". ทีเอ็นเอ็น 16. 27 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2023. 7. นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองหัวหน้าพรรค{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". พีพีทีวี. 4 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "เศรษฐา ตั้ง "เผ่าภูมิ" นั่งเก้าอี้เลขานุการ รมว.คลัง". ประชาชาติธุรกิจ. 15 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ครม. "เศรษฐา 1/1"". บีบีซีไทย. 28 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เผ่าภูมิ โรจนสกุล ถัดไป
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
ตนเอง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 64) สมัยที่ 2

(3 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สันติ พร้อมพัฒน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ครม. 63) สมัยที่ 1

(27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
ตนเอง