ขวัญชัย สาราคำ
ขวัญชัย สาราคำ (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2495) หรือที่รู้จักกันในนาม ขวัญชัย ไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร และหนึ่งในแนวร่วมคนสำคัญของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง มีบทบาทปกป้องรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลอื่นๆ ที่มีแนวทางเดียวกันมากมาย
ประวัติ
[แก้]ขวัญชัย สาราคำ (เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ 2495) เป็นชาวอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ทำรายการวิทยุที่เสียงสามยอด จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นผู้จัดรายการวิทยุเชียร์นักร้องลูกทุ่งโดยเฉพาะสายัณห์ สัญญา เคยปั้นนักร้องลูกทุ่ง “ลูกนก - พรพนา” ให้ดังขึ้นมาผ่านรายการวิทยุ เป็นอดีตเจ้าของสถานีวิทยุ “คลื่นมวลชนสัมพันธ์” เป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้อื่น กรณีที่นายขวัญชัย ได้นำมวลชนไปรื้อเวทีและทำร้ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง ที่เปิดปราศรัยที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างการชุมนุมเมื่อ พ.ศ. 2551 ศาลฏีกาออกหมายจับในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[1]และเตรียมริบเงินประกัน 5 แสนบาท เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเนื่องจากจำเลยอยู่ระหว่างหลบหนีคดีไม่มาฟังคำพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี[2]เขา มอบตัวในวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 และติดคุกตามคำสั่งศาล
ก่อนหน้านั้นในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ขวัญชัยได้แต่งชุดคล้ายเครื่องแบบตำรวจยืนอยู่หน้าอาคารรัฐสภา ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วถึงความเหมาะสม โดยในวันนั้น ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับประชาชนจำนวนมากได้เดินเท้าเข้าสู่อาคารรัฐสภาจากเวทีเดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง ที่แยกอุรุพงษ์ เพื่อพิจารณาเรื่องพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติ ที่รัฐบาลได้นำเสนอด้วย[3]
ในวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2565 เขาเปิดเผยว่าจะนำ นายกรวีร์ สาราคำ สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี ผู้เป็นบุตรลงเลือกครั้งในนามของพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศาลออกหมายจับ'ขวัญชัย'คดีหนองประจักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2016-05-26.
- ↑ ขวัญชัย 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดีรุมตี พธม.อุดรฯ ปี 51 ไทยรัฐ
- ↑ "ผิดกม.? "ขวัญชัย"สวมชุด ตร.ปราบจลาจล? ป้วนเปี้ยนหน้าสภาฯแต่ไม่ถูกจับ!". ประชาชาติธุรกิจ. August 7, 2013. สืบค้นเมื่อ August 13, 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- นักจัดรายการวิทยุ
- นักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเดิมบางนางบวช
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ช.
- นักโทษของประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์