ข้ามไปเนื้อหา

ทอม ดันดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอม ดันดี
เกิด20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
พันทิวา ภูมิประเทศ
อาชีพนักร้อง นักแสดง นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2555
สังกัดดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์
MOM
เอเคมิวสิค
สมาร์ทบอมบ์
กระบือแอนด์โค
เจเคมิวสิค

ทอม ดันดี เดิมมีชื่อจริงว่า พันทิวา ภูมิประเทศ ปัจจุบันใช้ชื่อว่า ธานัท ธนวัชรนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 เป็นชาวอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักร้องวงซูซู ที่มีผลงานเพลงที่รู้จักอยู่หลายเพลง เช่น บ่อสร้างกางจ้อง, มยุรา, สาวมอญแม่เหมย โดยชื่อทอม ดันดี นั้นตั้งมาจาก ทอม โจนส์ ในภาพยนตร์เรื่อง อินเดียน่าโจนส์ และ เมืองดันดีเมืองหนึ่งในแคว้นสกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักร [1]

ทอม ดันดี จบการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส มีผลงานอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ชื่อ อย่างนี้ต้องตีเข่า มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ในสังกัดดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ทอม ดันดียังมีธุรกิจของตนเองมากมาย เช่น เสื้อยืด ร้านขายต้นไม้ รวมถึงเคยเปิดร้านเนื้อย่างเกาหลีในชื่อ "ทอม ดันดี หมูย่างเกาหลี" และทอม ดันดี ยังได้พยามยามผลิตถุงยางอนามัยของตนเองออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อ ถุงยางอนามัยทอม ดันดี รุ่น ลีลาวดี โดยนำรายได้จากการจำหน่ายมอบให้กับวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ แต่สินค้าของเขาไม่ผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ท้วงติงว่าชื่อสินค้าเป็นการใช้คำแบบสองแง่สองง่าม ยั่วยุให้ผู้บริโภคใช้สินค้าเกินความจำเป็น ส่งผลให้เด็กและเยาวชนที่มีวุฒิภาวะที่ไม่เพียงพอหมกมุ่นอยู่กับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทางกระทรวงวัฒนธรรมจึงทำหนังสือให้ อย. ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นชื่อสินค้า[1]

เขาติดคุกฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยศาลอาญาลงโทษจำคุก 7 ปี 6 เดือน นายทอม ดันดี ไม่ขออุทธรณ์ คดีจึงจบที่ศาลชั้นต้นในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[2] และนอกจากนี้เขายังโดนดำเนินคดีฐานขัดคำสั่งที่ 53/2557 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกด้วย[3][4]

ปัจจุบัน ทอม ดันดี ได้ออกจากเรือนจำมาใช้ชีวิตในโลกภายนอกอย่างปกติแล้ว

สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]
ร่วมกับวงซูซู
  • สู่ความหวังใหม่ (พ.ศ. 2532)
  • ปะการังไปไหน (พ.ศ. 2533)
  • คนเค็มเลคาว (พ.ศ. 2534)
  • ราชาสามช่า (พ.ศ. 2535)
อัลบั้มภาคปกติ
  • อย่างนี้ต้องตีเข่า (มิถุนายน พ.ศ. 2536) : ดี - เดย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์
  • มันเขี้ยว (พ.ศ. 2537) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • เหรียญกล้าหาญ (พ.ศ. 2538) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • ลายเสือ (พ.ศ. 2540) : MOM
  • นกเขานาตู (พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) : กระบือแอนด์โค
  • ไอ้ทิดอุ้มบุญ (พฤษภาคม พ.ศ. 2544) : กระบือแอนด์โค
  • สุวรรณภูมิ (พ.ศ. 2548) : เจเคมิวสิค
บันทึกการแสดงสด
  • รายการ 7 สีคอนเสิร์ต ปีใหม่ 2534 (29 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
  • กระทิง คอนเสิร์ต เขาใหญ่ มหกรรมคอนเสิร์ตเพลงเพื่อชีวิต (23 ตุลาคม พ.ศ. 2536)
  • ลำตะคอง มหกรรมดนตรีเพื่อชีวิต ครั้งประวัติศาสตร์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2537)
  • ปากมอม (พ.ศ. 2539)
  • ปิดทองหลังพระ (รับเชิญ) (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539)
  • มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม พ.ศ. 2542)
  • ปากมอม 2 (พ.ศ. 2542)
  • มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 8 (8 ตุลาคม พ.ศ. 2545)
  • มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 9 (5 เมษายน พ.ศ. 2546)
  • มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 3 (21 มกราคม พ.ศ. 2550)
  • มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 11 (26 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
  • กระทิงดนตรีเพื่อสัตว์ป่าคู่พงไพร ครั้งที่ 5 (24 มกราคม พ.ศ. 2552)
  • หอบรักมาห่มป่า (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
  • รำลึก แดง คาราวาน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2564)
  • ขึ้นหิ้ง (12 มีนาคม พ.ศ. 2565)
  • FOR GUITAR KING (5 กันยายน พ.ศ. 2565)
  • Road For Life (4 มีนาคม พ.ศ. 2566)
  • Pazan Music Festival ตอน ริมเล (24 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
  • Rock Legends by ลุยเล (14 ตุลาคม พ.ศ. 2566)
  • หนึ่งใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
  • ล้อมวงมันส์ ปากน้ำปราณบุรี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
  • Perfect Music Festival 2023 (9 ธันวาคม พ.ศ. 2566)
  • เพื่อชีวิต เพื่อกวนอู (20 มกราคม พ.ศ. 2567)
  • Road For Life 2 (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)
  • บันทึกตำนานบทเพลงเพื่อชีวิต ลงมือทำคือคำตอบ 2 (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)
  • H Two มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต (28 มีนาคม พ.ศ. 2567)
  • AYUTTHAYA Music Festival 2024 (2 เมษายน พ.ศ. 2567)
  • PAZAN MUSIC FESTIVAL ตอน ริมเล 2 (1 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
  • ทอม ดันดี 35 ปีแล้วนะที่รักจ๋า (21 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
  • คาราบาว และ ผองเพื่อน รีเทิร์น เพื่อชีวิต เพื่อคนกีฬา (รับเชิญ) (3 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
  • เพื่อนไม่ทิ้งกัน เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ สีเผือก คนด่านเกวียน (26 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
  • ให้มันส์หรอย (20 กันยายน พ.ศ. 2567)
  • Pazan Music Festival ตอน RIMHAT ริมหาดใหญ่ (21 กันยายน พ.ศ. 2567)
  • Rock Legends by ลุยเล 2 (12 ตุลาคม พ.ศ. 2567)
  • Lui Khao Music Festival (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
  • คอ-ฅน-90 Perfect Music Festival 2024 (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
อัลบั้มรวมเพลง
  • 12 ที 36 ช่า (พ.ศ. 2540) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • 12 ชีวิต หัวใจสัมพันธ์ (กรกฏาคม พ.ศ. 2540) : กระบือแอนด์โค
  • นักรักเดือน ๑๒ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • 13 ชีวัน มันกว่ากันเยอะ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
  • 12 คน 12 แบบ ทั้งแสบทั้งคัน (สิงหาคม พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
  • ฅ.ฅนดนตรี ชุด 1 (พ.ศ. 2541) : MOM
  • สายใยชีวิต (พ.ศ. 2542) : กระบือแอนด์โค
  • น้ำเอ๋ยน้ำใจ (กันยายน พ.ศ. 2543) : กระบือแอนด์โค
  • อัลบั้มรวมเพลงที่ดีที่สุด ของ TOM DUNDEE (ตุลาคม พ.ศ. 2548) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • 3 ช่าแดนซ์ (มีนาคม พ.ศ. 2549) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • 3 ช่า สามัคคี (เมษายน พ.ศ. 2553) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • เพื่อชีวิตฮิตเกินร้อย ชุด 3 (พ.ศ. 2556) : โรส มีเดีย
  • เพื่อชีวิตฮิตเบรคแตก ชุด 2 (พ.ศ. 2556) : โรส มีเดีย
  • รวมบทเพลงเพื่อชีวิต ค.ควาย 3 ช่า รำวง (มิถุนายน พ.ศ. 2558) : เอ็มดีเทป
  • ขั้นเทพ (ธันวาคม พ.ศ. 2558) : วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์
  • เพื่อชีวิตฮิตเต็มร้อย ชุด 1 (มีนาคม พ.ศ. 2561) : โรส มีเดีย
อัลบั้มพิเศษ
  • จังหวะไทย - จังหวะ ๑ (พ.ศ. 2537) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • น้ำใจพี่น้องผองเพื่อน ประเสริฐ จันดำ (พ.ศ. 2538) : IPS
  • จังหวะไทย - จังหวะ ๓ (พ.ศ. 2539) : วอร์เนอร์ มิวสิค ประเทศไทย
  • เพลงดังอาจารย์ดี (มีนาคม พ.ศ. 2540) : กระบือแอนด์โค
  • 3 ตะกร้าลีลาไทย - ร่วมกับ สามารถ พยัคฆ์อรุณ , กษาปณ์ จำปาดิบ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2541) : กระบือแอนด์โค
  • สี่เหน่อผู้ยิ่งใหญ่ (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543) - ร่วมกับ ชาย เมืองสิงห์ , จรัล มโนเพ็ชร , สามารถ พยัคฆ์อรุณ : อิน - เค มิวสิค

ศิลปินรับเชิญ

[แก้]
  • เป็นนักร้องรับเชิญในเพลง ขุนเขา สายธาร ในอัลบั้ม ซานตานอย ของ น้อย ซานตานอย (พ.ศ. 2534)
  • เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม รักและหวัง ของ หงา คาราวาน & สุนทรี เวชานนท์ (พ.ศ. 2535)
  • เป็นนักร้องประสานเสียงในอัลบั้ม อี๊ด เป็น อี๊ด คิดเอาเอง ของ ยิ่งยง โอภากุล (พ.ศ. 2535)

ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆ

[แก้]
  • เพลง ไฟเพื่อชีวิต ร้องโดย มงคล อุทก (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินเพื่อชีวิต โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ น้าทอม เพลงนี้แต่งเนื้อร้องโดย พยัพ คำพันธุ์ และบรรจุอยู่ในอัลบั้ม "เสี่ยหำน้อย")

หนังสือ

[แก้]
  • รวมเพลงเพื่อชีวิต ปกแดง

การแสดง

[แก้]

ทอมได้ร่วมแสดงหนังทุนใหญ่ของฉลอง ภักดีวิจิตร เรื่องมังกรเจ้าพระยา ร่วมกับมรกต มณีฉาย และไมเคิล หว่อง ในเรื่องดังกล่าวเมื่อทราบว่าไมเคิลมีฉากเร่าร้อนกับมรกต เขาจึงได้ร้องขอฉากเลิฟซีนคู่กับดาราสาวทรงโตบ้าง ซึ่งฉลองก็ได้จัดให้ ในการถ่ายทำเขารูดชุดราตรีที่มรกตสวมใส่ออกแล้วซุกหน้าลงกับสองเต้าเอาปากดูดกินอย่างตะกรุมตะกรามเพราะรู้ว่ามีเวลาจำกัด แถมนิ้วยังล้วงควานจนดาราสาวร้องลั่น แต่พอจะลักไก่กำลังจะควักเพื่อสอดใส่ ผู้กำกับรู้ไต๋สั่งคัททันที เป็นที่เฮฮาในกองถ่ายไป นอกจากนี้ยังแสดงหนังแผ่นเรทR โดยรับบทเณรแอ ในภาพยนตร์เรื่อง “เณรแอ จอมขมังเวทย์” มีฉากร่วมรักของทอมกับดาราทั้งชายหญิงอย่างโจ๋งครึ่ม[ต้องการอ้างอิง] และมีผลงานดังต่อไปนี้

  • มังกรเจ้าพระยา (2537) รับบท ไมค์
  • สุดขีดมังกรเจ้าพระยา 2 (2539) รับบท ไมค์
  • หักศอกมัจจุราช (2546) รับบท ผู้ติดตามหรือบอดี้การ์ด
  • คนส่งกรรม ตอน สายพิณ (2547) รับบท โชค
  • จอมขมังเวทย์ (2548) รับบท พ.ท. ธีระศักดิ์
  • เณรแอ จอมขมังเวทย์ (2548) รับบท เณรแอ
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553) รับบท หัวหน้าแท็กซี่ 2

ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]