วิบูลย์ แช่มชื่น
วิบูลย์ แช่มชื่น | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกาฬสินธุ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 19 เมษายน พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน) |
วิบูลย์ แช่มชื่น เป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกาฬสินธุ์
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น เกิดที่อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาเป็นครูประชาบาล มารดาเป็นแม่บ้าน มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนท่าคันโทวิทยายน ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ และโรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนเยาวชนไทย เข้าร่วมโครงการ เอ เอฟ เอส ไปศึกษา ณ Chariton High School, Chariton, Iowa, USA (1966-67), สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ด้วยทุนคุรุสภา และปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ทุนกระทรวงศึกษาธิการ) ปริญญาโท ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยปันจาบ (ทุน Indian Government Cultural Scholarship) และปริญญาเอก สาขาารบริหารและการวิจัย จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) การศึกษาระดับหลังปนิญญา (post-graduate) ได้รับประกาศนียบัตร สำเร็จหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ หลักสูตรกฎหมายมหาชน จากสถาบันพระปกเกล้า (ปรม.๑ และ ปปร.๗)
ในปี พ.ศ. 2531 วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลไทยให้เป็น Congressional Fellow/Legislative Researcher ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเมือง ประจำ ณ รัฐสภาอเมริกัน The US Congess, Washington D.C., สหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนของ Asia Foundation
วิบูลย์ เคยรับราชการที่วิทยาลัยครูอุดรธานี (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี) วิทยาลัยครูพระนคร (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) และ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
การเมือง
[แก้]ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกาฬสินธุ์ (2543-2549) ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกในประเทศไทย เคยทำหน้าทีเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เป็นผู้ริเริ่มและร่วมก่อตั้งสมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านสารสนเทศ (Inter-Parliamentary Association for Information Technology - IPAIT) เป็นผู้แทนรัฐสภาไทยในองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ (AIPO และ IPU) ในปี 2552 ได้เป็นต้นเรื่องร้องเรียนต่อสหภาพรัฐสภาที่กรุงเจนีวา (IPU) เกี่ยวกับการละเมิดสิทธินักการเมืองของไทย โดยมิชอบ กรณีรัฐไทยใช้กฎ คปค.ตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน โดยมิชอบเมื่อปี 2550 และ ตัดสิทธิกรรมการบริหาร 3 พรรคการเมืองอีก 109 คน เมื่อปี 2551 สุดท้าย IPU ได้ลงมติประณามประเทศไทย เมื่อ 19 ตุลาคม 2554
เมื่อหมดวาระหน้าที่สมาชิกวุฒิสภาได้ทำงานด้านสื่อมวลชนทางโทรทัศน์ และเป็นผู้อำนวยการ และผู้เขียนบทบรรณาธิการ นสพ.ไทยเรดนิวส์ รายสัปดาห์ ทำงานสื่อหนังสือพิมพ์ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช. และสือทีวีทาง MV iNews รายการ Thai Today, www.youtube.com/thaitodaytv และ MV-Stars-Bangkok
วิบูลย์เขียนหนังสือทางการเมืองเพื่อให้ความรู้ประชาธิปไตยชื่อ "ทางออกประเทศไทยต้องปฏิวัติประชาธิปไตย" พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ปัญญาชน
หลังจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภา มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 99[1] สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เมือพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2554 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2555
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย[2] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 71[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่าคันโท
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกาฬสินธุ์
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- อาจารย์คณะครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- บุคคลจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พรรคพลังธรรม
- พรรคนำไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์