ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์
ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | มงคล กิมสูญจันทร์ |
ถัดไป | ศิริพงษ์ รัสมี |
เขตเลือกตั้ง | เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก (2550–2554) เขตหนองจอก (2554–2556) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2522–2542) ไทยรักไทย (2543–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2551–2560, 2561–ปัจจุบัน) |
ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 19 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ มีชื่อเล่นว่า "มินนี่" เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายหุย แซ่เอี้ยว และนางเง็กซุ้น แซ่ตั้ว มีพี่น้อง 5 คน อาทินายไพฑูรย์ อิสระเสรีพงษ์ ส.ก. เขตหนองจอก ครอบครัวเป็นเจ้าของโรงสีไฟกิจเจริญ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริกและปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมรสแล้ว มีบุตรรวม 5 คน
งานการเมือง
[แก้]ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ อดีตเป็นสมาชิกสภาเขตหนองจอก 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงปี 2549 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
เคยเกิดกรณีต่อว่านางรสนา โตสิตระกูล ในที่ประชุมรัฐสภา ระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นอกจากนั้นเป็นนักเขียนในนิตยสารเสียงทักษิณ
ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เขามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนในคดีที่พกพาอาวุธปืนข่มขู่เจ้าหน้าที่[1]ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เขาเข้าร่วมปราศัยกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 'ไพโรจน์'มอบตัวพงส.หนองจอกแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ เก็บถาวร 2012-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์