ข้ามไปเนื้อหา

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร เขต 11
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 134 วัน)
ก่อนหน้าอนุดิษฐ์ นาครทรรพ
เขตเลือกตั้งเขตสายไหม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ก้าวไกล (2565–2567)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเล่นแจม

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ เป็นอดีตนักกิจกรรมทางการเมือง ทนายความอิสระด้านสิทธิมนุษยชนและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล และหลังจากที่พรรคก้าวไกลถูกยุบ ได้ย้ายตาม สส. ทั้งหมดมาสังกัดพรรคประชาชน

ประวัติ

[แก้]

ศศินันท์สำเร็จการศึกษาบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1, นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, และประกาศนียบัตรบัณฑิต กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนี้เธอยังสอบไล่เนติบัณฑิต จากเนติบัณฑิตยสภา รุ่นที่ 66 และสอบได้ใบอนุญาตว่าความรุ่นที่ 39 อีกด้วย[1]

การทำงาน

[แก้]

ทนายความ

[แก้]

เธอเป็นทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights: TLHR)[2] โดยเริ่มทำงานหลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557

นอกจากนี้ ศศินันท์เป็นหนึ่งในผู้ผลักดันในการเรียกร้องให้ทนายความหญิงมีสิทธิสวมกางเกงว่าความในศาลกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนิติฮับ โดยตลอดระยะเวลา 1-2 ปี เธอสวมกางเกงว่าความในศาลมาตลอด ซึ่งเดิมระเบียบข้อบังคับการแต่งกายของทนายความนั้น ให้ทนายความหญิงต้องสวมกระโปรงเพียงอย่างเดียว[3] แม้จะมีศาลในหลายแห่งจะอนุโลมให้ทนายความหญิงสวมกางเกงว่าความ แต่ก็มีศาลอีกหลายแห่งที่ยังคงธรรมเนียมและข้อปฏิบัติเดิม ทำให้ยังมีความลำบากอยู่

ดนตรี

[แก้]

ศศินันท์มีความสนใจในด้านดนตรี โดยเฉพาะกีตาร์โปร่งและอูคูเลเล่ เธอเคยร้องเพลงคัพเวอร์ลงยูทูปของตัวเองมาก่อน และยังเคยเข้าร่วมการประกวด ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 8 แต่ไม่ได้เข้ารอบ[4]

การเมือง

[แก้]

ศศินันท์มีความสนใจทางด้านการเมืองตั้งแต่ยุครัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และได้สนใจยิ่งขึ้นในยุคก่อตั้ง พรรคอนาคตใหม่ และ พรรคก้าวไกล โดยเธอประสงค์จะขับเคลื่อนนโยบายแม่และเด็ก อาทิเช่น นโยบายห้องให้นมบุตร และเพิ่มเติมด้านสิทธิลาคลอด เป็นต้น และเนื่องจากเธอเป็นอดีตนักกิจกรรมทางการเมือง และทนายสิทธิมนุษยชนที่ทำคดีการเมืองมาก่อน เธอจึงสนใจนโยบายเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

ศศินันท์เริ่มต้นงานทางการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก โดยศศินันท์ ได้เป็นหนึ่งในผู้แถลงนโยบายการเมืองของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นการเปิดตัวนโยบายครั้งแรกของพรรคก้าวไกล โดยศศินันท์ได้แถลงนโยบายเกี่ยวกับ "สิทธิมนุษยชน" ทั้งเรื่องของสิทธิลาคลอด สิทธิการเลือกตั้งของพระ ตำรวจหญิง สิทธิของคนพิการ และสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ[5]

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ในกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน[6] และยังคงได้นั่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญที่สำคัญๆ เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณ ปี 2567-2568 รวมถึงดำรงตำแหน่งโฆษกประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม[7]ด้วย

นอกจากนี้ศศินันท์ก็เป็นหนึ่งคณะกรรมการพิเศษเพื่อสอบสวนวินัยพรรค สืบเนื่องจากมีสมาชิกในพรรคร้องเรียนมาว่า ถูก สส.พรรคก้าวไกลในขณะนั้น 2 คนล่วงละเมิดทางเพศ ต่อมามติของพรรคได้ตัดสินขับ สส.ทั้งสองออกจากพรรค

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. "สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์". 2024-08-30.
  2. "'เมีย แม่ ทนายความ และนักการเมือง คือเรื่องเดียวกัน' คุยกับ ทนายแจม-ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ หนึ่งใน ส.ส.หญิงแห่งพรรคก้าวไกล" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-11-13.
  3. ""ทนายแจม" กับ 1 ปี ที่สวมกางเกงไปศาล เพื่อสิทธิทนายหญิง". Thai PBS.
  4. Sasinan Thamnithinan (2014-12-06), AF8 แจมมี่ ศศินันท์ Audition, สืบค้นเมื่อ 2024-08-10
  5. Ruenklin, Pichet. "เปิดชุดนโยบายแรก 'การเมืองก้าวหน้า' นิรโทษกรรม-แก้112-ลงนามไอซีซี". เดลินิวส์.
  6. "รายนามกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  7. "รายนามกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]