ข้ามไปเนื้อหา

วอยซ์ทีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอยซ์ ทีวี
สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมวีทีวีนิวส์
ประเทศไทย ไทย
เครือข่าย
คำขวัญ
  • Voice of
    the New Generation
    (2552-2554)
  • สถานีข่าวปลุกความคิด
    (2554-2555 , 2562-2567)
  • Inform Inspire Entertain
    (2555-2557)
  • Smart Voice
    ฉลาดคิด ฉลาดใช้ชีวิต
    (2557-2567,คำขวัญหลัก)
  • Shift Thai โอกาสโลก โอกาสไทย (2562-2567,คำขวัญพิเศษ)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 197 อาคารบีบีดี
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด
บุคลากรหลัก
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ29 มิถุนายน พ.ศ. 2552 (15 ปี)
ยุติออกอากาศวอยซ์ทีวี 21:
31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 152 วัน)
เฉพาะคู่ขนานทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
(3 ปี 272 วัน) [1]
โทรทัศน์:
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
(14 ปี 322 วัน)
ออนไลน์:
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
(14 ปี 336 วัน)
ลิงก์
เว็บไซต์www.voicetv.co.th
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
 ไทยเคเบิลทีวีไทยทั่วประเทศ
ทีวีดาวเทียม
ไทยคม 6 C-Band3840 H 30000
ไทยคม 6 KU-Band12344 V 45000
PSI
GMMZ
Infosat
Ideasat
Thaisat
KSTV
ช่อง 51
สื่อสตรีมมิง
VoiceTVชมรายการสด
Twitchชมรายการสด
AIS Playช่อง 51
True ID TVช่อง 51

วอยซ์ ทีวี (อังกฤษ: Voice TV) เป็นอดีตสถานีโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ในประเทศไทย ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมและเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ก่อนหน้านี้เป็นผู้รับใบอนุญาตออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ออกอากาศทางช่องหมายเลข 21, อินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ www.voicetv.co.thและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (smartphone)[2] เริ่มทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ผ่านระบบดาวเทียมดีทีวี ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในระบบซีแบนด์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552[3], เปิดตัวเว็บไซต์วอยซ์ทีวี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[4], เริ่มแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553[5], เริ่มออกอากาศผ่านระบบดาวเทียมเคยูแบนด์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[6] และเริ่มออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557[7] โดยประมูลด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาที่ออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.031 ในปี พ.ศ. 2561 และต่ำสุด 0.004 ในปี พ.ศ. 2557[8]

วอยซ์ทีวี เป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลก รายงานเจาะลึกประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ด้วยมุมมองที่แตกต่างจากสื่อมวลชนกระแสหลัก รวมทั้งสาระบันเทิงต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตคุณภาพสูง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ หลากหลาย แต่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ของคนทำงานในเมือง เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันสามารถเข้าถึงผู้ชม 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังนำเสนอผ่านสื่อเครือข่ายสังคมทุกรูปแบบคือ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และยูทูบ[2]

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย, ทรงศักดิ์ เปรมสุข อดีตผู้บริหารไอทีวี เป็นกรรมการที่ปรึกษา[9] เป็นกรรมการผู้อำนวยการ, พานทองแท้ ชินวัตร เป็นกรรมการรองผู้อำนวยการ และพินทองทา คุณากรวงศ์ เป็นกรรมการบริษัท[4]

ประวัติ

[แก้]

บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ในนามบริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ด้วยทุนจำนวน 300 ล้านบาท ประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ เพื่อนำออกอากาศเป็นการทั่วไป เดิมตั้งอยู่เลขที่ 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 1 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น อาคารเอไอเอสทาวเวอร์ 1) ประกอบด้วยกรรมการบริษัท 4 คนคือ พานทองแท้ ชินวัตร, พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์, ทรงศักดิ์ เปรมสุข, เฉลิม แผลงศร และมีผู้ถือหุ้นจำนวน 8 รายคือ บริษัท พี.ที.คอร์ปอเรชัน จำกัด (ร้อยละ 56.00), พานทองแท้ ชินวัตร (ร้อยละ 36.96), พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ (ร้อยละ 7.04) และบุคคลอื่นๆ รวมอีก 5 หุ้น มีผลงานผลิตรายการโทรทัศน์ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางไอทีวี เช่น I Style, ใครรักใครหัวใจตรงกัน,ปลาเก๋าราดพริก,บางกอกรามา ฯลฯ รวมถึงเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ฮิคารุเซียนโกะ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกด้วย[10] เปลี่ยนชื่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นบริษัท วอยซ์สเตชัน จำกัด, เปลี่ยนครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นชื่อปัจจุบัน[4]

ต่อมาได้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน และสาระ ได้ช่องหมายเลข 21 และเริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[7]

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติอนุมัติการคืนใบอนุญาตวอยซ์ทีวี ของบริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด และให้ยุติการออกอากาศเฉพาะทีวีดิจิทัลช่อง 21 ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562[11] จากนั้นวอยซ์ทีวีจึงแพร่ภาพออกอากาศบนดาวเทียม ตั้งแต่เวลา 00:01 น. เป็นต้นไป ในหลาย ๆ ช่องทางของทีวีดาวเทียมสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยเช่าสัญญาณช่อง V2H2 ในระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง 51 ของเอ็มวีทีวี ในการออกอากาศ[12][13][14][15][16]

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 วอยซ์ทีวีได้ประกาศปิดกิจการ และยุติการออกอากาศทุกช่องทาง โดยจะเลิกจ้างพร้อมทั้งจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานฝ่ายต่าง ๆ ทั้งหมด จำนวนมากกว่า 100 คน และทยอยยุติการออกอากาศรายการต่าง ๆ ภายในช่วงเดือนพฤษภาคม[17] โดยได้ปิดสถานีทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 และยุติการออกอากาศในช่องทางออนไลน์ลงอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[18] ส่วนอาคารสถานีนั้น พรรคเพื่อไทยได้นำไปใช้เป็นที่ทำการพรรคตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน[19][20]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว

[แก้]

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวและพิธีกรในอดีต

[แก้]
รายชื่อ หมายเหตุ
กรกฎ พัลลภรักษา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
กัณตพล อนุวรรณ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
โกสินทร์ อัตตโนรักษ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ขัตติยา สวัสดิผล ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
จอม เพชรประดับ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
จิตต์สุภา ฉิน ปัจจุบันทำยูทูปช่อง Spin9 และพิธีกรอิสระ
ฉายฉาน คำคม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชมะนันทน์ วรรณวินเวศร์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชยพล มาลานิยม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชยากรณ์ กำโชค ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชลวิศว์ วงษ์ศรีวอ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชัยรัตน์ ถมยา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ชาญชัย ประทีปวัฒนวงศ์ ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ปัจจุบันอยู่NBT
โชค โยกเก่ง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
โชติรส นาคสุทธิ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ฐิติพงษ์ ด้วงคง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ณัฏฐา มหัทธนา ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ
ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ดวงพร มะโน่แจ่ม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ตวงพร อัศววิไล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
อินทิรา เจริญปุระ ปัจจุบันเปิดร้านอาหารและกาแฟ Coffee Tree
ทวีศักดิ์ เกิดโพธิ์คา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ทัตตพันธุ์ สว่างจันทร์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ธนาพล เรามานะชัย ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ธีรัตถ์ รัตนเสวี ปัจจุบันอยู่NBT
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ ปัจจุบันอยู่เดอะสแตนดาร์ด และสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ
นพเก้า คงสุวรรณ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
นันท์นภัส เอี้ยวสกุล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
นาตาเลีย เพลียแคม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
นิติทัศน์ ถาวรกูล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
นิติธร สุรบัณฑิตย์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
เนื้อแพร พงษ์สุวรรณ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ประสิทธิ์ชัย คำบาง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ปรีชา พงษ์โมลา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ปิยบุตร แสงกนกกุล ปัจจุบันสังกัด คณะก้าวหน้า
พงษ์เกษม สัตยาประเสริฐ ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี และพิธีกรอิสระ
พรรณิการ์ วานิช ปัจจุบันสังกัด คณะก้าวหน้า
พัชยา มหัทธโนธรรม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
พัสวี ฐิติพรวัฒนกุล ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ภคพงศ์ อุดมกัลยารักษ์ ปัจจุบันอยู่โมโน 29 และพิธีกรอิสระ
ภคมน หนุนอนันต์ ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล
ภูริวัจน์ อภัยภูเบศร์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ภูวนาท คุนผลิน ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ
มนทกานติ รังสิพราหมณกุล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
มุทิตา เชื้อชั่ง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ยิ่งศิวัช ยมลยง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ร่มเกล้า อมาตยกุล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
รุ่งตะวัน ชัยหา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ลักขณา ปันวิชัย ปัจจุบันอยู่NBT
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
(ชื่อเดิม อรุณี กาสยานนท์)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
วณัฐย์ พุฒนาค ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
วรวัฒน์ ฉิมคล้าย ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
วันรัก สุวรรณวัฒนา ปัจจุบันอยู่NBT
วิภา ปิ่นแก้ว ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
วิโรจน์ อาลี ปัจจุบันอยู่NBT
วิลาสินี แวน ฮาเรน ปัจจุบันอยู่ เนชั่นทีวี
วิศรุต บุญยา ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
วีรนันต์ กัณหา ปัจจุบันอยู่NBT
วีรภัทร คันธะ ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล
วีรวินทร์ ศรีโหมด ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
ศศิพงศ์ ชาติพจน์ ปัจจุบันอยู่ NBT
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ปัจจุบันอยู่มติชน และสื่อมวลชนและพิธีกรอิสระ
สิรภพ อัตโตโห ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุชาณี รุ่งเหมือนพร ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุชาทิพ มั่นสินธร
(สกุลเดิม: จิรายุนนท์)
ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี และพิธีกรอิสระ
สุทธิพร บุญช่วย ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุบงกช สุขแก้ว ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุรเดช อภัยวงศ์ ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ปัจจุบันเป็นสมาชิก พรรคสร้างอนาคตไทย
นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ
สุลักษณ์ หลำอุบล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
อดิศร เพียงเกษ ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
อธึกกิต แสวงสุข ปัจจุบันอยู่มติชน และสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ
อรรถ บุญนาค ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
อรอินทร์ วนโกสุม ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
อัษนัย ปัญญามัง ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว
เอกวรัญญู อัมระปาล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และโฆษกกรุงเทพมหานคร

รายการที่ยุติการออกอากาศไปแล้ว

[แก้]
  • Voice Go !
  • Brain Wake
  • คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา
  • In Her View
  • ปลื้ม Explore !
  • Cooking With Jacqui
  • ทรายอิน
  • Book Guide
  • Overview Extra
  • มองโลก Daily
  • ย่อโลก
  • TonightThailand
  • i ASEAN
  • Global Village
  • Voice Market
  • Big Boom Box
  • The Master
  • ใบตองแห้ง On Air
  • ยามไทม์
  • ตาสว่าง
  • Overview
  • สุมหัวคิด
  • มองโลกมองไทย
  • แซ่มลื้ม
  • ลงแขก
  • Voice Focus

อ้างอิง

[แก้]
  1. จากใจ ของ 'คนวอยซ์ทีวี' จะยุติการออกอากาศทีวีดิจิทัล ไปสู่ผ่านทีวีดาวเทียม
  2. 2.0 2.1 About Voice TV เก็บถาวร 2009-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.voicetv.co.th
  3. แถลงการณ์วอยซ์ทีวี ยันเสนอข่าวเที่ยงตรง, มติชนออนไลน์, 25 กุมภาพันธ์ 2557.
  4. 4.0 4.1 4.2 จาก "ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" สู่ "วอยซ์ ทีวี" มหากิจศิริ มิตรแท้.. หรือจะเป็น Voice of Thaksin ?, ประชาชาติธุรกิจ, 24 พฤศจิกายน 2552.
  5. วอยซ์ทีวี (30 มิถุนายน 2557). "วอยซ์ ทีวี ก้าวสู่ปีที่ 6". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. วอยซ์ทีวี (6 มกราคม 2554). "VOICE TV ออกอากาศ 24 ชม.ทั้งดาวเทียม C-BAND และ KU-BAND". www.voicetv.co.th. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 1 เมษายน ช่อง 21 VoiceTv เปิดทีวีดิจิตอล เก็บถาวร 2014-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 28 มกราคม 2557.
  8. "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. เปิดตัว 'เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย' คุม 'วอยซ์ทีวี' เก็บถาวร 2017-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 8 ธันวาคม 2557.
  10. เปิดแผน "ฮาวคัม" เทียบชินคอร์ป ปั้นลูกโอ๊ค ตามรอยแม้ว เก็บถาวร 2019-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  11. Voice TV รับเงินเยียวยาคืนช่องจาก กสทช. 372.64 ลบ.
  12. Wake Up News วอยซ์ทีวีคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล
  13. ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ยื่นคืนใบอนุญาต คาดเดือนสิงหาคม 62 ยุติการออกอากาศ
  14. วอยซ์ทีวีประกาศคืนใบอนุญาตฯ รูดม่านทีวีดิจิทัล 5 ปี เบนเข็มไปดาวเทียม-ออนไลน์
  15. ""วอยซ์ทีวี" ได้ทีวีดาวเทียม "พีเอสไอ ช่อง 51" ออนแอร์ทดแทน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-14.
  16. VOICE TV ช่องทาง ทีวีดาวเทียมกับผังใหม่ เริ่ม 1 ก.ย.นี้
  17. "ด่วน! เปิดประกาศอำลา "Voice TV" เผยเหตุผลปิดฉากสื่อ 15 ปี เลิกจ้างพนักงานนับร้อย". สนุก.คอม. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ฟ้าผ่า วอยซ์ทีวี ประกาศปิดกิจการ 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนักงาน 100 กว่าชีวิต". ข่าวสด. 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "วิสุทธิ์ ยอมรับ ย้ายที่ทำการพรรคเพื่อไทย เพราะปรับฮวงจุ้ย ส.ส.แฮปปี้กว่าอยู่ที่เดิม". มติชน. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "ย้ายที่ทำการ!! เพื่อไทย เล็งเปลี่ยนใช้ตึก อดีต วอยซ์ทีวี แทนตึก OAI หนีรถติด". มติชน. 13 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]