จรัล ดิษฐาอภิชัย
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
จรัล ดิษฐาอภิชัย | |
---|---|
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 จังหวัดพัทลุง, ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | สหายแผ้ว |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | อาจารย์มหาวิทยาลัย วิชาการ นักวิทยาศาสตร์การเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรัล ดิษฐาอภิชัย (เกิด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ที่จังหวัดพัทลุง) ประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ประธานสมาคมคนไทยเพื่อประชาธิปไตย อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1]อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยเป็นหนึ่งใน 11 คน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ถูกถอดถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ของคณะรัฐประหาร ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550[2] เขาเคยเป็นแกนนำนักศึกษา และเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า "สหายแผ้ว"
เขาขัดคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2557 จนกระทั่งศาลทหารอนุมัติออกหมายจับคดีด้านความมั่นคง รวมถึงถูกออกหมายจับในความผิดมาตรา 112 ด้วย เขาเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 หลังรัฐประหาร และเดินทางต่อไปเพื่อลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ภายหลังเขาเข้าร่วมกับสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ปัจจุบันเธอได้รับสัญชาติฝรั่งเศส และได้จัดตั้ง สมาคมคนไทยเพื่อประชาธิปไตย โดยได้เป็นประธานสมาคมคนไทยเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนไหว ประท้วงรัฐบาลไทย ที่ยุโรป ร่วมกับ จรรยา ยิ้มประเสริฐ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ฯลฯ
การศึกษา
[แก้]- สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี - รัฐศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
- ปริญญาโท - สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
- ประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง - ปรัชญาการเมือง มหาวิทยาลัยปารีส 1 ซอร์บอน
ประสบการณ์การทำงาน
- พ.ศ. 2533 - 2543 - อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต[3] ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์[4]
- พ.ศ. 2541 - 2543 - ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส. : UCL :Union for Civil Liberty)
- พ.ศ. 2543 - 2550 - กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- พ.ศ. 2554 - 2555 - ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการ. การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2555 - 2557 - ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล)
เกียรติรางวัลที่เคยได้รับ
- พ.ศ. 2547 - ศิษย์เก่าดีเด่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงาน
[แก้]- มีผลงานเช่น รายงานวิจัย แนวทางการจัดทำประชาพิจารณ์ในสังคมไทย (ร่วมกับคณะ)
- รายงานวิจัย "แนวทางการยกเครื่องรัฐสภาไทย"
- หนังสือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส" เล่ม 1 ,เล่ม 2
- หนังสือ "ก่อนจะถึง 14 ตุลา"
- หนังสือ "จากราชดำเนินถึงชเวดากอง"
- หนังสือ "คู่มือ สิทธิมนุษยชน สำหรับพลเมือง"
- หนังสือ "บนหนทางสิทธิมนุษยชน"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (เพิ่มเติม)
- ↑ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองไทยในต่างแดน: จรัล ดิษฐาอภิชัย ณ ฝรั่งเศส
- ↑ "ปรับปรุงคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๑/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-26.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-12-06. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-20. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดพัทลุง
- นักวิชาการจากจังหวัดพัทลุง
- นักสิทธิมนุษยชน
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- นักปฏิวัติ
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยปารีส
- กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์