ข้ามไปเนื้อหา

พายัพ ปั้นเกตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายพายัพ ปั้นเกตุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ.2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าประเทือง วิจารณ์ปรีชา
ถัดไปชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักษาชาติ

นายพายัพ ปั้นเกตุ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี

ประวัติ

[แก้]

นายพายัพ ปั้นเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี) เป็นบุตรของนายเบิ้ม นางสายหยุด ปั้นเกตุ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบางระจันวิทยา จากนั้นเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสิงห์บุรี ต่อมาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้[1] และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การทำงาน

[แก้]

นายพายัพ ปั้นเกตุ เริ่มทำงานรับจ้างที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ย้ายไปทำงานอีกหลายแห่งอาทิ โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ โครงการทฤษฎีใหม่พระราชทาน โครงการรีเอ็นจิเนียริ่งระบบการค้าข้าวไทย และบริษัท คณาไพร (ประเทศไทย) จำกัด

นายพายัพ ปั้นเกตุ เข้าสู่วงการการเมืองโดยการสมัครเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี เขต 2 สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 แต่ถูก กกต. ตัดสินให้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2545 และไดรับการเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2545

ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นายพายัพ ปั้นเกตุได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง และถูก กกต. ตัดสินให้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2548 แต่ก็ยังได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอีกในการเลือกตั้งซ่อม วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2548

การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายพายัพ ปั้นเกตุ ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

อนึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ อดีต ส.ส.สิงห์บุรี ได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้มีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 นายพายัพ ปั้นเกตุได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

ภายหลังเกิดวิกฤติการทางการเมือง นายพายัพ ปั้นเกตุ มีบทบาทในการเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 นายพายัพ ปั้นเกตุ ได้นำมวลชนกลุ่มคนเสื้อแดงบุกปิดล้อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนเป็นที่มาของการต่อต้านกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง[2] ทำให้แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงต้องออกมาประกาศปฏิเสธว่าการกระทำของนายพายัพ ปั้นเกตุ ไม่ใช่มติของกลุ่ม นปช.[3]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 48[4] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 49[5]

เขาเคยจำคุกในคดี เหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในศาลชั้นต้น ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาใน วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 เขาได้รับการประกันตัวในวงเงิน 8 แสน บาท เขาจำคุกในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 ตามคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ในคดีดังล่าว และไม่ได้รับการประกันตัวในวันดังกล่าว

ปี2563 พายัพ ปั้นเกตุ ให้การสนับสนุน ดร.สุรสาล ผาสุก ลงเลือกตั้ง นายก อบจ.สิงห์บุรี สุดท้ายแพ้เลือกตั้ง คะแนนแพ้ขาด ให้กับ นายศุภวัฒน์ เทียนถาวร อดีตนายก อบจ.หลายสมัย

ปี 2566 พายัพ ปั้นเกตุ ให้การสนับสนุน นิชดา ปั้นเกตุตันติรักษ์(ภรรยา) ลง เลือกตั้ง สส.สิงห์บุรีในนามพรรคเพื่อไทย ผลการเลือกตั้ง พ่ายแพ้ คะแนนหล่นไปอยู่ลำดับที่ สาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  2. หลายองค์กรรุมประณามแดง[ลิงก์เสีย]
  3. มตินปช.วันนี้ไม่เคลื่อนไปรพ.จุฬาฯ แกนนำรุมจวกพายัพทำภาพพจน์แดงติดลบ
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗