ซักกอเราะฮ์
سقارة | |
พีระมิดแห่งดโจเซอร์ที่ซักกอเราะฮ์ | |
ที่ตั้ง | เขตผู้ว่าการกิซา, อียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | อียิปต์ล่าง |
พิกัด | 29°52′16″N 31°12′59″E / 29.87111°N 31.21639°E |
ประเภท | สุสาน |
ความเป็นมา | |
สมัย | ยุคราชวงศ์แรกเริ่ม ถึง ยุคกลาง |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
บางส่วน | "หมู่พีระมิดจากกิซาถึงเดาะฮ์ชูร" ส่วนหนึ่งของ เมมฟิสและสุสาน – หมู่พีระมิดจากกิซาถึงเดาะฮ์ชูร |
รวมถึง |
|
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (i), (iii), (vi) |
อ้างอิง | 86-002 |
ขึ้นทะเบียน | 1979 (สมัยที่ 3rd) |
พื้นที่ | 16,203.36 ha (62.5615 sq mi) |
ซักกอเราะฮ์ (อาหรับ: سقارة, เสียงอ่านภาษาอาหรับอียิปต์: [sɑʔːɑːɾɑ]) หรือ (อังกฤษ: Saqqara, Sakkara หรือ Saccara /səˈkɑːrə/) เป็นหมู่บ้านชาวอียิปต์ในเขตผู้ว่าการกิซา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานโบราณของเชื้อพระวงศ์สมัยอียิปต์โบราณ โดยเป็นหมู่สุสานขนาดใหญ่ประจำเมืองเมมฟิส[1] ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอียิปต์โบราณ ในบริเวณซักกอเราะฮ์เป็นที่ตั้งของพีระมิดจำนวนหลายหลัง รวมถึงพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์ดโจเซอร์ (Step Tomb) และสุสานมาสตาบาอีกจำนวนหนึ่ง ซักกอเราฮ์ตั้งอยู่ห่างจากกรุงไคโรสมัยปัจจุบันไปทางใต้ราว 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7 กม. x 1.5 กม. (4.3 ไมล์ x 0.9 ไมล์)
ซักกอเราะฮ์ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างหินที่สมบูรณ์ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดที่ทราบกันในประวัติศาสตร์ นั่นคือพีระมิดแห่งดโจเซอร์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สาม แห่งอียิปต์ และฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจำนวนอีกสิบหกพระองค์ก็โปรดให้สร้างพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์เช่นกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในสถานะการอนุรักษ์ต่าง ๆ เจ้าพนักงานระดับสูงในสมัยโบราณได้เพิ่มอนุสาวรีย์พิธีศพส่วนตัวในสุสานแห่งนี้ตลอดช่วงสมัยการปกครองของฟาโรห์ ยังคงเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญสำหรับการฝังศพที่ไม่ใช่ของราชวงศ์และพิธีกรรมทางศาสนามานานกว่า 3,000 ปี ทั้งในสมัยปโตเลมีและโรมัน
ทางเหนือขอซักกอเราะฮ์คือ อะบูศีร และทางใต้คือ เดาะฮ์ชูร พื้นที่ที่เริ่มตั้งแต่จากกิซาไปยังเดาะฮ์ชูรได้ถูกใช้เป็นสุสานของชาวเมมฟิสในช่วงเวลาต่าง ๆ และถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1979[2] นักวิชาการบางคนเชื่อว่าชื่อ "ซักกอเราะฮ์" ไม่ได้มาจากเทพเจ้าแห่งพิธีศพของอียิปต์โบราณพระนามว่า โซคาร์ แต่มาจากชนเผ่าเบอร์เบอร์ท้องถิ่นที่เรียกว่าบะนี ซักคัร[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fernandez, I., J. Becker, S. Gillies (19 August 2020). "Places: 796289136 (Saqqarah)". Pleiades. สืบค้นเมื่อ March 22, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Memphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur – UNESCO World Heritage Centre". Whc.unesco.org. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
- ↑ Graindorge, Catherine, "Sokar". In Redford, Donald B., (ed) The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, vol. III, pp. 305–307.