ประภาส จารุเสถียร
ประภาส จารุเสถียร | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี |
ถัดไป | ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
ถัดไป | สุกิจ นิมมานเหมินทร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน ถนอม กิตติขจร สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ก่อนหน้า | เผ่า ศรียานนท์ |
ถัดไป | กมล วรรณประภา |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | ถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | กฤษณ์ สีวะรา |
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
ถัดไป | ประจวบ สุนทรางกูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (84 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | เถรวาท |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา (2498–2500) ชาติสังคม (2500–2501) สหประชาไทย (2511–2514) |
คู่สมรส | ไสว ปานประสิทธิ์ |
บุตร | 6 คน; รวมถึง สุภาพร กิตติขจร |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2476–2516 |
ยศ | จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพบก และกรมตำรวจ |
ผ่านศึก | กบฏบวรเดช กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา |
จอมพล ประภาส จารุเสถียร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540) นามเดิม ตุ๊ จารุเสถียร เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งจอมพลแห่งกองทัพบกไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]จอมพล ประภาส เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ณ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของพระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร) และเจ้าแม่บัวตอง ณ ลำปาง
จอมพล ประภาส สมรสกับท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร (สกุลเดิม ปานประสิทธิ์)
การศึกษา
[แก้]วิชาทหาร
[แก้]จอมพล ประภาส จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในปี พ.ศ. 2473 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ชุดที่ 1 ในปี พ.ศ. 2499
การรับราชการ
[แก้]การทำงาน
[แก้]จอมพล ประภาส รับราชการเป็นทหารบก เหล่าทหารราบ เขาได้รับการสนับสนุนจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เขาได้เลื่อนขั้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเขายังดำรงตำแหน่งนี้ต่อไปหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2506 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ จอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งลูกชายของเขาแต่งงานกับลูกสาวของจอมพล ประภาส จากปี พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2516 เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบกควบคู่กันไป เขาเป็นที่รู้จักในเรื่องธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนและการวางกลยุทธ์ทางการเมืองที่แยบยล[1]
ตำแหน่งราชการ
[แก้]ราชการทหาร และตำรวจ
[แก้]- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2500 : แม่ทัพกองทัพภาคที่ 1[2]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 : รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก[3]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 : รักษาการอธิบดีกรมตำรวจ[4]
ราชการพิเศษ
[แก้]- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2489 : ราชองครักษ์เวร
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- 18 มกราคม พ.ศ. 2501 : ราชองครักษ์พิเศษ
- 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์
- 7 กันยายน พ.ศ. 2504 : โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
- 13 มีนาคม พ.ศ. 2505 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 : โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลทหารสูงสุด[6]
- 27 ธันวาคม พ.ศ. 2515 : โปรดเกล้าฯให้เป็น นายตำรวจราชสำนักพิเศษ[7]
- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 : นายทหารพิเศษประจำกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- 10 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 : ผู้อำนวยการศูนย์ปราบจลาจลที่กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ สวนรื่นฤดี[8]
การเมือง
[แก้]- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 : สมาชิกสภาผู้แทนประเภท 2
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 : รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[9]
- 23 กันยายน พ.ศ. 2500 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501 : รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 : รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[10]
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 : รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 19 มีนาคม พ.ศ. 2515 : รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ยศทหาร และตำรวจ
[แก้]- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 : พระราชทานยศ"ร้อยตรี"[11]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2478 : พระราชทานยศ"ร้อยโท"[12]
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2479 : โอนเป็นตำรวจปรับยศเป็น"ร้อยตำรวจเอก"[13]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2480 : โอนกลับเป็นทหารปรับยศเป็น"ร้อยเอก"[14]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 : พระราชทานยศ "พันโท"[15]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491 : พระราชทานยศ "พันเอก"[16]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2500 : พระราชทานยศ "พลโท"[17]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2502 : พระราชทานยศ "พลเอก"[18]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 : พระราชทานยศให้เป็นพลตำรวจเอก[19]
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 : พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ[20]
บทบาททางการเมือง
[แก้]ประภาสมีบทบาทอย่างมากในการเมืองในแต่ละยุค แต่ละสมัย ในฐานะของนายทหาร ตั้งแต่ยังเป็นนายทหารยศ "ร้อยโท" ในเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 เป็นผู้ใช้ปืนยิงพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เสนาธิการของฝ่ายกบฏ ถึงแก่ชีวิต พระยาศรีสิทธิสงครามนั้นตั้งใจเดินมาเพื่อขอเจรจาด้วย ณ สถานีรถไฟหินลับ จังหวัดสระบุรี ประภาสยังเข้าร่วมในรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และปราบกบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 เคียงข้างจอมพล ถนอม กิตติขจร มาตลอด[21] [22]
ตั้งแต่ยังมีสถานะเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ 4 ในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ประภาสก็เป็นหนึ่งในคณะนักเรียนนายร้อยทหารบกจำนวน 111 นายที่บุกวังบางขุนพรหมร่วมกับคณะนายทหารและพลเรือนบางส่วนของคณะราษฎร เพื่อควบคุมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเข้าควบคุมกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอีกด้วย[23]
ภายหลังการอสัญกรรมของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใน พ.ศ. 2506 แล้ว จอมพล ถนอม กิตติขจร จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ บทบาทของประภาสเปรียบเสมือนมือขวาคนสำคัญของ จอมพล ถนอม โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี แม้ถนอมพูดน้อย มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่า "นายกฯ คนซื่อ" แต่ประภาสกลับไม่ได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นถนอม เนื่องจากปัญหาการทุจริตและการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบหลายประการ ประภาสเป็นเสมือนปากกระบอกเสียงให้แก่ จอมพล ถนอม เพราะ "พูดเก่ง มีลีลาแพรวพราว และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งคู่ก็แน่บแน่น" เพราะ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของจอมพล ถนอม สมรสกับบุตรสาวของจอมพล ประภาส
ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา มีข้อมูลระบุว่า หลังจากเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จอมพล ถนอมต้องการลาออก แต่ทั้งประภาสและณรงค์ไม่ยินยอม และพยายามเกลี้ยกล่อมให้ถนอมเปลี่ยนความคิด แต่ท้ายที่สุดถนอมก็ลาออก และทั้ง 3 ก็เดินทางออกนอกประเทศทันที ประภาสไปอยู่ที่ไทเป ประเทศไต้หวัน พร้อมกับพ.อ. ณรงค์ บุตรเขย จากนั้น ถนอมหวนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2519 แต่ถูกต่อต้านอย่างหนัก จึงเดินทางกลับ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน[24]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[26]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[27]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[28]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[29]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ (ร.ด.ม.(ห))[30]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[31]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[32]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[33]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[34]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[35]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[36]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[37]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[38]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- พม่า :
- พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นมหาสเรสิตู (ฝ่ายทหาร)[39]
- สเปน :
- พ.ศ. 2500 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณทหารแห่งสเปน ชั้นอัศวินมหากางเขน[40]
- อิตาลี :
- พ.ศ. 2504 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[41]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นพิเศษ[42]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2505 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นประถมาภรณ์[43]
- กรีซ :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์จที่ 1 ชั้นที่ 1[44]
- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2507 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[45][46]
- มาเลเซีย :
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง[49]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1[50]
- เกาหลีใต้ :
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2509 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[51]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์[53]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 1[53]
- ลาว :
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นประถมาภรณ์[53]
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2511 - เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นประถมาภรณ์[54]
- เอธิโอเปีย :
- พ.ศ. 2511 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เมเนลิกที่ 2 ชั้นประถมาภรณ์[55]
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของประภาส จารุเสถียร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Leifer, Michael (1996), "Praphas Charusathien", Dictionary of the modern politics of South-East Asia, Routledge, p. 134
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 81 ตอน 87 ง พิเศษ หน้า 2 11 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ รักษาราชการแทนพลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ ตามคำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ 345/2515 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2515
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอน 72 ง พิเศษ หน้า 6 8 กันยายน พ.ศ. 2504
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารสูงสุด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 84 ตอน 18 ง หน้า 660 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 43 ง หน้า 1270 24 เมษายน พ.ศ. 2516
- ↑ "ชนวนเหตุ 14 ตุลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 30 ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 19 ราย)
- ↑ แจ้งความ พระราชทานยศนักเรียนนายร้อยและนายดาบ (หน้า 2186)
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศพระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 302)
- ↑ เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ เรื่องพระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 4 ง พิเศษ หน้า 1 12 มกราคม พ.ศ. 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เล่ม 90 ตอน 64 ง พิเศษ หน้า 1 6 มิถุนายน พ.ศ. 2516
- ↑ วาสนา นาน่วม. เส้นทางเหล็ก...พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ตุลาคม, 2546. 288 หน้า. ISBN 978-974-323-792-8
- ↑ รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 978-616-536-079-1
- ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 260.
- ↑ ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 81 ตอนที่ 42 ง ฉบับพิเศษ หน้า 5, 7 พฤษภาคม 2507
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 90 ตอนที่ 57 ง ฉบับพิเศษ หน้า 23, 24 พฤษภาคม 2516
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 76 ตอนที่ 115 ง ฉบับพิเศษ หน้า 37, 16 ธันวาคม 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 74 ตอนที่ 107 ง หน้า 2993, 17 ธันวาคม 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 105 ตอนที่ 95 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2, 15 มิถุนายน 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 51 ตอนที่ 0 ง หน้า 440, 6 พฤษภาคม 2477
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 58 ตอนที่ 0 ง หน้า 4829, 9 ธันวาคม 2484
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 79 ตอนที่ 83 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1, 8 กันยายน 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 86 ตอนที่ 87 ง หน้า 3029, 7 ตุลาคม 2512
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม 51 ตอนที่ 0 ง หน้า 2244, 7 ตุลาคม 2477
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 75 ตอนที่ 50 ง หน้า 1873, 1 กรกฎาคม 2501
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 62 ตอนที่ 55 ง หน้า 1474, 2 ตุลาคม 2488
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 67 ตอนที่ 39 ง หน้า 3040, 18 กรกฎาคม 2493
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 76 ตอนที่ 53 ง หน้า 1399, 19 พฤษภาคม 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 36, 31 มกราคม 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 51 หน้า 1303, 4 มิถุนายน พ.ศ. 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชนุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 58 หน้า 1688, 18 กรกฏาคม 2504
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 79 ตอนที่ 95 หน้า 2254, 23 ตุลาคม 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 41 หน้า 1319, 30 เมษายน 2506
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 80 ตอนที่ 101 หน้า 2356, 15 ตุลาคม 2506
- ↑ 1964 Press Photo Thailand General Praphat Charusathian Legion Merit Award
- ↑ AGO 1965-15 — HQDA GENERAL ORDER: AWARDS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 90 ฉบับพิเศษ หน้า 2450, 16 พฤษภาคม 2507
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
- ↑ เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง หน้าที่ 171
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 81 ตอนที่ 29 ฉบับพิเศษ หน้า 965, 31 มีนาคม 2507
- ↑ 51.0 51.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 83 ตอนที่ 87 ฉบับพิเศษ หน้า 24, 1 ตุลาคม 2509
- ↑ 박정희대통령태국부수상태극무공훈장수여1
- ↑ 53.0 53.1 53.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 65 ฉบับพิเศษ หน้า 14, 16 กรกฎาคม 2510
- ↑ Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์), พระราชกรณียกิจ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑
- ↑ Film Archive Thailand (หอภาพยนตร์), พระราชกรณียกิจ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑
ก่อนหน้า | ประภาส จารุเสถียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 28) (1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501) |
ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ | ||
ถนอม กิตติขจร พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 30–31) (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ||
พจน์ สารสิน | รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 32) (18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ||
เผ่า ศรียานนท์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 27, 28, 29, 30, 31, 32) (23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) (19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
กมล วรรณประภา | ||
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | อธิบดีกรมตำรวจ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร | ||
จอมพล ถนอม กิตติขจร | ผู้บัญชาการทหารบก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516) |
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา | ||
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ | อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (7 กันยายน พ.ศ. 2504 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2512) |
ศาสตราจารย์อุปการคุณ ดร.แถบ นีละนิธิ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- บุคคลจากอำเภอเมืองอุดรธานี
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- ทหารบกชาวไทย
- จอมพลชาวไทย
- จอมพลเรือชาวไทย
- จอมพลอากาศชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สกุล ณ ลำปาง
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- พรรคสหประชาไทย
- พรรคชาติสังคม
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- ราชองครักษ์เวร
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
- สกุลจารุเสถียร