ข้ามไปเนื้อหา

ศรีสุข มหินทรเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรีสุข มหินทรเทพ
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
(1 ปี 38 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์
ถัดไปพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
2500–2502
ก่อนหน้าพันตำรวจเอก สล้าง เริ่มรุจน์
ถัดไปพันตำรวจเอก สุนิต ปัณยวณิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2460
อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต18 มีนาคม พ.ศ. 2536 (76 ปี)
คู่สมรสคุณหญิง บุญจันทร์ มหินทรเทพ
บุพการี
  • รองอำมาตย์โท ขุนศรีสวัสดิ์ประภา (บิดา)
  • นางเรียม มหินทรเทพ (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ (19 มกราคม พ.ศ. 2460 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2536) อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ประวัติ

[แก้]

พลตำรวจเอก ศรีสุขเกิดเมื่อ 19 มกราคม พ.ศ. 2460 ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของรองอำมาตย์โท ขุนศรีสวัสดิ์ประภา (ศรีสวัสดิ์ มหินทรเทพ) กับคุณเรียม มหินทรเทพ บิดาของขุนศรีสวัสดิ์ประภาเป็นพระโอรสในเจ้าศรีสญชัย พระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร หรือ เจ้าอุ่นคำ โดยพลตำรวจเอกศรีสุขมีศักดิ์เป็นหลานอาของพลตำรวจเอกไสว ไสวแสนยากร[1] พลตำรวจเอกศรีสุขมีพี่น้องทั้งหมด 4 คนคือ

  1. พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ
  2. พลตำรวจตรี เขมะสวัสดิ์ มหินทรเทพ มีลูกกับยุลิสต์ มหินท์เทพ มีบุตรธิดา ด้วยกัน 2คน 2.1 นางขวัญจิตสุวรรณจินดา โดยสมรสกับนายภาคินัย สุวรรณจินดา จึงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี 2.2 ขวัญชัย มหินท์เทพ
  3. นาวาเอก เปรม มหินทรเทพ
  4. เกียรติศักดิ์ มหินทรเทพ

สมรสกับคุณหญิงบุญจันทร์ มหินทรเทพ (สกุลเดิม : จันทรังษี) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ พลตำรวจโท จิรสิทธิ์ มหินทรเทพ จิรศักดิ์ มหินทรเทพ และจิรพร มากกิติ

พลตำรวจเอก ศรีสุขถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2536 ขณะอายุได้ 76 ปี

รับราชการ

[แก้]

พลตำรวจเอก ศรีสุขเคยรับราชการในตำแหน่งผบ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจในช่วงปี 2500-02 ก่อนจะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 [2] และได้รับพระราชทานยศพลตำรวจเอกในวันเดียวกัน [3] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 ปีก็พ้นจากตำแหน่งและถูกโยกย้ายให้เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยมีพลตำรวจโท มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น รองอธิบดีกรมตำรวจขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจสืบต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 [4]

ยศและตำแหน่ง

[แก้]
  • 6 กันยายน พ.ศ. 2487 - ร้อยตำรวจเอก[5]
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2493 - พันตำรวจตรี[6]
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2496 - พันตำรวจโท[7]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2499 - พันตำรวจเอก[8]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - พลตำรวจตรี[9]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - พลตำรวจโท[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 5[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 126-9
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 203 ง หน้า 1 30 กันยายน พ.ศ. 2518
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 241 ง หน้า 3028 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 147 ง พิเศษ หน้า 1 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๗๙)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๔๖๗๗)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒)
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๕๖๖)
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๙๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๔, ๓ พฤษภาคม ๒๔๗๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๘, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๙๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๖, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๒, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  22. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964.
ก่อนหน้า ศรีสุข มหินทรเทพ ถัดไป
พลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2518 – 2519)
พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น