มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น
มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น | |
---|---|
พล.ต.ท มนต์ชัย มอบเงินให้กับครอบครัวของพลเมืองดีที่ถูกคนร้ายฆาตกรรมขณะขัดขวางการล้วงกระเป๋าบนรถเมลล์ | |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 (4 ปี 185 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพ |
ถัดไป | พลตำรวจเอกสุรพล จุลละพราหมณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กันยายน พ.ศ. 2464 อำเภอชนะสงคราม จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (94 ปี 341 วัน) โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงวิจิตรา พันธุ์คงชื่น |
บุตร | พลตำรวจโทกฤษฎา พันธุ์คงชื่น |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ประจำการ | 2519 – 2524 |
ยศ | พลตำรวจเอก |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
พลตำรวจเอก มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น (2 กันยายน พ.ศ. 2464 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ประวัติ
[แก้]พล.ต.อ. มนต์ชัย เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2464 ที่ เขตพระนคร เป็นบุตรชายของนายสมานกับนางสยาด พันธุ์คงชื่น มีชื่อเดิมว่า ทิพมนต์ พันธุ์คงชื่น ก่อนจะเปลี่ยนเป็น มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
รับราชการ
[แก้]พล.ต.อ.มนต์ชัยเคยรับราชการเป็นผู้บัญชาการ ตำรวจนครบาลและรับพระราชทานยศ พลตำรวจโท ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2518 [1] ในสมัย พลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์ ต่อมาเมื่อพลตำรวจเอกศรีสุขถูกโยกย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย พลตำรวจโทมนต์ชัย จึงได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแทนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 [2] พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก ในวันเดียวกัน [3] ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี 2524 ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการคือ ข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 11 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี[4] ซึ่งพล.ต.อ.มนต์ชัย รับราชการในตำแหน่งดังกล่าวระหว่างวันที่ 11-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 โดยมีพลตำรวจโท สุรพล จุลละพราหมณ์ รองอธิบดีกรมตำรวจขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
ยศและตำแหน่ง
[แก้]- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2485 - ร้อยตำรวจตรี[5]
- 6 กันยายน พ.ศ. 2487 - ร้อยตำรวจโท[6]
- - ร้อยตำรวจเอก
- 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - พันตำรวจตรี[7]
- 3 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - พันตำรวจโท[8]
- 22 ตุลาคม พ.ศ. 2500 - พันตำรวจเอก[9]
- - พลตำรวจตรี
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - พลตำรวจโท[10]
ครอบครัว
[แก้]พล.ต.อ.มนต์ชัยสมรสกับคุณหญิงวิจิตรา พันธุ์คงชื่น มีบุตรชายคือ พลตำรวจโทกฤษฎา พันธุ์คงชื่น อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[11]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.ต.อ.มนต์ชัย ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราและเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ โรงพยาบาลตำรวจ สิริรวมอายุ 94 ปี[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2516 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[16]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 147 ง พิเศษ หน้า 1 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 152 ง หน้า 3895 14 ธันวาคม พ.ศ. 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๖๖๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๗๘๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๕๐๑)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒)
- ↑ แจ้งความ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ "อินไซด์ตำรวจ:ประจำวันที่ 30 กันยายน 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-09-24.
- ↑ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ 'มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น' ถึงแก่กรรมวัย 95 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๓๑๓๔, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๒๓๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘