ณรงค์ กิตติขจร
ณรงค์ กิตติขจร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2525 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (8 ปี 305 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 (1 ปี 6 วัน) | |
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2529 – 2535 | |
ก่อนหน้า | ปรีดา พัฒนถาบุตร |
ถัดไป | ตราชู บริสุทธิ์ (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (90 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2526–2529) เสรีนิยม (2529–2535) |
คู่สมรส | สุภาพร จารุเสถียร (สมรส 2501; เสียชีวิต 2548) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | ประภาส จารุเสถียร (บิดาภรรยา) |
การศึกษา | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พันเอก |
ผ่านศึก | |
พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567) เป็นอดีตนายทหารและอดีตนักการเมืองชาวไทย เป็นบุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของจอมพล ประภาส จารุเสถียร
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เกิดเมื่อวันวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรชายคนโตของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี กับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร และเป็นบุตรเขยของจอมพล ประภาส จารุเสถียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตอธิบดีกรมตำรวจ เพราะ ได้สมรสกับนางสุภาพร กิตติขจร บุตรสาวคนที่ 3 ของจอมพล ประภาส ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับมาตั้งแต่อายุได้ 5 - 6 ขวบ และได้ขอแต่งงานเมื่อคุณสุภาพรอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น (ในขณะนั้น พ.อ. ณรงค์ ติดยศ"ร้อยตรี") โดยมีบุตร-ธิดารวม 4 คน ได้แก่
- พล.อ. เกริกเกียรติ กิตติขจร สมรสกับนางนัฎฐา กิตติขจร มีบุตรทั้งหมด 2 คน คือ
- นางสาวกนกรส กิตติขจร
- นายกฎเกณฑ์ กิตติขจร
- นายกรกาจ กิตติขจร (เสียชีวิตแล้ว) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557[1] สมรสกับนางประพจนีย์ กิตติขจร มีบุตรทั้งหมด 1 คน คือ
- นายกิตติพจน์ กิตติขจร
- พล.ท. กิจก้อง กิตติขจร
- นางกรองกาญจน์ ดิศกุล ณ อยุธยา สมรสกับ พล.อ. ม.ล.กุลชาติ ดิศกุล มีบุตรทั้งหมด 2 คน คือ
- นายดิศพงษ์ ดิศกุล ณ อยุธยา
- นางสาวกรกมล ดิศกุล ณ อยุธยา
การศึกษา
[แก้]พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร [2]จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จปร.รุ่นที่ 5 และได้ศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร[2] ซึ่งเป็นโรงเรียนนายร้อยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร
การรับราชการ
[แก้]พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐประหาร (รัฐประหารในประเทศไทย 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เมื่อการรัฐประหารเสร็จสิ้นลง ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิวัติราชการ (ก.ต.ป.) และเป็นผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.2 รอ.)
หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้แล้ว พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้เป็นพ่อ เพราะด้วยสถานการณ์ในเวลานั้น ปรากฏข่าวการคอร์รัปชั่นกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบด้วย เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เป็นต้น ทางรัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติราชการ หรือ ก.ต.ป. ขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น แต่กลับมี พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นลูกชายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล จึงไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งที่โกรธแค้นจึงได้เผาทำลายอาคารของสำนักงานแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ ณ สี่แยกคอกวัว
ส่วนบทบาทของ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ และเป็นผู้กราดยิงกระสุนจริงจากเฮลิคอปเตอร์ลงมายังผู้ชุมนุมที่อยู่เบื้องล่าง แต่ พ.อ. ณรงค์ ได้ปฏิเสธในเรื่องนี้มาโดยตลอด
การเมือง
[แก้]หลังสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง พ.อ. ณรงค์ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. เพชรบุรี ใน พ.ศ. 2522 แต่ได้รับเลือกเป็นส.ส.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคชาติไทย ในครั้งถัดมา เมื่อ พ.ศ. 2526 และเข้าร่วมกับพรรคการเมืองชื่อพรรค "เสรีนิยม" ซึ่งมี ปรีดา พัฒนถาบุตร เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารโดย พ.อ.ณรงค์ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน เขาได้ลงสมัคร ส.ส. ในจังหวัดเดิม ได้รับเลือกตั้งมาอีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531 และยังได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2534
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ "ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย" และ "พันเอก ณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพล ถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา[3][4]
การถึงแก่กรรม
[แก้]พ.อ. ณรงค์ กิตติขร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร สิริอายุ 90 ปี[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[9]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[11]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2509 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[12]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ
- ↑ 2.0 2.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
- ↑ "ณรงค์โยนพล.อ.กฤษณ์ ต้นเหตุความรุนแรง14ต.ค." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.
- ↑ "ปิดตำนาน 'พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร' ลูกชายจอมพล ถนอม เสียชีวิตแล้ว". komchadluek. 2024-05-14.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 79, ตอน 46, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505, หน้า 1249
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 12 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2504
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ เล่ม 86 ตอนที่ 2 ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราาคม 2512
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗ หน้า ๒๔๖๐
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- บุคคลจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- สกุลกิตติขจร
- บุตรของนายกรัฐมนตรีไทย
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคเสรีนิยม (ประเทศไทย พ.ศ. 2525)
- พรรคชาติไทย
- พรรคประชากรไทย
- พรรคมหาชน
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย