แสวง ธีระสวัสดิ์
แสวง ธีระสวัสดิ์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 21 มกราคม พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกเภา สารสิน |
ถัดไป | พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ตำบลนางเลิ้ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี |
เสียชีวิต | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (72 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงอารีย์ ธีระสวัสดิ์ |
พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 26
ประวัติ
[แก้]พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลนางเลิ้ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายสวัสดิ์และนางสะอาด ธีระสวัสดิ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 3 คน คือ
- นางไสว เหมาะใจ
- พลตำรวจเอกแสวง ธีระสวัสดิ์
- พลอากาศเอกชาญ ธีระสวัสดิ์
สมรสกับคุณหญิงอารีย์ ธีระสวัสดิ์ มีบุตรสามคน ได้แก่ พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ อดีตที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นางขัตติยา ธีระสวัสดิ์ และ พล.ต.อ.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]
การศึกษา
[แก้]พลตำรวจเอก แสวง เริ่มเรียนที่โรงเรียนประชาบาลตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จนกระทั่งจบชั้นมัฐยมต้นเมื่อปี 2484 ต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดห้วยโป่ง (จันทร์ราษฎร์บำรุง) จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2490 จบชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร และจบชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รับราชการ
[แก้]- 18 กันยายน พ.ศ. 2518 เป็นรองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เป็นหัวหน้ากองวิชาการ กรมตำรวจ
- 22 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครใต้
- 14 ตุลาคม พ.ศ. 2524 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
- 2 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
- 21 มกราคม พ.ศ. 2534 ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุเพราะได้รับผลกระทบทางการเมือง
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 23.57 น.
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เวลา 17.00 น. ขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศประกอบศพ ณ ศาลา 5/1 วันตรีทศเทพ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพเวลากลางคืน กำหนด 7 คืน
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพพลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[8]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- อารีย์ ธีระสวัสดิ์. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพลตำรวจเอก แสวง ธีระสวัสดิ์. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2556. 108 หน้า.
- ↑ สุชาติ-สุวัฒน์-มนูประจำการ รองผบ.ตร. : มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙๖, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๙๔, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘