พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
พระยาอนุสสรธุระการ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กุมภาพันธ์ 2476 – 1 เมษายน 2479 | |
ก่อนหน้า | พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เสียชีวิต | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (73 ปี) |
บุตร | 11 คน |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พันตำรวจเอก |
พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ นามเดิม จ่าง เกิดเมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 ที่บ้านในตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายเขียว และ นางเพ็ง โดยปู่ของท่าน ชื่อ นายพุก ซึ่งสืบสายลงมาจาก นายคำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลให้ท่านว่า "วัจนะพุกกะ"
ประวัติ
[แก้]ในวัยเยาว์ ท่านได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสคูล (กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ในปัจจุบัน) จนสำเร็จการศึกษาได้ประกาศนียบัตร ชั้น 7 จากนั้นจึงรับราชการในกระทรวงนครบาล เริ่มที่ตำแหน่งผู้ช่วยนายเวรสรรพากร ในกรมกองตระเวน เมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 และได้รับความเจริญในราชการเรื่อยมา คือ เป็นผู้กำกับการโรงพักสามแยก เมื่อ พ.ศ. 2464 ปฏิบัติงานอยู่ 5 ปี จึงย้ายไปรั้งตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[1]และได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2470[2]ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 กลับเข้ามากรุงเทพฯ เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาล บางรัก [3]
จนหลังเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านจึงได้เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ ในสมัย พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นอธิบดี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 [4] และในที่สุด ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476[5]
ตำแหน่งการทำงาน
[แก้]ได้รับยศเป็นนายพันตำรวจเอกเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471[6]และอีก 2 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 1000 [7]
นอกจากนี้ ในระหว่างที่รับราชการ ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการพิเศษหลายคราว ที่สำคัญ คือ
- เป็นเจ้าพนักงาน เรี่ยไรเก็บเงิน ในการหล่อพระบรมรูปทรงม้า ระหว่างปี พ.ศ. 2451-2452
- เป็นเจ้าพนักงาน ตามเสด็จประจำ เจ้าหญิงวอลดิมาร์ แห่งประเทศเดนมาร์ค เมื่อปี พ.ศ. 2456
- ตามเสด็จพระราชดำเนิน รัชกาลที่ 6 คราวประพาสลานเท ที่พระนครศรีอยุธยา ,ลำน้ำสมุทรสาคร และมณฑลราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2460
- เป็นผู้จับกุมชนชาติศัตรู (เยอรมัน) คราวสงครามโลกครั้งที่ 1 และคุมศัตรูไปส่งที่สิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2461
- มีส่วนร่วม ในการปฏิบัติงานคราวปราบกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476
ฯลฯ
ท่านออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2479[8]รวมอายุราชการ 34 ปี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก และ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย กับทั้งเหรียญจักรมาลา และ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นเกียรติยศ
ชีวิตครอบครัว
[แก้]พระยาอนุสสรธุระการ มีบุตร-ธิดา รวม 11 คน คือ
- นายดาบดำริห์ วัจนะพุกกะ (ทหารอาสาร่วมรบสงครามโลก)
- พันตำรวจโทดำรัส วัจนะพุกกะ
- พลตำรวจตรีสุชาติ วัจนะพุกกะ
- นางสาวผกา วัจนะพุกกะ
- นายสัตว์แพทย์จินดา วัจนะพุกกะ
- นายสัตว์แพทย์สมจิตต์ วัจนะพุกกะ
- นางชูศรี แจ้งเจนกิจ
- นางสาวพิศวง วัจนะพุกกะ
- นายสุดจิตต์ วัจนะพุกกะ
- นายโฆสิต วัจนะพุกกะ
- พันตำรวจโทโกสุม วัจนะพุกกะ
หลังออกจากราชการแล้ว ท่านก็ได้ชีวิตอย่างสงบ ณ บ้านของท่านที่ถนนสาธร จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497
ยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]- 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 หลวงอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 600[9]
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2458 - อำมาตย์ตรี[10]
- 17 มกราคม พ.ศ. 2458 - เปลี่ยนยศเป็น พันตำรวจตรี[11]
- 21 สิงหาคม พ.ศ. 2460 พันตำรวจโท[12]
- 20 ธันวาคม 2460 – พระอนุสสรธุระการ ถือศักดินา 800[13]
- 26 เมษายน 2463 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[14]
- 26 เมษายน 2463 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[15]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 พันตำรวจเอก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[16]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2461 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายและบรรจุตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้บังคับการตำรวจ
- ↑ เรื่อง ปลด ย้าย และตั้งนายตำรวจชั้นผู้บังคับการ (หน้า 229)
- ↑ ประกาศ ปลดและย้ายนายตำรวจ (หน้า 495)
- ↑ ประกาศ ปลดและตั้งอธิบดีและรองอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน (หน้า 2449)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศ ปลดอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๖๑๘)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนนามกรมพลตระเวน แลเปลี่ยนยศข้าราชการกรมพลตระเวน
- ↑ พระราชทานยศนายตำรวจภูธรและนายตำรวจพระนครบาล
- ↑ "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2995. 13 มกราคม 1917.
- ↑ ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
- ↑ "ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 662. 30 พฤษภาคม 1920.
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ (หน้า 3447)
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรมาลา
ก่อนหน้า | พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) |
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 9 (2476 – 2479) |
พลตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส) |