ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์
ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 343 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล |
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 (0 ปี 364 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2506 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ประจำการ | พ.ศ. 2528–2566 |
ยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น เด่น เป็นนายตำรวจชาวไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1][2]สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]ดำรงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2506 ที่ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นบุตรนายสวัสดิ์ และนางบัวลอย กิตติประภัสร์ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 9 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22 ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 38 ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์จาก City University สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตร Pacific Training Initiative (PTI) ของ F.B.I, หลักสูตร การควบคุมฝูงชน ของ Tacoma Police Department สหรัฐอเมริกา
รับราชการ
[แก้]ดำรงศักดิ์เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่ง รองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 เมื่อปี พ.ศ. 2528 จากนั้นจึงได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ตามลำดับจนได้เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2563 พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก[3][4] กระทั่งวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม ที่ประชุมมีมติเลือก พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 13 สืบต่อจาก พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ที่จะเกษียณอายุราชการในวันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ต่อมาในวันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1]
ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2558 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ด่วน! โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำรวจ 255 ราย “พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์"นั่งผบ.ตร.
- ↑ เปิดประวัติ “บิ๊กต่อ-พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล” ผบ.ตร.คนที่ 14
- ↑ โปรดเกล้าฯ 'สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข' เป็นผบ.ตร.
- ↑ โปรดเกล้าฯพระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล จำนวน 114 ราย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๙๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ก่อนหน้า | ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566) |
พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล |