พจน์ เภกะนันทน์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พจน์ เภกะนันทน์ | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518 (0 ปี 184 วัน) (รักษาการ: พ.ศ. 2517 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2518) (~1 ปี 88 วัน) | |
ก่อนหน้า | ประจวบ สุนทรางกูร |
ถัดไป | ศรีสุข มหินทรเทพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (78 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ม.ร.ว.สมปอง เภกะนันทน์ |
บุตร | พอล เภกะนันท์ |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์ (26 พฤศจิกายน 2457 - 14 มิถุนายน 2536) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ประวัติ
[แก้]พล.ต.อ. พจน์ (นามเดิม ฟอร์ด เภกะนันทน์) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ที่ตำบลประตูชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรชายของอำมาตย์โท พระวุฒิศาสตร์วินิจฉัย (ชิต เภกะนันทน์) และนางหลง หรือ จรูญ (สกุลเดิม ภู่นุภาพ)[1]
พล.ต.อ. พจน์ สมรสกับ ม.ร.ว.สมปอง เกษมสันต์ ธิดาใน หม่อมเจ้า สมบูรณ์ศักดิ์ และ หม่อมระรวย เกษมสันต์ (สกุลเดิม วัชราภัย) มีบุตร-ธิดาทั้งหมด 5 คน
พล.ต.อ. พจน์ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 เวลา 1:15 น. สิริอายุได้ 79 ปี
รับราชการ
[แก้]พล.ต.อ. พจน์ เคยรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก่อนจะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ สืบต่อจากพล.ต.อ. ประจวบ สุนทรางกูร ในปี พ.ศ. 2517 ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2518
ยศ
[แก้]- 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 - ร้อยตำรวจโท[2]
- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2486 - ร้อยตำรวจเอก[3]
- 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 - พันตำรวจตรี[4]
- 29 กันยายน พ.ศ. 2495 - พันตำรวจโท[5]
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2497 - พันตำรวจเอก[6]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2503 - พลตำรวจตรี[7]
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2518 : พลตำรวจเอก[8]
งานการเมือง
[แก้]วันที่ 4 สิงหาคม 2511 พล.ต.อ. พจน์ ขณะดำรงตำแหน่งพลตำรวจโทได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลตำรวจเอ พจน์ เภกะนันทน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[14]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2508 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 3[18]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2[19]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 3[20]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 4[21]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 3[22]
- อิหร่าน :
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 3
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์, 2537
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๒๗๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๘๓๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๖๖๔)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๓๔๙๖)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๒๓๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ, เล่ม 92 ตอน 81 ง หน้า 1078, 22 เมษายน พ.ศ. 2518
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๑, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๙, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๔, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๓, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๙, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | พจน์ เภกะนันทน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร | อธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518) |
พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2457
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- นักการเมืองจากจังหวัดนครศรีธรรมราช