อดุลย์ แสงสิงแก้ว
อดุลย์ แสงสิงแก้ว | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (3 ปี 85 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ปวีณา หงสกุล |
ถัดไป | อนันตพร กาญจนรัตน์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (1 ปี 166 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (รักษาราชการแทน) |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รักษาราชการแทน) |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 350 วัน) | |
หัวหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (1 ปี 235 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ |
ถัดไป | พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาราชการแทน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 เมษายน พ.ศ. 2497 จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
คู่สมรส | อรัญญา แสงสิงแก้ว |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
ยศ | พลตำรวจเอก |
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว นักการเมืองชาวไทยและอดีตตำรวจชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ประธานสโมสรเพื่อนตำรวจ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสาร Cop's Magazine ประธานกรรมการ มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[2] อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ [3] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[4] ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง[5]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ใน คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [6]ประธานคณะกรรมการควบคุมการขอทาน กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[7] อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 9,รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ครั้งที่สองวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ครั้งที่สาม วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยขยายระยะเวลาครั้งที่ 1 จนถึง 30 พฤศจิกายน และครั้งที่ 2 จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556[8] เป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[9] ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 เกิดที่ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายอุดม และ นางอัมรา แสงสิงแก้ว ต่อมาได้สมรสกับนางอรัญญา อรัณยกานนท์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2528 โดยภายหลังรัฐประหาร ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 นางสาว อุษณีย์ แสงสิงแก้ว น้องสาวของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ได้รับเลือกเป็นรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นับเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้[10]
การศึกษา
[แก้]จบโรงเรียนอนุบาลนครพนม, ประถมศึกษา โรงเรียนสุนทรวิจิตร, มัธยมศึกษา โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย, มัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่โรงเรียนเทเวศร์ศึกษา, นักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 29, ปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ, จบวิทยาลัยเสนาธิการทหารรุ่นที่ 33, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 42, จบหลักสูตรมินิครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หลักสูตรความเป็นเลิศของนักบริหาร มธ. สถาบันวิทยาลัยตลาดทุนรุ่น 5
ปริญญากิตติมศักดิ์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2556 [11]
การทำงาน
[แก้]พล.ต.อ. อดุลย์ เคยดำรงตำแหน่งหน้าที่ ดังนี้
- รองสารวัตรปราบปราม สน.ปทุมวัน
- ผู้บังคับหมวด หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จ.นครพนม
- สารวัตรปกครองป้องกัน สภ.เมืองมุกดาหาร
- สารวัตร สภ.กิ่ง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
- สารวัตร สภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
- ผบ.ร้อย. 4 หห.1 รร.นรต.
- หน.ผ.3 ยุทธการ กก.ตชด.13 จ.กาญจนบุรี
- รอง ผกก.อก.ตชด.ภาค 1
- รองผู้กำกับ 2 กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- อาจารย์ภาควิชาทหารและทหารฝึก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- รองกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
- ผู้กองบังคับการสำนักงานแผนงานและงบประมาณ
- ผู้กองบังคับการตำรวจจราจร
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
- ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 และ 9
- ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ที่ปรึกษา (สบ.10)
- รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ตำแหน่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงคือผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า[12]เนื่องจากดูแลความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งพิเศษ อาทิ คณะที่ปรึกษาฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร กรรมการข้าราชการตำรวจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการองค์การตลาด นายตำรวจราชสำนักเวร นายตำรวจราชสำนักพิเศษ กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง และกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และยังเคยได้รับรางวัล ปี 2526 รางวัลตำรวจดีเด่น และ ปี 2527 คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น[13]
ต่อมา พล.ต.อ. อดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[14] ต่อจากพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ. อดุลย์ เป็นหนึ่งในผู้ทำการรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่หลังจากนั้น 2 วัน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ. อดุลย์ พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน[15] แต่ยังคงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเขาขอปลด ตัวเองเพื่อให้ พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ เพื่อนของเขาเป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีก 4 เดือน
มีหลักฐานสนับสนุนในเรื่องนี้เนื่องจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รู้จักกับ พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว มานาน[16]ในงานวิจัยเรื่อง "กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่" พล.อ. ประยุทธ์ ได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 คน คือ นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช , นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี , พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ,ดร.ปณิธาน วัฒนายากร พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง นายถวิล เปลี่ยนศรี และ พล.ต.ท. อดุลย์ แสงสิงแก้ว (ยศในขณะนั้น)
ในวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา โดยเป็นข้าราชการตำรวจคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ [17] เขาแต่งตั้งให้ พล.ต.อ. สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ ภายหลังจากที่พลตำรวจเอก สุวัฒน์ ลาออก[18] เขาแต่งตั้ง พล.ต.อ. อำนาจ อันอาตม์งาม เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
จากนั้น ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[22]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[23]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[25]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- มาเลเซีย :
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประธานกรรมการ มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
- ↑ ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ↑ ประธานคณะกรรมการควบคุมการขอทาน กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
- ↑ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- ↑ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
- ↑ เปิดชีวประวัติ อดุลย์ แสงสิงแก้ว
- ↑ "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๕". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-24.
- ↑ "โยกย้ายยึดหลัก'เข้าขามองตารู้ใจ'". คมชัดลึก. 14 กันยายน 2011.
- ↑ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 124 ง หน้า 5. วันที่ 10 สิงหาคม 2555.
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2557 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 88 ง พิเศษ หน้า 1 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
- ↑ ส่องความคิด'ประยุทธ์'ผ่านงานวิจัย'ภัยคุกคามประเทศ'
- ↑ "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ครม. ประยุทธ์ 1)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2014.
- ↑ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ↑ "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ครม. ประยุทธ์ 5)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 7 มกราคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๖, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
- ↑ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระราชทานเครื่องราชฯ “ตานศรี” ให้ “บิ๊กอู๋”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022.
ก่อนหน้า | อดุลย์ แสงสิงแก้ว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (รักษาราชการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 61) (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รักษาราชการแทน) | ||
ปวีณา หงสกุล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) |
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ | ||
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาราชการแทน) |
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครพนม
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไทย
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนครพนม