ราชอาณาจักรกรีซ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ราชอาณาจักรเฮลเลนิก Βασίλειον τῆς Ἑλλάδος Vasíleion tīs Elládos ราชอาณาจักรกรีซ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1832–1924 1924–1935: สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2 1935–1941 1941–1944: รัฐบาลพลัดถิ่น 1944–1973a | |||||||||||||
สถานะ | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ค.ศ. 1832–1843) ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ค.ศ. 1843–1924, 1944–1974) | ||||||||||||
เมืองหลวง | Nafplio (1832–1834) เอเธนส์ (1834–1973) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษากรีก | ||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ | ||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ค.ศ. 1832–1843) ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ค.ศ. 1843–1924, ค.ศ. 1944–1974) รัฐรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (ค.ศ. 1936–1941, ค.ศ. 1967–1973) | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||
• ค.ศ. 1832–1862 | สมเด็จพระราชาธิบดีออตโต (พระองค์แรก) | ||||||||||||
• ค.ศ. 1964–1974 | สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• สถาปนาราชอาณาจักร | 30 สิงหาคม ค.ศ. 1832 | ||||||||||||
• เปลี่ยนแปลงการปกครอง | ค.ศ. 1843 | ||||||||||||
• การเข้ายึดครองของฝ่ายอักษะ | ค.ศ. 1941 | ||||||||||||
• การปกครองของพรรคการเมืองทหาร | 21 เมษายน ค.ศ. 1967 | ||||||||||||
8 ธันวาคม ค.ศ. 1974 | |||||||||||||
สกุลเงิน | ดราชมา | ||||||||||||
|
ราชอาณาจักรกรีซ (กรีก: Βασίλειον τῆς Ἑλλάδος, Vasíleion tīs Elládos; อังกฤษ: Kingdom of Greece) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเฮลเลนิก (อังกฤษ: Kingdom of Hellenic) สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1832 ในการประชุมกรุงลอนดอน โดยกลุ่มประเทศมหาอำนาจซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซีย จนได้รับการรับรองจากนานาประเทศในโลกอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ทำให้ราชอาณาจักรกรีซมีเอกราชเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์และมั่นคง ซึ่งไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันอีกต่อไป โดยเอกราชของกรีซนี้เป็นผลสำเร็จมาจากการเรียกร้องเอกราชโดยรัฐบาลพลัดถิ่นแห่งกรีซ และมาจากสงครามเรียกร้องเอกราชของกรีซ (โดยมีสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซียคอยให้การช่วยเหลือและสนับสนุน) ซึ่งในการปกครองของราชอาณาจักรนั่นมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่สถาปนาเอกราช จนในปี ค.ศ. 1924 พระราชวงศ์และสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ถูกล้มล้าง จนได้สถาปนา สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2 ขึ้นมา แต่ในภายหลังก็ได้มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ขึ้นมาและได้สถาปนาสถาบันพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นพระประมุขของประเทศดังเดิมอีกครั้ง จนในท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1974 พระราชวงศ์ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งอันเป็นผลมาจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร ภายใต้การนำโดยพรรคการเมืองทหารของกรีซ และได้ก่อตั้งสาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3 มาจนถึงปัจจุบัน
ราชวงศ์วิทเทิลแบช
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การปฏิวัติวันที่ 3 กันยายน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การปฏิวัติ 3 กันยายน พ.ศ. 2386 ( ภาษากรีก : Επανάσταση της 3ης Σεπτεμβρίου ) เป็นการก่อจลาจลโดยกองทัพกรีกในกรุงเอเธนส์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อต่อต้านการ ปกครองแบบ เผด็จการของกษัตริย์ออตโต กลุ่มกบฏซึ่งนำโดยทหารผ่านศึกจากสงครามประกาศอิสรภาพของกรีกเรียกร้องให้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญและการจากไปของ เจ้าหน้าที่ บาวาเรียที่ครอบงำรัฐบาล การปฏิวัติประสบความสำเร็จ ทำให้เข้าสู่ยุคของระบอบรัฐธรรมนูญ (ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2387 ) ด้วยคะแนนเสียงสากลในกรีซ
ราชวงศ์กลุคเบิร์ก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การรัฐประหารในกรีซ ค.ศ. 1967
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังกรีกได้รับการปลดปล่อยจากการถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์กับเสรีนิยมในนามสงครามเย็นค่อย ๆ ก่อตัวกลายเป็นความขัดแย้งภายในของกรีกจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองกรีซซึ่งสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 สงครามดังกล่าวเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายอนุรักษ์ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและยูโกสลาเวีย ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา โดยอเมริกาที่ยึดหลักการทรูแมน มองว่า กรีซเป็นรัฐที่มีความเสี่ยงในการตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในที่สุดในปี ค.ศ. 1952 กรีซได้รับการยอมรับเข้าร่วมสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งในขณะนั้นกรีซเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนคาบสมุทรบอลข่านที่ยังไม่เป็นคอมมิวนิสต์
หลังสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลขวาจัดได้ครองอำนาจอย่างยาวนานในกรีซ โดยมีสมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 ที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 1949-1964 มีการแต่งตั้งประธานาธิบดีหลายคน หนึ่งในนั้นคือ Konstatinos Karamanlis ซึ่งภายหลังความขัดแย้งกับสมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1963 และทำให้กรีซต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพรรคอนุรักษ์ของ Karamanis นาม ERE พ่ายแพ้ต่อพรรคซ้ายภายใต้การนำของ Goorgios Papandreous การกลับมาของฝ่ายซ้ายและการสวรรคตของกษัตริย์สมเด็จพระเจ้าพอลที่ 1 ในปี 1964 นำไปสู่การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 และเหตุการณ์ค่อยๆ ก่อกลายเป็นชนวนของรัฐประหารในปี ค.ศ. 1967
นับจากปี ค.ศ. 1965 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลฝ่ายซ้ายของ Papadreous กับราชสำนักไม่ค่อยดีนัก ฝ่ายราชสำนักเองทราบดีว่าพรรคฝ่ายซ้ายต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ Papadreous ก็ไม่ได้คิดที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระมหากษัตริย์ และพยายามทำให้กองทัพกรีซอยู่ภายใต้อำนาจของเขาโดยการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกลาโหมที่ขณะนั้นลาออก แต่ได้รับการปฏิเสธ ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 2 ทรงพยายามแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากสภาเช่นกัน ความขัดแย้งทั้งหมดได้นำไปสู่การจัดตั้งองค์กร Aspida ซึ่งมีนายทหารระดับสูงกว่า 28 นายเข้าร่วมเพื่อยึดอำนาจ การผนึกกำลังภายในของกองทัพกับสถาบันและกำลังภายนอกจากเสรีนิยมอย่างอเมริกา เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ได้นำไปสู่การรัฐประหารในเย็นวันที่ 21 เมษายน ค.ศ 1967[1]
รายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซ
[แก้]- พระเจ้าโอซอน
- พระเจ้าเยออร์ยีโอสที่ 1
- พระเจ้ากอนสตันดีโนสที่ 1
- พระเจ้าอาเลกซันโดรส
- สมเด็จพระราชาธิบดีเยออร์ยีโอสที่ 2
- สมเด็จพระเจ้าปัฟโลส
- สมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาสตรา โตอ่อน. "เหตุแห่งการรัฐประหารในกรีก ปี 1967 เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยสองขั้ว เอาและไม่เอารัฐประหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (HTML)เมื่อ 2011-10-03. สืบค้นเมื่อ 2011-10-02.
- Woodhouse, C.M. (1998). Modern Greece a Short History. London: Faber & Faber. ISBN 0-571-19794-9.