เพเนบวี
เพเนบวี ในไฮเออโรกลีฟ | ||||
---|---|---|---|---|
เพ-เนบวี (พระนามประสูติ) P.nb.wj ที่ประทับแห่งเจ้าทั้งสอง | ||||
เวเรต-เฮเทส (ตำแหน่งราชวงศ์) Wr.t hts ผู้ยิ่งใหญ่ในคทาแห่งเฮเทส |
เพเนบวี เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นและเป็นไปได้มากว่าเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ดเจอร์จากราชวงศ์ที่หนึ่ง พระนามของพระองค์ถูกสลักอยู่บนแผ่นสลักงาช้างหลายแผ่น
การระบุตัวตน
[แก้]มีแผ่นสลักงาช้างอย่างน้อยสามแผ่นที่ปรากฏพระนางเพเนบวี โดยพบสองแผ่นในสุสานของฟาโรห์ดเจอร์ที่อไบดอส และอีกหนึ่งแผ่น (เสียหายค่อนข้างมาก) ที่ซักกอเราะฮ์ในสุสานปริศนา แผ่นสลักหรือที่เรียกว่าตารางรายปีได้แสดงภาพพระราชพิธีหลายอย่างเช่น การบูชายัญมนุษย์ และวัตถุทางศาสนาหลายอย่าง ตรงกลางสลักเป็นรูปสมเด็จพระราชินีสองพระองค์ที่สวรรคตไปแล้ว ซึ่งแสดงเป็นรูปร่างของรูปสลักครึ่งตัวที่มีศีรษะของผู้หญิงและทรงผมวางอยู่บนแท่นที่ตกแต่งอย่างหรูหรา มีเลือดไหลออกมาจากหน้าผากของทั้งสองพระองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความตายของผู้หญิง ในสมัยก่อน น้ำพุโลหิตดังกล่าวถูกตีความอย่างผิด ๆ ว่าเป็นเครื่องประดับดอกไม้หรือมงกุฎงู ชื่อผู้หญิงทั้งสองได้รับการเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณที่หายากซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายในภายหลังของ "อุจจาระ" ซึ่งเครื่องหมายบนแผ่นสลักหมายถึง "ตาย" หรือ "ความตาย" โดยภาพแรกสามารถระบุได้ว่าเป็นสมเด็จพระราชินีเพเนบวี ซึ่งพระนามดังกล่าวแปลว่า "ที่ประทับของเจ้าทั้งสอง" พระนามของพระองค์ยังนำหน้าด้วยตำแหน่ง เวเรต-เฮเทส ซึ่งแปลว่า "ผู้ยิ่งใหญ่ในคทาแห่งเฮเทส" ซึ่งระบุว่าพระองค์เป็นคู่ครองของเชื้อพระวงศ์ ส่วนสตรีอีกคนที่อยู่บนแผ่นสลักก็จะต้องเป็นสมเด็จพระราชินีเช่นกัน แต่มีพระยศต่ำกว่า ตำแหน่งของพระองค์คือ มา'อา-เฮอร์อู ซึ่งแปลว่า "พระนาง ผู้ทรงเห็นเทพฮอรัส" แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระนามของพะรองค์อ่านยากมาก ซึ่งอาจจะเขียนด้วยสัญลักษณ์รูปปลาสามตัว[1][2]
การสวรรคตของพระนางเพเนบวีดูเหมือนจะถูกบันทึกไว้บนศิลาปาแลร์โมที่มีชื่อเสียงในปีที่ 4 ของฟาโรห์ดเจอร์ โดยว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์คสงสัยว่าสมเด็จพระราชินีเพเนบวีสวรรคตอย่างรุนแรงเนื่องจากการตัดพระเศียร เนื่องจากสัญลักษณ์ของสตรีผู้ล่วงลับในส่วนปีที่บันทึกดังกล่าวได้ถูกเขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณรูปนกที่ถูกตัดหัว[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (= Ägyptologische Abhandlungen. Bd. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, p. 119 & 154.
- ↑ Wolfram Grajetzki: Ancient Egyptian Queens A Hieroglyphic Dictionary. Golden House Publications, London 2005, ISBN 9780954721893, p. 65.