อสมท
ประเภท | สื่อและสิ่งพิมพ์ |
---|---|
อุตสาหกรรม | สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ/สำนักข่าว |
รูปแบบ | สื่อสารมวลชน |
ก่อนหน้า | บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (2495–2520) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2520–2547) |
ก่อตั้ง | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 | (อสมท: 9 เมษายน พ.ศ. 2520)
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 63/1 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง, , |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ |
|
เจ้าของ | กระทรวงการคลัง |
พนักงาน | 1,423 คน (2553) |
บริษัทแม่ | สำนักนายกรัฐมนตรี |
แผนก | บจก.พาโนรามา เวิลด์ไวด์ |
เว็บไซต์ | www.mcot.net |
เชิงอรรถ / อ้างอิง SET:MCOT |
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: MCOT Public Company Limited; ชื่อย่อ: บมจ.อสมท, MCOT PCL.) เป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้การกำกับของรัฐบาลไทย ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจนี้ในปัจจุบันคือ จิราพร สินธุไพร[1] ประกอบธุรกิจสื่อมวลชน ดังนี้
- กิจการวิทยุโทรทัศน์ แพร่ภาพออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง จากสถานีแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในภูมิภาค 53 สถานี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไทย
- กิจการวิทยุกระจายเสียง ส่งกระจายเสียงด้วยระบบเอฟเอ็ม ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 48 สถานี
- สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข่าวสาร ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ และวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โดยที่ทำการส่วนกลางในปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 63/1 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
บจก.ไทยโทรทัศน์
จอมพล ป.พิบูลสงคราม เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการจัดบริการวิทยุและโทรทัศน์ ขึ้นในประเทศไทย จึงนำเสนอในรูป โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนมากกลับไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน จึงยุติโครงการดังกล่าวลงชั่วคราว[2]
ต่อมาในระหว่าง กันยายน-พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีกลุ่มข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์), พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร, ประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และนาวาอากาศเอกเลื่อน พงษ์โสภณ ดำเนินการระดมทุน ด้วยการเสนอขายหุ้นต่อกรมประชาสัมพันธ์เป็นเงิน 11 ล้านบาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท และใช้เป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495[3]
องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
สืบเนื่องจากเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สรรพสิริ วิรยศิริ กรรมการผู้จัดการในขณะนั้น นำกล้องภาพยนตร์ออกถ่ายทำข่าวบริเวณท้องสนามหลวงและหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วกลับไปล้างฟิล์มและตัดต่อด้วยตนเอง เพื่อรายงานข่าว ทั้งทางไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. ตามความเป็นจริง จึงทำให้เขา, ราชันย์ ฮูเซ็น และลูกน้องอีก 2-3 คนถูกปลดออกจากทุกตำแหน่ง กอปรกับประสบปัญหาในการหาเงินทุนมาดำเนินกิจการต่อ คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงลงมติให้ยุบเลิกกิจการ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และมีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พุทธศักราช 2496 เพื่อดำเนินการจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบกิจการสื่อสารมวลชน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง หรือใกล้เคียงกับกิจการสื่อสารมวลชน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร รวมถึงให้โอนพนักงานและลูกจ้างของ บจก.ไทยโทรทัศน์ เข้าเป็นพนักงานของ อ.ส.ม.ท. พร้อมทั้งรับโอนกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ มาดำเนินงานสืบต่อ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520[3]
ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 อ.ส.ม.ท. ได้ก่อตั้งหน่วยงานเพิ่ม คือ สำนักข่าวไทย เพื่อดำเนินงานผลิตและเผยแพร่ข่าวสาร นับว่าเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของไทย และในปี พ.ศ. 2532 อ.ส.ม.ท. ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ โทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล, สัมปทานให้เอกชนเช่าสัมปทานและความถี่ และร่วมดำเนินธุรกิจกับเอกชน ในการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก เป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ ไอบีซี (เริ่มสัญญาเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2532) ซึ่งต่อมารวมกิจการกับยูทีวี (เริ่มสัญญาเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ปัจจุบันคือทรูวิชันส์) ทั้งนี้ ยังมีสถานีโทรทัศน์ไทยสกายอีกแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว)
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
จากนั้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 อ.ส.ม.ท. ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อแปลงสภาพเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ[3] โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 600 ล้านหุ้น ปัจจุบันมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวนร้อยละ 65[4] บมจ.อสมท เข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และกระจายหุ้นสู่มหาชน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ก่อนหน้านั้น อ.ส.ม.ท. จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท พาโนราม่า เวิลด์ไวด์ จำกัด เป็นบริษัทย่อย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำหรับผลิตรายการและสารคดีให้กับ บมจ.อสมท, หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่หรือจำหน่ายแก่สถานีโทรทัศน์ ทั้งในและต่างประเทศ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ข้อมูล ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[5]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | กระทรวงการคลัง | 452,134,022 | 65.80% |
2 | ธนาคารออมสิน | 78,865,978 | 11.48% |
3 | น.ส. อรวรรณ วิเชียรกวี | 25,255,200 | 3.68% |
4 | นาย สมพงษ์ อาภาธนานนท์ | 6,609,100 | 0.96% |
5 | นาย โสภณ มิตรพันธ์พานิชย์ | 6,360,400 | 0.93% |
6 | นาย ชาญชัย กุลถาวรากร | 5,555,300 | 0.81% |
7 | นาย บัญชา พันธุมโกมล | 5,000,000 | 0.73% |
8 | นาง พจนีย์ พิชิตบัญชรชัย | 4,837,300 | 0.70% |
9 | นาย ชัยพร วงศ์แสงอนันต์ | 3,200,000 | 0.47% |
10 | นาย สมาน พิชิตบัญชรชัย | 2,600,000 | 0.38% |
ตราสัญลักษณ์
พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2520
บจก.ไทยโทรทัศน์ ใช้ตราสัญลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เป็นตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน
พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2547
หลังก่อตั้ง อ.ส.ม.ท. จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งบนมีสีที่กระจายอยู่ 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน และมีตัวอักษรคำว่า อ.ส.ม.ท. แบบโค้งสีดำ อยู่ฝั่งล่างพื้นหลังเป็นเหลือง ซึ่งอยู่ฝั่งล่าง แต่ในเอกสารจะใช้แบบโครงเส้น
พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน
หลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็น บมจ.อสมท ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ก็ใช้สัญลักษณ์ของโมเดิร์นไนน์ทีวี มาเป็นสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน
ผู้บริหารองค์กร
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดขององค์กรแห่งนี้ เรียกว่า ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ส่วนตำแหน่งผู้บริหารองค์กรนั้น มีการเปลี่ยนชื่อไปตามการแปรรูปองค์กร แต่ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ ถือว่าเป็น "ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์" ในทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยในยุคแรกคือ บจก.ไทยโทรทัศน์ ใช้ชื่อตำแหน่งว่า กรรมการผู้จัดการ ต่อมาในยุค อ.ส.ม.ท. ใช้ชื่อตำแหน่งว่า ผู้อำนวยการ และในยุคปัจจุบันคือ บมจ.อสมท ใช้ชื่อตำแหน่งว่า กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดยที่ปรากฏต่อไปนี้ เป็นรายนามของผู้บริหารนับแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน[6]
รายนามประธานคณะกรรมการ
บจก.ไทยโทรทัศน์
- พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พ.ศ. 2495 - 2502[ต้องการอ้างอิง]
- พลโท หม่อมหลวงขาบ กุญชร พ.ศ. 2502 - 2520[ต้องการอ้างอิง]
อ.ส.ม.ท.
- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2520 - 2524[ต้องการอ้างอิง]
- มีชัย วีระไวทยะ พ.ศ. 2524 - 2528[ต้องการอ้างอิง]
- พลตำรวจโท แสวง ธีระสวัสดิ์ พ.ศ. 2528 - 2530[ต้องการอ้างอิง]
- พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ พ.ศ. 2530 - 2531[ต้องการอ้างอิง]
- ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง พ.ศ. 2531 - 2533[ต้องการอ้างอิง]
- อาคม มกรานนท์ พ.ศ. 2533 - 2536[ต้องการอ้างอิง]
- สมเกียรติ อ่อนวิมล พ.ศ. 2536 - 2537[ต้องการอ้างอิง]
- พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2543[ต้องการอ้างอิง]
- เรวัต ฉ่ำเฉลิม พ.ศ. 2543 - 2547[ต้องการอ้างอิง]
บมจ.อสมท
- เรวัต ฉ่ำเฉลิม : พ.ศ. 2547 - 2549
- พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร : พ.ศ. 2549 - 2551
- จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ : พ.ศ. 2551 - 2552
- สุรพล นิติไกรพจน์ : พ.ศ. 2552 - 2554
- สรจักร เกษมสุวรรณ : พ.ศ. 2554 - ตุลาคม พ.ศ. 2555[7][8]
- สุธรรม แสงประทุม : ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 2557[9]
- เทวินทร์ วงศ์วานิช : พ.ศ. 2557 - 2563[10]
- พล.ต.อ. ทวิชชาติ พละศักดิ์ : 22 กันยายน พ.ศ. 2563 - 2565[11]
- ธีรพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส : พ.ศ. 2565 - 2567
รายนามผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
- จำนง รังสิกุล : พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2512[ต้องการอ้างอิง]
- ประสงค์ หงสนันทน์ : พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2517[ต้องการอ้างอิง]
- สรรพสิริ วิรยศิริ : พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2519[ต้องการอ้างอิง]
อ.ส.ม.ท.
- ประมุท สูตะบุตร : พ.ศ. 2520 - 2529
- บุญเสริม วีสกุล : พ.ศ. 2529 - 2530
- มนตรี เจนวิทย์การ : พ.ศ. 2530 - 2531
- ราชันย์ ฮูเซ็น : พ.ศ. 2531 - 2533
- ประสิทธิ์ หิตะนันท์ : พ.ศ. 2534 - 2536
- แสงชัย สุนทรวัฒน์ : พ.ศ. 2536 - 2539
- อรสา คุณวัฒน์ : พ.ศ. 2539 - 2542
- สรจักร เกษมสุวรรณ : พ.ศ. 2542 - 2545
- มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ : พ.ศ. 2545 - 2547
บมจ.อสมท
- มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ : พ.ศ. 2547 - 2549
- ชิตณรงค์ คุณะกฤดาธิการ (รักษาการ) : พ.ศ. 2549 - 2550
- วสันต์ ภัยหลีกลี้ : พ.ศ. 2550 - 2552
- ธนวัฒน์ วันสม : พ.ศ. 2552 - 2554
- จักรพันธุ์ ยมจินดา (รักษาการ) : มกราคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2555[12][13]
- เปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา (รักษาการ) : พฤษภาคม - กันยายน พ.ศ. 2555[13]
- เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ : ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557[14]
- ศิวะพร ชมสุวรรณ: 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- พิเศษ จียาศักดิ์ (รักษาการ) : 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
- เขมทัตต์ พลเดช : 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 2563
- สิโรตม์ รัตนามหัทธนะ (รักษาการ) : สิงหาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2564, 1 กันยายน 2565 - 3 กุมภาพันธ์ 2566
- เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ : 1 กันยายน 2564 - 31 สิงหาคม 2565
- ผาติยุทธ ใจสว่าง (รักษาการ) : 4 กุมภาพันธ์ 2566 - ปัจจุบัน
การประกอบธุรกิจ
ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี
กิจการวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินของ บมจ.อสมท โดยตรงคือ ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (2498-2517), สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (พ.ศ. 2517 - 2545) และ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (พ.ศ. 2545 - 2558) ตามลำดับ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 และเปลี่ยนมาออกอากาศ ด้วยระบบโทรทัศน์สี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดำเนินการแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง โดยออกอากาศจากสถานีแม่ข่าย ซึ่งตั้งอยู่ภายในสำนักงานใหญ่ ถนนพระราม 9 ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาค จำนวน 53 สถานีทั่วประเทศ มีขอบเขตการให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ประมาณร้อยละ 87 และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการ ประมาณร้อยละ 88.5
เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอต
กิจการวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมซึ่งดำเนินงานโดย บมจ.อสมท ได้แก่ เครือข่ายโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มคอต ออกอากาศด้วยระบบดิจิทัลตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 2 ช่องรายการคือ เอ็มคอตวัน (MCOT1) และเอ็มคอตเวิลด์ (MCOT World) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นโอกาสคล้ายวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ครบรอบ 30 ปี โดยทั้งสองช่องรายการ ออกอากาศรายการ และสาระต่างๆ รวมทั้งข่าวสาร การถ่ายทอดสด และกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบันทั้ง 2 ช่อง ได้ยุติออกอากาศแล้ว [15][16]
สถานีวิทยุเอ็มคอตเรดิโอ
กิจการวิทยุกระจายเสียงในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีวิทยุ อสมท เอ็มคอต เรดิโอ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 ภายใต้ชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ในปัจจุบันทำการส่งกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีจำนวนสถานีทั่วประเทศทั้งหมดจำนวน 47 สถานี ประกอบไปด้วย สถานีวิทยุที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ระบบ FM 6 สถานี และในส่วนภูมิภาค ส่งกระจายเสียงในระบบ FM 41 สถานี มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 92.4% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 93.8% ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตเพื่อทำการจัดตั้งสถานีเครือข่ายเพิ่มเติม เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ
- คลื่น FM มีทั้งหมด 6 ความถี่ ได้แก่
- ลูกทุ่งมหานคร LTM FM 95 - FM 95.00 MHz
- 96.5 Thinking Radio คลื่นความคิด - FM 96.50 MHz
- FM 99 Active Radio คลื่นเมืองไทยแข็งแรง - FM 99.00 MHz
- คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5 - FM 100.50 MHz
- Smooth 105.5 - FM 105.50 MHz
- MET 107 - FM 107.00 MHz
สำนักข่าวไทย
กิจการบริการข่าวสาร ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สำนักข่าวไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เป็นศูนย์กลางในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยนำเสนอผ่านทางสื่อของบริษัท ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, เครือข่ายสถานีวิทยุ อสมท เอ็มคอต เรดิโอ, สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ขยายความร่วมมือด้านต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับสำนักข่าว และสื่อสำคัญ ๆ ทั่วโลก
ธุรกิจอื่น ๆ
บมจ.อสมท มีธุรกิจคือ บริษัท พาโนรามา เวิลด์ไวด์ จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์และสารคดีโทรทัศน์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รวมถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ บมจ.อสมท ยังร่วมดำเนินกิจการกับผู้ประกอบการรายอื่น ประกอบด้วย 2 กิจการหลักที่สำคัญคือ ร่วมกับ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (BEC) ในการดำเนินกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระยะเวลา 50 ปี (หมดสัญญาไปตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และปัจจุบันคือช่อง 3 เอชดี) รวมทั้งให้เช่าเวลาจัดรายการ และโฆษณาทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ และร่วมกับบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (เดิมคือบริษัท อินเตอร์เนชันแนลบรอดแคสติงคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ยูทีวีเคเบิลเน็ตเวิร์ก จำกัด (มหาชน) ก่อนจะควบรวมกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2541) ในการดำเนินกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยมีชื่อว่า ทรูวิชั่นส์ (เดิมชื่อ ไอบีซี/ยูทีวี, ยูบีซี, ยูบีซี-ทรู, ทรูวิชันส์-ยูบีซี)
อนึ่ง บมจ.อสมท ยังเคยร่วมกับบริษัท สยามบรอดแคสติง จำกัด เพื่อดำเนินกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ภายใต้ชื่อไทยสกายทีวี ระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2540 อีกด้วย
อ้างอิง
- ↑ "'นายกฯ' ตั้ง 6 รองนายกฯ รักษาการแทนพร้อมแบ่งงาน 3 รมว.สร". กรุงเทพธุรกิจ. 7 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ขุดกรุ : จากสถานี HS 1 PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ". รถไฟไทยดอตคอม. 26 ตุลาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 ประวัติ อ.ส.ม.ท. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากหน้าเว็บ ประวัติและเทคโนโลยีโทรทัศน์ของ บมจ.อสมท เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์ บมจ.อสมท
- ↑ "ข้อมูลผู้ถือหุ้น อสมท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-30.
- ↑ "ผู้ถือหุ้น 10 รายแรก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 22 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ รายงานประจำปี พ.ศ. 2553 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
- ↑ ข่าวบริษัท : การแต่งตั้งประธานกรรมการ และคณะกรรมการตรวจสอบ เก็บถาวร 2012-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 28 ธันวาคม 2554.
- ↑ ข่าวบริษัท : แจ้งกรรมการบริษัทฯ ลาออก[ลิงก์เสีย], ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 5 กันยายน 2555.
- ↑ ข่าวบริษัท : เลือกตั้งประธานกรรมการ และกรรมการแทนกรรมการที่ลาออก และแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ[ลิงก์เสีย], ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 4 ธันวาคม 2555.
- ↑ เคาะเลือก “เทวินทร์ วงศ์วานิช” นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการ MCOT มีผล 12 ก.ย.นี้[ลิงก์เสีย], 12 กันยายน 2557
- ↑ MCOT ตั้ง `ทวิชชาติ พละศักดิ์` เป็นประธานบอร์ดคนใหม่ มีผล 22 ก.ย.63
- ↑ ข่าวบริษัท : การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ รองประธานกรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เก็บถาวร 2012-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 25 มกราคม 2555.
- ↑ 13.0 13.1 ข่าวบริษัท : อนุมัติงบการเงินไตรมาสแรก ปี 2555 แต่งตั้งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานกรรมการตรวจสอบ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 11 พฤษภาคม 2555.
- ↑ ข่าวบริษัท : การอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ประจำปี 2555 การแต่งตั้งผู้อำนวยการใหญ่ และกรรมการแทนกรรมการที่ลาออก เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 26 กันยายน 2555.
- ↑ ยุติออกอากาศ-mcot1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-14. สืบค้นเมื่อ 2017-01-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เก็บถาวร 2017-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์สถานีวิทยุโมเดิร์นเรดิโอ
- เว็บไซต์สำนักข่าวไทย เก็บถาวร 2012-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 1 พุทธศักราช 2520), (ฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2535), (ฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2535), (ฉบับที่ 4 พุทธศักราช 2536), (ฉบับที่ 5 เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พุทธศักราช 2543) จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 40 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 (มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกา) จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- พระราชกฤษฎีกา กำหนดเงื่อนเวลายกเลิก พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 พุทธศักราช 2547 จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี สำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2549
- ประกาศบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ ๖๘/๒๕๖๑ เรื่อง โครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อ จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- อสมท
- บริษัทด้านสื่อของไทย
- บริษัทแพร่สัญญาณโทรทัศน์ของไทย
- องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2520
- บริษัทไทยที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547
- บริษัทด้านสื่อที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2547
- การเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชนในปี พ.ศ. 2547
- หน่วยงานของรัฐบาลไทยในเขตห้วยขวาง
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- รัฐวิสาหกิจไทย
- สำนักพิมพ์ไทย