สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
National Health Commission Office (NHCO) | |
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 |
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | ชั้น 3 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 หมู่ที่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 13°51′06″N 100°31′55″E / 13.8515401°N 100.5319458°E |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ต้นสังกัดหน่วยงาน | สำนักนายกรัฐมนตรี |
เอกสารหลัก | |
เว็บไซต์ | www |
เชิงอรรถ | |
เป็นหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 |
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (อังกฤษ: National Health Commission Office; NHCO) หรือเรียกโดยย่อว่า สช. เป็นองค์การมหาชน[1] ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีฐานะเป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ประสานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล จัดทำรายงานสถานการณ์ของระบบสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพ[2] ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ความเป็นมาขององค์กร
[แก้]สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 [3] จากการโอนกิจการของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.)[4] โดยเป็นหน่วยเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คบ.) มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและ ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายและ ยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ จัดทำรายงานสถานการณ์ของระบบสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้การจัดสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น บรรลุผลตามมติของ คสช. โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (เลขาธิการ คสช.) เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงาน
ยุค สปรส.
[แก้]สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลของชวน หลีกภัย เห็นว่าระบบสุขภาพในขณะนั้น ยังไม่สามารถช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีพอ จึงต้องมีการปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบสุขภาพให้มีมาตรฐาน โดยการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2543 เป็นผลให้เกิด "สำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ"[5]
คณะผู้บริหาร
[แก้]เลขาธิการ คสช. ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 2 วาระ
ชุดที่ 1
| |||
รูป |
ชื่อ |
เริ่มดำรงตำแหน่ง |
สิ้นสุดวาระ
|
---|---|---|---|
อําพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | |
อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ชาตรี เจริญศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ชุดที่ 2
| |||
รูป |
ชื่อ |
เริ่มดำรงตำแหน่ง |
สิ้นสุดวาระ
|
อําพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 | |
อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ปิติพร จันทรทัต ณ อยุธยา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ชุดที่ 3
| |||
รูป |
ชื่อ |
เริ่มดำรงตำแหน่ง |
สิ้นสุดวาระ
|
พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
พัชรา อุบลสวัสดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
สุรพงษ์ พรมเท้า รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ชุดที่ 4
| |||
รูป |
ชื่อ |
เริ่มดำรงตำแหน่ง |
สิ้นสุดวาระ
|
ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
20 กันยายน พ.ศ. 2562 | 19 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
อรพรรณ ศรีสุขวัฒนา รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
พัชรา อุบลสวัสดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ชุดที่ 5
| |||
รูป |
ชื่อ |
เริ่มดำรงตำแหน่ง |
สิ้นสุดวาระ
|
สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
16 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | -
| |
อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
| |
ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
5 สิงหาคม พ.ศ. 2567
| |
สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
- |
-
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
- ↑ ฉันทมติ! ‘สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15’ เคาะรับรองกรอบทิศทางนโยบาย สร้าง ‘หลักประกันรายได้’ วาง 5 เสาหลักเพิ่มคุณภาพชีวิตคนไทยเมื่อสูงวัย
- ↑ พระบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
- ↑ จาก สปรส. ถึง สช.
- ↑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2543